หน่วยงานเศรษฐกิจส่งสัญญาณเตือน หนี้กองทุนน้ำมัน ดัน หนี้สาธารณะ ประเทศ

หน่วยงานเศรษฐกิจส่งสัญญาณเตือน หนี้กองทุนน้ำมัน ดัน หนี้สาธารณะ ประเทศ

การตรึงราคาน้ำมันที่รัฐบาลยืนยันจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้กองทุนน้ำมันต้องขอ ครม.ขยายวงเงิน ขณะที่หน่วยงานราชการเตือนว่าการก่อหนี้กองทุนน้ำมันเพิ่มเป็นหนี้สาธารณซึ่งต้องรอบครอบและระมัดระวัง

สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ส.ค.2564 จากราคา 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาเป็นสูงกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศสูงขึ้นด้วย โดยราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ประชาชนใช้มากที่สุดประมาณ 50 ล้านลิตรต่อวันได้ขยับขึ้นไปที่ราคาเฉลี่ย 33 – 36 บาทต่อลิตร แต่รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ทำให้ต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมารักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมัน

ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ระบุว่าปัจจุบันต้องใช้เงินประมาณเดือนละ 3,000 ล้านบาท ขณะที่เมื่อรวมกับภาระการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) จะใช้เงินรวมกันประมาณ 8,755 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่กองทุนฯมีรายรับเพียง 3,449 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ ณ วันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมามีเงินในกองทุนฯคงเหลือ 5,908 ล้านบาท และคาดว่า31 ธ.ค.2564 จะติดลบ 3,640 ล้านบาท

หน่วยงานเศรษฐกิจส่งสัญญาณเตือน หนี้กองทุนน้ำมัน ดัน หนี้สาธารณะ ประเทศ

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน กล่าวว่ากองทุนน้ำมันฯจะกู้จากสถาบันการเงินโดยขั้นตอนการกู้เงินได้ประสานกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะโดยจะเริ่มกู้เงินในเดือนมิ.ย.ปีหน้า ซึ่งเงินกู้ที่อนุมัติกรอบไว้ 3 หมื่นล้านบาท สามารถกู้ได้ทันที 2 หมื่นล้านบาทซึ่งเงินจำนวนนี้จะสามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลได้ประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการขอยืมกู้เงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องถูกบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ และให้เป็นไปตามมาตรา 26 พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ซึ่งในระหว่างกระบวนการเสนอการขอกู้ยืมเงิน สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีการหารือสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขนานกันไปด้วย โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ การกระจายภาระการชำระหนี้ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการเงินการคลัง ตลอดจนความน่าเชื่อถือของประเทศและของหน่วยงานของรัฐผู้กู้ และต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

อย่างไรก็ตาม การกู้เงินมาอุดหนุนราคาน้ำมันไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุุด จึงมีความเห็นต่อเรื่องนี้ในด้านต่างๆโดยสำนักงบประมาณเห็นว่าต้องคำนึงถึงวินัยการใช้จ่ายเพื่อชดเชยให้กับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และควรเร่งดำเนินการศึกษาและกำหนดมาตรการในระยะยาว การปรับโคงสร้างราคาพลังงานของประทศให้เป็นไปตามกลไกตลาดและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินมาตรการขับเคลื่อน การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและลดปริมาณการใช้น้ำมันในอนาคต

สำหรับความเห็นของหนว่ยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการกู้เงินของกองทุนน้ำมันฯในครั้งนี้ ซึ่งเสนอความเห็นผ่านคณะรัฐมนตรี ได้แก่

1.กระทรวงการคลังเห็นควรให้กระกองทุนน้ำมันฯพิจารณาระยะเวลา เครื่องมือ และวิธีการกู้เงินให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินและภาวะตลาดการเงินในขณะนั้น เพื่อให้มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยมีแผนสำรองหากกระแสเงินสดรับเพื่อการชำระหนี้ไม่เป็นไปตามประมาณการด้วย และควรมีมาตรการบริหารจัดการการ สำหรับการใช้จ่ายเงินให้ถือไปตามที่กฎหมายกำหนด ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

นอกจากนี้กระทรวงการคลังให้ความเห็นว่าการกู้งินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งต้องสนอบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะพิจารณาก่อนนำเสนอ ครม.ต่อไป และสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะดำเนินการกู้เงินได้ต่อเมื่อ ครม.อนุมัติแผนการบริหาร หนี้สาธารณะดังกล่าวแล้ว

"สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า ตันทุน ผลประโยชน์ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ความสามารถในการชำระหนี้ การกระจายภาระการชำระหนี้ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการเงินการคลัง ตลอดจนความน่าเชื่อถือของประเทศและของหน่วยงานของรัฐผู้กู้ และต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย"

2.สำนักงบประมาณ ให้ความเห็นว่ากระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงกรอบ และวินัยการใช้จ่ายเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการใช้จ่ายเพื่อชดเชยให้กับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และควรเร่งดำเนินการศึกษาและกำหนดมาตรการในระยะยาว การปรับโคงสร้างราคาพลังงานของประทศให้เป็นไปตามกลกตลาดและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและไม่ก่อให้เกิดภาวะเงินเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินมาตรการขับเคลื่อน การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบเพื่อรองรับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และลดปริมาณการใช้น้ำมันในอนาคต

และ 3.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เห็นชอบในหลักการการกำหนดแนวทางการบริหารกิจการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความยืดหยุ่นและสามารถรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสอดรับกับทิศทางของกรอบแผนพลังงานชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และรองรับบริบททางด้านพลังงาน ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ราคาน้ำมันจากนี้ จะเริ่มเข้าสู่ภาวะสมดุลในช่วงไตรมาส1-2ปี2565 เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มทรงตัวในระดับไม่สูงมากแต่จะไม่ต่ำเหมือนช่วงโควิด 

ส่วนผลกระทบต่อการส่งออกไทยจะไม่เกิดขึ้นโดยตรงเพราะผู้ส่งออกจะมีการทำสัญญาทั้งการซื้อขายและการขนส่งไว้แล้ว แต่ยอมรับว่ามีความเป็นห่วงหากรถบรรทุกหยุดวิ่งจะกระทบต่อการขนส่งในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องซัพพลายวัตถุดิบให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออก ซึ่งอาจกระทบต่อการผลิตและการส่งมอบสินค้าหากสถานการณ์ลุกลาม

“อยากให้รัฐบาลเปิดช่องทางหารือกับกลุ่มรถบรรทุกเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันเพราะหากปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อก็จะกระทบต่อภาครวมธุรกิจการค้าได้”