เปิดวิธีป้องกัน "โดนแฮก" จากแก๊งดูดเงินระบาด เช็คธุรกรรมตนเองด่วน

เปิดวิธีป้องกัน "โดนแฮก" จากแก๊งดูดเงินระบาด เช็คธุรกรรมตนเองด่วน

จากกรณีมีผู้เสียหาย "โดนแฮก" บัญชีธนาคาร พบยอดเงินถูกหักผ่าน EDC โดยไม่รู้ตัว ชวนมาดูวิธีเช็คธุรกรรมทางการเงินสำหรับผู้ที่ใช้จ่ายผ่านแอพฯ โมบายแบงก์กิ้ง รวมถึงวิธีป้องกันและยกเลิกผูกบัญชีธนาคารกับแอพฯ ช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เกิดเหตุ "แก๊งดูดเงิน" ระบาดหนักในไทย และมีผู้เสียหาย "โดนแฮก" หลายราย โดยต้นเรื่องเกิดจากมีคนโดนตัดเงินจากบัญชีผ่านเครื่อง EDC แบบไม่รู้ที่มาที่ไป และประชาชนเดือนร้อนอย่างมากในขณะนี้

รวมถึงกรณีโดนตัดเงินไปจ่ายค่ารายการบางอย่างบน Facebook หากโดนแบบนี้ ต้องรีบแจ้งความ พร้อมไปยกเลิกการผูกบัญชีกับแอพฯ ช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ ทันที

มีคำแนะนำจาก "กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(CCIB)" ระบุว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น เชื่อว่าสาเหตุเกิดมาจากมีผู้ร้ายเข้าถึงข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิตของประชาชน อาจจะเกิดมาจากการขโมยดูเลขบัตร (โดยเฉพาะเลขหลังบัตร CVC) หรือแฮกผ่านแอพฯ หรือเว็บไซต์ขายของที่ไม่น่าเชื่อถือ 

โดย CCIB แนะนำให้ผู้เสียหายไปแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุหรือที่สะดวกทั่วประเทศไทย และให้เร่งประสานกับทางธนาคารที่ใช้บริการอยู่ และกรุณาให้ข้อมูลกับตำรวจไซเบอร์ตาม QR Code ที่ปรากฎในโพสต์ (สแกน QR Code ได้ที่ >> CybercopTH)

เปิดวิธีป้องกัน "โดนแฮก" จากแก๊งดูดเงินระบาด เช็คธุรกรรมตนเองด่วน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ส่วนใครที่ยังไม่โดนแฮกแต่อยากหาทางป้องกันตัวไว้ ก็มีเครือข่ายชาวเน็ตหลากหลายเพจ ออกมาให้ความรู้และแชร์ข้อมูลวิธีการตรวจสอบบัญชีว่าโดนแฮกหรือไม่? และวิธียกเลิกการผูกบัญชีกับแอพฯ ช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ ในเบื้องต้น

หนึ่งในนั้นคือเพจ “แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว” ที่มีการแนะนำวิธีต่างๆ ดังกล่าว มาบอกต่อให้ประชาชนได้เร่งตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ดังนี้

เปิดวิธีป้องกัน "โดนแฮก" จากแก๊งดูดเงินระบาด เช็คธุรกรรมตนเองด่วน

1. ต้องเช็คตนเองว่ามีบัตรประเภทไหน เสี่ยงหรือไม่?

  •  ผู้เสียหายส่วนใหญ่ มักจะมีบัตร ATM ที่เป็นเดบิต หรือมีบัตรเครดิตที่เป็น Master Card หรือ Visa  
  • ใครไม่มี ATM เป็นบัตรเดบิต ส่วนใหญ่จะรอด
  • ผู้เสียหายส่วนใหญ่ที่ทีบัตร Master Card / Visa จะผูกบัตรกับแอพฯ หรือไม่ผูกกับแอพฯ ก็อาจโดนได้เหมือนกัน
  • ผู้เสียหายที่มีบัตร ATM แบบ Master Card / Visa แม้ไม่ได้ผูกกับ Internet Banking และไม่เคยทำธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็ตาม ก็มีโอกาสโดนแฮกได้เช่นกัน
  • หากผูกบัญชีเดบิต/เครดิต เข้ากับแอพฯ ช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ หรือแม้แต่ช้อปปิ้งผ่าน Facebook หรือผ่าน iCound ของ Apple ก็ต้องไปยกเลิกการผูกบัตรทันที

