ปศุสัตว์ ชี้ โควิดดัน ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง โต31%

ปศุสัตว์ ชี้ โควิดดัน ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง โต31%

กรมปศุสัตว์เผย การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไทย 3 ไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 31% ก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การรระบาดของโรค โควิด19 ทำให้ประชาชนทั่วโลกปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ New Normal มีการใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่บ้าน(Work From Home) และนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัขและแมวกลายเป็นสมาชิกครอบครัว ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีการขยายเติบโตเพิ่มขึ้น 

โดยภาพรวมการส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี (ม.ค.-ก.ย.  2564)  มีปริมาณการส่งออกรวม 525,966 ตันเพิ่มขึ้น31% คิดเป็นมูลค่ากว่า 40,533 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ อาหารกระป๋องสำหรับสัตว์เลี้ยง มีสัดส่วน 55% และอาหารเม็ดสำหรับสัตว์เลี้ยง  41 % ประเทศคู่ค้าที่นำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 20%มาเลเซีย 15% ฟิลิปปินส์ 12%และประเทศอื่นๆ เช่น  สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น 

คาดการณ์ว่าในปี 2564 จะมีการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง คิดเป็นมูลค่าราว 48,000 ล้านบาท เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความเชื่อมั่นในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากประเทศไทย ประกอบกับการเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด 19 ทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยขยายตัว นับเป็นโอกาสของประเทศไทยในปีนี้ ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 3 ของโลก

ปศุสัตว์ ชี้ โควิดดัน ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง โต31%

รองจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ สวนทางเศรษฐกิจโลกในช่วงวิกฤตการณ์ โควิด

นายโสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ โดยสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ มีภารกิจหน้าที่ในการกำกับดูแลกระบวนการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food) เพื่อการส่งออก การขึ้นทะเบียนรับรองโรงงานผลิตอาหารสัตว์เพื่อการส่งออก ควบคุมคุณภาพมาตรฐานโรงงานให้มีระบบรับรอง

การปฏิบัติทางการผลิตที่ดี (GMP) และมีระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) การตรวจสอบกระบวนการผลิต การออกหนังสือรับรองสุขอนามัยสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงสอดคล้องตามข้อกำหนดและระเบียบ

ของประเทศคู่ค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศคู่ค้า ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (ต.ค. 2564) มีจำนวนโรงงานที่ได้รับขึ้นทะเบียน เพื่อการรับรองโรงงานผลิตอาหารสัตว์เพื่อการส่งออกและมีการผลิตส่งออก รวมทั้งสิ้น 86 แห่ง