เช็คเงิน "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง ระยะที่ 3

เช็คเงิน "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง ระยะที่ 3

เช็คเงิน "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง ระยะที่ 3 หลังครม.เคาะหลักเกณฑ์และข้อกำหนด ห วงเงินรวม 10,065.69 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 30 พ.ย.64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการ  "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินรวม 10,065.69 ล้านบาท

โดยเป็นการประกันรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและเกษตรกรที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทยภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,880,458 ราย โดยพื้นที่สวนยางกรีดได้ 19.16 ล้านไร่ และประกันรายได้ในระหว่างตุลาคม 2564 -มีนาคม 2565

 

หลักเกณฑ์และข้อกำหนดโครงการ "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง ดังนี้

  • เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่
  • ผลผลิตยางแห้ง จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่
  • ผลผลิตยางก้อนถ้วย จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่
  • กำหนดเงินค่าประกันรายได้ โดยราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม  น้ำยางสด (DRC 100%)  57 บาท/กิโลกรัม  ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัม  
  • แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของส่วนร้อยละ 60 และคนกรีดร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

งบประมาณ 10,065.69 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • งบประมาณสำหรับประกัน "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง 9,783.61 ล้านบาท
  • งบประมาณสำหรับชดเชยต้นทุนเงินธนาคาร ภายในวงเงินไม่เกิน 195.68 ล้านบาท 
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมโอนเงิน ธ.ก.ส. ให้เกษตรกรชาวสวนยาง 5 บาทต่อรายจำนวน 9.4 ล้านบาท
  • งบบริหารโครงการจำนวน 77 ล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า โครงการ "ประกันรายได้เกษตรกร" ชาวสวนยาง มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในกรณีที่ราคายางตกต่ำในช่วงวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อเพิ่มรายได้ เกษตรกรชาวสวนยางได้เงินส่วนต่างของรายได้ที่ควรได้รับ ทำให้ชาวสวนยางมีรายได้สม่ำเสมออย่างทั่วถึง นับเป็นมาตรการทางอ้อม ที่นำมาใช้แทนการแทรกแซงราคายาง เพื่อลดการบิดเบือนกลไกตลาดในอนาคต 
 
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติยังได้หารือและเห็นชอบหลักการในการดำเนินมาตรการคู่ขนานอื่น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางและผู้ประกอบกิจการยาง 

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดแหล่งที่มาของงบประมาณให้มีความชัดเจน เหมาะสม เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ก่อนดำเนินการต่อไป