2. วิธีเช็คธุรกรรมการเงินในแอพฯ ธนาคารที่ใช้อยู่ 

  • เปิดแอพฯ ธนาคารขึ้นมา (ยกตัวอย่าง BBL)  กดไปที่เมนู “ธุรกรรม” (แถบเมนูด้านล่าง)
  • จากนั้นหน้าถัดมาให้เลือกกดที่เมนู “ประวัติ” จากนั้นไล่ดูทุกรายการว่ามีรายการไหน ถูกตัดยอดเงินออกไปแบบผิดปกติหรือไม่  หรือให้ไปอัพเดทบุ๊คแบงก์(สมุดบัญชี) ที่ธนาคาร ก็เป็นอีกวิธีที่เช็คได้ละเอียดถี่ถ้วน
  • ถ้ามี ให้รีบติดต่อธนาคาร และแจ้งการตัดยอดเงินผิดปกติพร้อมแจ้งความ 

3. วิธียกเลิกการผูกบัญชีกับแอพฯ ต่างๆ 

ให้เข้าไปตั้งค่าเพื่อ “ยกเลิกการอนุญาต” แอพฯ ช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ ที่คุณเคยผูกเลขบัตรไว้เพื่อซื้อของออนไลน์ (ยกตัวอย่าง KBANK)  มีขั้นตอนดังนี้

  • เปิดแอพฯ ธนาคารขึ้นมา จากนั้นเลือกกดที่เมนู “อื่นๆ” (มุมขวาล่าง)
  • หน้าถัดมาให้เลือกกดที่ “การตั้งค่า” จากนั้นไปกดที่เมนู “แอพพลิเคชั่น” (ภาษา, ธีมภาพพื้นหลัง, แจ้งเตือน, ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว, Widgets) 
  • หน้าถัดมาให้เลื่อนไปที่ เมนู “การอนุญาตให้แอพฯ อื่น เข้าถึง” 
  • จากนั้นให้กด “ยกเลิกการอนุญาตแอพฯ” 

เปิดวิธีป้องกัน "โดนแฮก" จากแก๊งดูดเงินระบาด เช็คธุรกรรมตนเองด่วน ที่มาภาพ : Aomam Np

 

4. ตั้งค่า "วงเงิน" การใช้จ่ายของบัตรให้น้อยลง

นอกจากนี้ก็ควรไปตั้งค่ากำหนดวงเงินการใช้จ่ายของบัตร ให้ลดวงเงินลงมาให้เหลือน้อยๆ ไว้ก่อน เวลาจะใช้จ่ายจริงค่อยเข้าไปปรับเพิ่มวงเงินใหม่ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ (ยกตัวอย่าง KTC) 

  • เปิดแอพฯ ธนาคารขึ้นมา จากนั้นเลือกกดที่เมนู “บัตร KTC ของฉัน” (ด้านซ้ายมือ)
  • จากนั้นเลือกเมนู “ตั้งค่าการใช้จ่าย”
  • จากนั้นจะเจอช่องให้กรอก “ยอดใช้จ่ายสูงสุด/วัน” และ “ยอดใช้จ่ายสูงสุด/ครั้ง” ให้กรอกยอดเงินที่ต้องการใช้ต่อวัน เช่น 1 บาท เป็นต้น

เปิดวิธีป้องกัน "โดนแฮก" จากแก๊งดูดเงินระบาด เช็คธุรกรรมตนเองด่วน  ที่มาภาพ : Nene Neko

5. กรณีโดนตัดเงินจ่าย Ad Facebook แบบไม่มีที่มาที่ไป

ผู้เสียหายอาจได้รับข้อความ sms ระบุว่าถูกหักยอดเงินจ่ายค่าบริการบางอย่างบนเฟซบุ๊ค หรือมียอดค้างชำระเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เป็นต้น 

กรณีแบบนี้ มีคำอธิบายว่าระบบการตัดชำระเงินของ Facebook จะตัดชำระเงินกับผู้ที่ผูกบัตรไว้กับ Facebook สำหรับบัญชีโฆษณา และจะทำการตัดชำระกับผู้ที่ผูกบัญชีโฆษณาอันนั้นไว้ โดยแฮกเกอร์จะสามารถแอดบัญชีรายชื่อของเราเข้าไปในบัญชีโฆษณาของตัวแฮกเกอร์ได้ ซึ่งเฟซบุ๊คก็จะหักเงินจากบัญชีเราไปแทน

วิธีตรวจสอบเบื้องต้น คือ

  • ให้เราเข้าไปเช็คที่เมนู “แจ้งเตือน” แล้วดูว่ามีการเพิ่มชื่อเฟซบุ๊คของคุณเข้าไปในบัญชีโฆษณาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่?
  • หากกตรวจสอบดูแล้วพบว่า “มี” การเพิ่มชื่อของคุณ ให้คลิกเข้าไปที่ข้อความแจ้งเตือนนั้น
  • จากนั้นให้ไปไล่หาชื่อของคุณตรง "บทบาทผู้ดูแลบัญชี" และกด “ลบผู้ใช้” ออกทันที

--------------------------------

อ้างอิง : 

แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินฯ ไม่รู้ตัว

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนฯ CybercopTH

ยกเลิกผูกบัญชีกับการเข้าถึงแอพฯ 

วิธีตรวจสอบโดนแฮกบนเฟซบุ๊ค