กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยต่างประเทศชัดเจนขึ้น หนุนทุนต่างชาติกลับเข้าตลาด

กลยุทธ์การลงทุน ปัจจัยต่างประเทศชัดเจนขึ้น หนุนทุนต่างชาติกลับเข้าตลาด

ตลาดสะท้อนข่าวการลดขนาด QE ของสหรัฐไปแล้ว ในขณะที่ Fed น่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในอีก 8-9 เดือนข้างหน้าเป็นอย่างเร็ว เราคาดว่าตลาดโลกจะอยู่ในโหมด risk-on ในช่วงที่เหลือของ 4Q64

เรามองว่า Fed สื่อสารแผนการลดขนาด QE กับตลาดได้ดี โดยจะมีการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ไปจนสิ้นสุดโครงการในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งการทยอยลดขนาด QE บวกกับวาทกรรม “เงินเฟ้อในช่วงส่งผ่าน” (transitory inflation) เป็นการส่งสัญญาณต่อตลาดว่า Fed ไม่ได้รีบร้อนที่จะขึ้นดอกเบี้ย และยังอีก 8-9 เดือนจากนี้จึงจะขึ้นดอกเบี้ยรอบแรก ถ้าหากมีการขึ้นดอกเบี้ยทันทีที่ยุติโครงการซื้อพันธบัตร ทั้งนี้ consensus คาดว่า Fed จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกันยายน 2565 ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่จะเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565 ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าภาวะตลาดโลกจะอยู่ในโหมด risk-on ในช่วงที่เหลือของ 4Q64 ซึ่งจะทำให้มีกระแสเงินทุนไหลเข้าอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้จากสถิติการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปี 2558 หลังยุติ QE ในปี 2557 พบว่าตลาดการเงินตอบรับในเชิงลบในช่วง 3 ถึง 4 เดือนก่อนที่จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก

ข้อสรุปเรื่องกฎหมายการใช้จ่ายระยะยาว/ภาษีของสหรัฐ และประธาน Fed คนใหม่จะเป็นสองปัจจัยสำคัญในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะออกมาเป็นบวกกับตลาดทั้งคู่

ในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า มีปัจจัยด้านมหภาคภายนอกที่สำคัญสองเรื่องที่ต้องจับตาดู ซึ่งเราคาดว่าผลจะออกมาเป็นบวกกับตลาดทั้งคู่ เรื่องแรกคือสภา congress ของสหรัฐน่าจะได้ข้อสรุปเรื่องกฎหมายการใช้จ่ายของรัฐบาล/ภาษีก่อนจะถึงเส้นตายเพดานหนี้รอบหน้าในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 โดยเรามองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่วงเงินของกฎหมายรายจ่ายภาครัฐจะอยู่ในระดับใกล้ ๆ 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ที่ประธานาธิบดี Biden เคยระบุไว้ และการขึ้นภาษีนิติบุคคลอาจจะขึ้นในอัตราที่ต่ำมากโดยเน้นเฉพาะบริษัทที่ในปัจจุบันจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า 15% อย่างเช่น กลุ่มเทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ 

 

 

รื่องที่สองคือในเดือนธันวาคมนี้ ประธานาธิบดี Biden น่าจะประกาศชื่อคนที่เขาจะเลือกเป็นประธาน Fed คนต่อไป ทั้งนี้ ยังบอกยอกว่านาย Powell จะได้อยู่ต่ออีกสมัยหนึ่งหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรามองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการตั้งนางสาว Lael Brainard ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาของพรรค democrat จำนวนมากขึ้นมาแทนนาย Powell ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า Brainard มีแนวทางออกไปทาง dovish ดังนั้นหากเธอได้รับเลือกเป็นประธาน Fed คนต่อไปก็ไม่น่าจะส่งผลลบต่อตลาด

 

ราคาหุ้นไทยดูน่าพอใจมากขึ้นท่ามกลางการปรับเพิ่มประมาณการ EPS และอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรที่ทรงตัว

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งเรา และ consensus ได้ปรับเพิ่มประมาณการ EPS ปี 2565 เป็น 102 และ 99 ตามลำดับ เนื่องจากมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มหลักอย่างเช่น พลังงาน และธนาคาร ซึ่งเมื่ออิงตามประมาณการ EPS ปี 2565 ของเรา P/E ปี 2565 ของดัชนี SET ในปัจจุบันอยู่ที่15.9x คิดเป็น earnings yield gap (EYG) ที่ 4.4% นอกจากนี้ เรายังมองว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐ และไทยมี upside จำกัดในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพราะตลาดสะท้อนข่าวการลดขนาด QE ของ Fed ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากใช้สมมติฐานว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันที่ 1.9% และ EYG กลับไปอยู่ระดับเท่ากับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 4.1% ดัชนี SET น่าจะขยับขึ้นไปได้ถึง 1,680 จุด ในขณะเดียวกัน เรายังคงยึดเป้าดัชนีสิ้นปี 2564 อย่างเป็นทางการของเราเอาไว้เท่าเดิมที่ 1,730 อิงจาก PEG เฉลี่ยระยะยาวที่ 1.1x

 

 

เน้นหุ้นในธีมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ราคาหุ้นสมเหตุสมผล โดยกลุ่มเด่นที่เราแนะนำคือ ธนาคาร, commerce และอสังหาริมทรัพย์

เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงในตลาดโลกกำลังทยอยขยับสูงขึ้น เราจึงมองว่าหุ้นที่ราคาแพงแล้วอาจจะถูกกดดัน ดังนั้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงหุ้นที่ P/E สูงมาก ๆ และเน้นหุ้น domestic plays ที่ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล โดยในช่วงที่เหลือของ 4Q64 หุ้นหลักสามกลุ่มที่เรา overweight ได้แก่ ธนาคาร, commerce และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เราชอบหุ้นธนาคารใหญ่อย่าง KBANK* และ BBL* แต่ชอบหุ้นเพียงบางตัวในกลุ่ม commerce ในเชิง recovery plays อย่างเช่น CPALL*, HMPRO* สำหรับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เรายังคงเน้นผู้ประกอบการระดับกลาง ที่เน้นโครงการแนวราบซึ่งน่าจะได้อานิสงส์จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV อย่างเช่น LH* และ ORI*