BAY เผยกำไรไตรมาส 3/64ที่ 6,362ล้าน เพิ่มขึ้น 4%

BAY เผยกำไรไตรมาส 3/64ที่ 6,362ล้าน เพิ่มขึ้น 4%

ธนาคารกรุงศรี กำไรไตรมาส 3/64 ที่ 6,362 ล้านบาท และงวด 9 เดือนของปี 2564 ที่ 27,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้มีกำไรจากการขายหุ้นติดล้อไตรมาส 2 /64 หนุนกำไร หวังเร่งฉีกวัคซีนกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปีนี้ คงเป้าสินเชื่อปีนี้ขยายตัว 3-5%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า  ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564ธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ที่จำนวน 27,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น อย่างแข็งแกร่งที่39.5%จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากีกำไรพิเศษจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นใน บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) ในไตรมาส ที่ 2/2564 ส่วนในไตรมาส3 / 2564  มีกำไรสุทธิ   6,362 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาส 3/2563 อยู่ที่  6,115ล้านบาท

มีกำไรสุทธิต่อหุ้น งวดไตรมาส 3/2564 อยู่ที่  0.86 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน อยู่ที่  0.83 บาท และงวด 9 เดือนปี 2564 อยู่ที่  3.73 บาท เพิ่มขขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่   2.6 บาท 

กรุงศรีให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งมีความสอดคล้องและเป็นการสนับสนุน นโยบายของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ออกมาตรการเพิ่มเติมในการช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบ ต่อลูกค้าทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่เปราะบางให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่3ที่ภาวะเศรษฐกิจ อ่อนแรงลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ยอดสินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเป็น 233,617 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารได้สนับสนุนโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดรวม 25,709 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายนปี 2564 ในช่วง9เดือนแรกของปี 2564 กำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติลดลง 2.2% หรือ   จำนวน 431 ล้านบาท จากช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2563

 

 

 

โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงสุทธิบางส่วนจาก การลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย การลดลงของรายได้ ดอกเบี้ยสุทธิส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อหลายครั้งเพื่อบรรเทาภาระหนี้ของลูกค้า และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อลูกหนี้รายย่อย

ส่วนทางด้านเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่จำนวน 1,854,229 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2%   จากเดือนธันวาคม 2563โดยได้แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ ขยายตัว4.4%และ 4.2% ตามลำดับ

การเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความทุ่มเท ของกรุงศรีในการสนับสนุนลูกค้าผ่านหลายมาตรการบรรเทาผลกระทบ อาทิ การสนับสนุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ และการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ขณะที่สินเชื่อเพื่อรายย่อยลดลง 2% จากผลกระทบที่รุนแรงจากการหดตัวของเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้ ของครัวเรือนและการบริโภคภาคเอกชน

 

ส่วนเงินรับฝากอยู่ที่จำนวน 1,782,941 ล้านบาท ลดลงจำนวน 51,564 ล้านบาท หรือ 2.8%จากสิ้นเดือน ธันวาคม 2563เนื่องมาจากการบริหารจัดการสภาพคล่องเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพของธนาคาร และการเพิ่มสัดส่วน เงินรับฝากออมทรัพย์และจ่ายคืนเมื่อทวงถาม และลดยอดเงินรับฝากประจำ

รายได้ ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 12,104 ล้านบาทหรือ 50.5%จากช่วง9เดือนแรกของปี 2563 โดยปัจจัยหลักมาจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นเงินติดล้อ

หากไม่รวมรายการพิเศษจากการขายเงินลงทุนดังกล่าวแล้ว รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการดำเนินธุรกิจปกติ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,377 ล้านบาท หรือ 5.7%จากช่วง9เดือนแรกของปี 2563 โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมบริหารความมั่งคั่ง กองทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ กำไรจากการขายสินเชื่อตัดจำหน่าย และทรัพย์สินรอการขาย

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่2.27% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 เทียบกับ2.00% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563ธนาคารยังคงรักษาระดับการตั้งเงินสำรองอย่างรอบคอบและระมัดระวัง โดยมีสัดส่วนการตั้ง สำรองต่อสินเชื่อรวมที่ระดับ 168เบสิสพอยท์(Credit Cost) เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 เงินสำรองรวมอยู่ที่ 86,590 ล้านบาท ส่งผลให้

อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงที่ 177.5% จาก 175.1%ณ สิ้น เดือนธันวาคม 2563  อัตราส่วนเงนิกองทุนต่อสนิทรัพยเ์สี่ยง (ของธนาคาร) อยู่ที่  18.46%เพิ่มขึ้นจาก  17.92% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 สะท้อนถึงฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งซึ่งเพียงพอต่อการด าเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องภายใต้กรณี ฐานและกรณีที่สถานการณ์แย่ลงจากกรณีฐาน

แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะเผชิญความเปราะบางที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดมากขึ้นของไวรัส กลายพันธุ์เดลต้า อีกทั้งมาตรการควบคุมโรคที่ถูกน ามาใช้ในไตรมาส 3/2564ได้ส่งผลให้ทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ ธุรกิจมีความชะลอตัว

ทั้งนี้การเร่งฉีดวัคซีนทั่วประเทศที่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญและการผ่อนคลายมาตรการ ควบคุมโรคในช่วงต้นไตรมาส 4/2564ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ผนวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะช่วย ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ในขณะเดียวกันยังช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปี 2564 ด้วยแนวโน้มที่ดีขึ้นควบคู่ไปกับความต้องการเงินให้สินเชื่อตามปัจจัยฤดูกาลในไตรมาสที่สี่ กรุงศรี จึงคงเป้าหมายการเติบโตของเงินให้สินเชื่อในปีนี้ในกรอบล่างขยายตัว 3-5%