หุ้นอสังหาฯ –วัสดุก่อสร้างผลิกฟื้น โหมตลาดกระตุ้นซื้อบ้าน

หุ้นอสังหาฯ –วัสดุก่อสร้างผลิกฟื้น  โหมตลาดกระตุ้นซื้อบ้าน

เซอร์ไพรส์ตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อแบงก์ชาติยอมผ่อนคลายมาตรการจำกัดวงเงินปล่อยสินเชื่อต่อสินทรัพย์ (LTV) ชั่วคราวและปรับลดระดับเงินดาวน์จาก 10-30% ลงเหลือ 0% มีผลไปถึงสิ้นปี 2565 ส่งผลบวกต่อธุรกิจดังกล่าวทันทีแต่หุ้นไหนจะช่วงชิงโอกาสได้มากที่สุดคงไม่ง่าย

ที่ผ่านมาแบงก์ชาติดำเนินมาตการ LTV ปี 2563 เพื่อลดความร้อนแรงเก็งกำไรอสังหาฯ ได้ผลเพราะทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อลดลง สะท้อนจากอัตราการปฎิเสธสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดจากเฉลี่ย 15 % ขึ้นไปเป็น 20 %   

เกณฑ์ที่เข้มงวดพุ่งเป้าไปที่บ้านสัญญาที่ 2  สัญญาที่ 3 และ ที่อยู่อาศัยที่มีราคาเกิน 10 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการวางเงินดาวน์เพิ่มสูงขึ้นจากปกติเฉลี่ยในตลาดช่วงก่อนใช้มาตรการอยู่ที่ 10 %  หลังจากนั้นมีการลดความเข้มงวด LTV

ด้วยการให้เฉพาะผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ ไม่นับเป็นผู้กู้  การให้อัตราสินเชื่อ 10 % ให้กับสัญญาแรก ที่ราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อใช้ในการตกแต่งซ่อมแซมบ้าน  ส่วนใครอยากมีบ้านหลังที่สองต้องมีประวัติกู้บ้านหลักแรกอย่างน้อย 2 ปี  และคงเงินดาวน์ที่ 10 % ยังไม่เพียงพอกระตุ้นยอดขาย

ตัวเลขศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ(REIC) ยอดขายปี 2563 ที่ 3.93 แสนล้านบาทลดลง 17 %    ยอดขายครึ่งปีแรก 2564 ที่ 1.95 แสนล้านบาท ลดลง 14 %  เป็นการลดลงตามซัพพรายใหม่ที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามการออกมาผ่อนปรน LTV  ในรอบนี้อยู่ในกรอบที่แบงก์ชาติมองว่าแบงค์ยัง ระวังการปล่อยสินเชื่อเพราะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว การซื้อเพื่อเก็งกำไรทำได้ยาก  ที่สำคัญมีผลต่อเศรษฐกิจสูงเพราะเกี่ยวเนื่อง เช่น รับเหมาฯ วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ที่มีการจ้างงานสูง

มุมมองบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ยูโอบี เคย์เฮียน อสังหาฯแนวสูงในระดับกลางค่อนบนจะได้รับประโยชน์เนื่องจากเป็นบ้านหลังแรกส่วนใหญ่ (53%) เป็นโครงการแนวราบ ขณะที่บ้านหลังที่ 3 มักจะเป็นคอนโดระดับ1-5 ล้านบาท   ขณะที่ธนาคารน่าจะยังระมัดระวังความเสี่ยงของผู้กู้ทำให้น่าจะยังเข้มงวดกับการปล่อยกู้กลุ่มระดับล่าง (1- 3 ล้านบาท ) กระทบกลุ่มลูกค้ากลาง -บน (3-7 ล้านบาท  ) น้อยกว่า    และคนที่ได้ประโยชน์คือคนที่มีของพร้อมขาย (ready to transfer)

กลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่ถือว่ามีผลบวกโดยตรงต่อมาตรการดังกล่าว  หลายบริษัทมีขานรับและเตรียมตัวรับกับมาตรการดังกล่าวจำนวนมาก  เริ่มที่รายใหญ่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI  ที่เน้นตลาดบ้านระดับกลางเตรียมเปิดตัวคอนโดมิเนียม 4 โครงการใหม่ ไตรมาส 4นี้ มูลค่ารวม 5.74 พันล้านบาท คิดเป็น 17% ของมูลค่าโครงการเปิดใหม่ในปีนี้

