เปิดแผนโลว์คาร์บอน เอสโซ่ ลุยเป้าหมายผู้นำลดปล่อยก๊าซ

เปิดแผนโลว์คาร์บอน เอสโซ่ ลุยเป้าหมายผู้นำลดปล่อยก๊าซ

“กลุ่มเอสโซ่” ย้ำผู้นำลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน พร้อมทุ่มงบลงทุนด้านบริหารจัดการคาร์บอนไปแล้วกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เล็งเพิ่มทุนอีก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ใน 6 ปี แนะรัฐกำหนดราคาคาร์บอนที่ชัดเจน พร้อมร่วมมือทุกภาคส่วน สร้างโลกเป็นสีเขียว

นายอดิศักดิ์ แจ้งกมลกุลชัย ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลักการแนวความคิดและการดำเนินงาน ในการที่จะปรับเปลี่ยนสู่อนาคตที่จะปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศให้น้อยลงไปในอนาคต ทั้งนี้ ปริมาณความต้องการพลังงานรูปก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันถือว่าเป็นสัดส่วนหลักที่สำคัญที่ 48% อนาคตสัดส่วนการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ ทั้งเชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ ไบโอฟิล์ม ไฮโดรเจน สัดส่วนที่สำคัญสุดคือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีมูลค่าตลาดปี2040 สูง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เคมีภัณฑ์มีมูลค่าทางการตลาด 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 2 ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่ปล่อยก๊าซฯ สูง

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการนำพลังงานมาใช้และเกิดประโยชน์สูงสุดและต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) มูลค่าทางการตลาดสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ การเติบโตจะสูงถึง 35% ต่อปี ยังมีส่วนสำคัญที่จะใช้พลังงานต่อไปในอนาคต แต่จะทำอย่างไรที่จะลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยสู่อากาศที่ลดลง

สำหรับมุมมองของบริษัทมีแผนงานบริหารจัดการ คือ 1. ทำอย่างไรให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซฯ ออกมาสู่บรรยากาศให้น้อยที่สุด ปี 2020 สามารถมองไปข้างหน้า วางตัวเองเป็นผู้นำปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุดในอุตสาหกรรมพลังงาน 2. ทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแล้วช่วยให้ลูกค้าช่วยโลก ทั้งลดการปล่อยก๊าซ ทั้งการจัดกหา ก๊าซธรรมชาติ การผลิตพาสสติกในเรื่องของการประกอบรถยนต์ ที่ปัจจุบันมีน้ำหนักเบา เพิ่มประสิทธิภาพ 3. การนำเอาน้ำมันหล่อลื่นสูตรพิเศษรวมถึงสำหรับรถEV อนาคต โดยประยุกพัฒนาสอดคล่องโลกที่มีคาร์บอนลดลง บริษัทฯ ต้องเชิงรุกในการทำงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน หรือภาคประชาชนเพื่อให้สามารถดำเนินการในอนาคตที่จะลดปริมาณคาร์บอนที่จะปล่อยออกสู่บรรยากาศในอนาคต อาทิ นโยบายต้องชัดเจน มีความพร้อมในการและกำหนดราคาซื้อคาร์บอนที่ถูกต้อง

และ 4 การนำเทคโนโลยีมาใช้ ที่บริษัทให้ความสำคัญ เมื่อช่วงเดือนก.พ.2564 บริษัทฯ ได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่เพื่อบริหารจัดารคาร์บอน ตั้งแต่ปี 2000 ใช้เงินมากกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีความมุ่งมั่นที่จะใช้เงินอีกราว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 6 ปีต่อจากนี้ ที่เน้นพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการคาร์บอนในอนาคต

สำหรับสัดส่วนสำคัญที่ใช้คือพลังงานคือ พลังงานเชื้อเพลิงมีมูล่าตลาดถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอนาคต คือเรื่องของการผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น 3 กลุ่มที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศค่อนข้างสูง โดยประเทศไทยประเมิน 3 กลุ่มนี้ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า 70% ถือว่าเป็นสัดส่วนที่สำคัญมาก บริษัทฯ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าควรต้องหาเทคโนลยีที่ดีมาบริหารจัดการใน 3 กลุ่ม

“อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงค่อนข้างมากเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตถือเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้พลังงานลดลง การนำเอาเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนมาใช้ด้วยกัน”

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีประสบกสารในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนตั้งแต่ปี1985 รวม 35 ปีที่ผ่านมา และเจรจาและร่วมมือกว่า 20 ประเทศทั่วโลกและร่วมมือกับหลายบริษัทฯ สามารถนำบริษัทต่างๆทั้งรัฐ เอกชนร่วมเพื่อจะดึงก๊าซคาร์บอนที่อยู่ต่างๆมากมายมาเก็บใต้พื้นดิน ส่งผลให้แนวโน้มประเมินขั้นต้นมูลค่าที่จัดเก็บอยู่ภายใต้พื้นดินที่ปริมาณมากกว่า 100 ล้านตันต่อปี จากคาร์ปาซิตี้ที่มี 5 แสนล้านตัน ดังนั้น สิ่งต่างๆ ที่เกิดได้จะมาจากนโยบายภาครัฐ การร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้โมเดลนี้เกิดขึ้นได้  

นอกจากนี้ มองว่าโมเดลลักษณะนี้ จะสามารถนำมาใช้ได้ในพื้นที่จังหวัดระยอง ที่มีแหล่งอุตสาหกรรมจำนวนมาก จะเป็นโมเดลหนึ่งที่จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศในประเทศไทยได้ นอกจากนี้สิ่งที่ภูมิใจคือกลุ่มบริษัทฯ เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนเพราะจำนวนก๊าซคาร์บอนทั่วโลกที่ถูกจัดเก็บไว้ใต้ดิน 40% เป็นส่วนนี้เกิดขึ้นจากบริษัทฯ เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหม่ 2,000 ล้านต้น หวังว่าจะจุดประเด็นบางส่วนต่อยอดนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย 

“เป้าหมายบริษัทเป็นผู้นำสู่อนาคตที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้น้อยลง พร้อมร่วมมือทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน และประชาชน ในการจับมือเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อทำให้มีการประสานพลังงานสร้างโลกที่ดีกว่า”