และยังมีโครงการในมือพร้อมขายและโอน 20,000 ล้านบาท     แบ่งเป็นแนวสูง 15,000 ล้านบาท และแนวราบ 5,000 ล้านบาท  ซึ่งบริษัทเน้นทำการตลาดดึงดูดลูกค้าการตัดสินใจซื้อเป็นหลัก เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารยังเข้มงวด

ถัดมาบริษัท เอพี (ไทยแลนด์ )จำกัด (มหาชน) หรือ AP มีพอร์ตแนวสูงในมือมากที่สุด ซึ่งในปีนี้เปิดตัวโครงการใหม่น้อยมากแต่เร่งระบายสต็อกในมือ จนทำให้รอบ 9 เดือน2564 ยอดจองถึง  2.72 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จากปีก่อน

ยักษ์ใหญ่อสังหาฯอีกราย บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH  งัดการตลาดเข้มข้นไตรมาสสุดท้ายของปีพร้อมตั้งเป้ายอดขาย  5,400 ล้านบาท ทั้งลดราคาพิเศษ  เพิ่มขนาดพื้นที่ และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น อยู่ฟรีสูงสุด 36 เดือน ส่วนกลางฟรีสูงสุด 36 เดือน กู้ไม่ผ่านคืนเงิน หุ้นอสังหาฯ –วัสดุก่อสร้างผลิกฟื้น  โหมตลาดกระตุ้นซื้อบ้าน

ส่วนเจ้าของสโลแกนสร้างเสร็จก่อนขายทั้งบริษัท คลอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH และ บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH   ที่มีพอร์ตบ้านแนวราบมากที่สุดถึง 71 % ของรายได้ถือลงทุนทั้งใน QH  -  HMPRO และยังมีธุรกิจโรงแรม ทำให้มีผลลบจากช่วงโควิด แต่ทางกลับกันได้รับผลบวกมากหากมีการฟื้นตัวของธุรกิจที่ลงทุน

ที่ผ่านมา LH มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างระมัดระวังและระบายสต็อกทำให้ยอดจอง ครึ่งปีแรก 2564 เพิ่มขึ้น 14%      ยอดโอน เพิ่มขึ้น  27%  เนื่องจากปี 2563 เปิดตัวโครงการใหม่ 16 โครงการมูลค่า  28,000 ล้านบาท  แต่เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ไม่เน้นทำการตลาดด้านราคาจึงทำให้รักษามาร์จิ้นไว้ได้ 

นอกจากดีเวลลอปเปอร์แล้วหุ้นที่เกี่ยวเนื่องได้ประโยชน์ทางอ้อมไปด้วย บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ (ประเทศไทย)   มองว่าหุ้นบริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) หรือ DCC ดีมานด์จะเพิ่มขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงน้้าท่วม การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนยอดขายกระเบื้องขนาดใหญ่ที่มาร์จิ้นสูงเพิ่มช่วยลด ผลกระทบจากต้นทุนก๊าซที่แพงขึ้น รายได้ค่าเช่าดีขึ้น

บริษัท โฮท โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO ได้ประโยชน์จากการผ่อนคลาย LTV เป็น 100% ธุรกิจเริ่มเห็นการฟื้นตัวตั้งแต่ ก.ย. 2564  โดย SSSG กลับมาเป็นบวกเมื่อมีผ่อนคลายล็อกดาวน์ และเชื่อว่าจะบวกต่อในไตรมาส 4 ปี 2564  ซึ่งมาจาก Pent-up demand และความต้องการซื้อหลังน้้าท่วมผ่านพ้นเพื่อซ่อมแซม

ปิดท้ายที่บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ได้ ปัจจัยหนุนคือ คาดว่าราคาถ่านหินผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ท้าให้ธุรกิจที่ใช้ถ่านหินเป็นวัตถุดิบ มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจซีเมนต์ (SCC มีต้นทุนถ่านหิน 20% ของต้นทุนการ ผลิตซีเมนต์ทั้งหมด) รวมทั้งหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์และน้ำลดคาดว่าอุปสงค์จะฟื้นตัว