ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน "Netflix" อยากปังระดับโลกแบบ "Squid Game" ทำอย่างไร?

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน "Netflix" อยากปังระดับโลกแบบ "Squid Game" ทำอย่างไร?

ถึงโควิดจะฉุดหลายธุรกิจลง แต่ "Netflix" กลับทะยานเติบโตไม่หยุด โดยเฉพาะซีรีส์ที่ผลิตจาก “ประเทศเกาหลีใต้” อย่าง “Squid Game” ที่เรียกกระแสได้สุดปัง จนขึ้นอันดับ 1 ไปแล้วกว่า 90 ประเทศ ทีมผู้ผลิตใช้กลยุทธ์อะไร? จึงทำให้ซีรีส์ครองใจคนทั่วโลกได้

ตั้งแต่เกิดสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านกันเป็นเวลายาวนานขึ้น ส่งผลให้แพลตฟอร์มคอนเทนท์วิดีโอสตรีมมิ่งอย่าง “NETFLIX” เติบโตอย่างก้าวกระโดด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนเทนท์ที่ผลิตจาก “ประเทศเกาหลีใต้” ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายเรื่องโด่งดังจนกลายเป็นกระแสระดับโลก อย่างซีรีส์เรื่องล่าสุดที่กำลังได้รับความนิยมในนาทีนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง “สควิดเกม เล่นลุ้นตาย” (Squid Game) ที่สามารถไต่ขึ้นอันดับ 1 ไปกว่า 90 ประเทศทั่วโลก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนแกะสูตรคอนเทนท์ “ซีรีส์เกาหลี” ว่าก่อนที่จะ “โกอินเตอร์” ได้ขนาดนี้ ทีมผู้ผลิตต้องวางแผนกลยุทธ์อย่างไรให้ครองใจคนทั่วโลกได้?

 

1. ผลิตคอนเทนท์แนวที่ได้รับความนิยมในยุคนี้

เมื่อ 10 ปีก่อน คนอาจจะนิยมดูหนังโลกสวย มีตอนจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง แต่ภายใน 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้คนนิยมเสพคอนเทนท์ซีรีส์ประเภทที่มีความโหดเดือดเลือดพล่าน อย่างเรื่อง “Squid Game สควิดเกม เล่นลุ้นตาย” ก็เป็นหนึ่งในคอนเทนท์แนวดังกล่าวเช่นกัน

รูปแบบซีรีส์กลุ่มนี้มักมาในแนวสังคมจำลอง ดิสโทเปีย การชิงอำนาจ การเมือง เกมเล่นกับจิตใจมนุษย์ สร้างความกดดัน ต้องการให้เอาตัวรอด ชิงดีชิงเด่น เพื่อเผยให้เห็นธาตุแท้ของจิตใจมนุษย์ในสถานการณ์ที่คับขัน

ตัวอย่างซีรีส์ที่พบเห็นได้ในทำนองนี้จากหลากหลายประเทศ เช่น เล่ห์ร้ายเกมไฮโซ (ELITE), ทรชนคนปล้นโลก (MONEY HEIST), นาร์โคส ราชายาเสพติด (NARCOS), เอล ชาโป (EL CHAPO)

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

2. คอนเทนท์ที่ชวนคิดถึงอดีต รู้สึกอาลัยอาวรณ์ และสะเทือนอารมณ์

การเอาส่วนผสมของเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ เช่น การละเล่น ความทรงจำไวเด็ก ปมที่ฝังใจสมัยเรียน ปัญหาครอบครัว หรือเรื่องสะเทือนใจต่างๆ ทั้งระดับสเกลใหญ่และสเกลเล็กมาขยี้ในพล็อตเรื่อง สิ่งเหล่านี้ผู้ชมหลายคนคงได้เห็นจากซีรีส์ฝั่งเกาหลีใต้มาระยะหนึ่งแล้ว

เมื่อนำแง่มุมของสิ่งต่างๆ ในอดีตของมนุษย์มาเปิดปม อาจทำให้คนรู้สึกร่วมไปกับเนื้อเรื่องได้อย่างแนบเนียน บ้างอาจตกเข้าไปอยู่ในภวังค์ของเนื้อเรื่อง บ้างอาจตื้นตันใจ และนั่นอาจทำให้มูฟออนไปต่อไม่ได้ จนกว่าจะดูต่อจนจบ!

ดังเช่นเรื่อง ปักหมุดรักฉุกเฉิน หรือ Crash Landing on You ที่เป็นเรื่องราวของสาวนักธุรกิจคนดังจากตระกูลร่ำรวย เกิดตกหลุมรักกับหนุ่มทหารเกาหลีเหนือ ในตอนที่ตนพลัดตกจากการเล่นร่มร่อน แล้วพายุพัดพาตนข้ามไปอีกฝั่ง เมื่อสองเขตแดนเป็นอาณาเขตต้องห้าม รักครั้งนี้จึงเป็นความวุ่นวายที่ชวนให้คนดูอินไปกับเนื้อหาจนไม่สามารถหยุดดูเรื่องราวนี้ได้ ถึงขนาดว่ามีคอซีรีส์นำไปแต่งนิยายภาคต่อเองจากจินตนาการ เป็นชีวิตหลังจากพล็อตเรื่องหลักจบลงด้วย

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

3. เข้าถึงได้จากทั่วโลก ด้วยการแปล-พากย์ หลายภาษา

ประเทศเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในคู่แข่งซีรีส์สัญชาติอื่นๆ ที่ทำซีรีส์โดยไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร แต่สามารถรุกตลาดโลกได้ (Non-English-language shows) แม้จะมีประเด็นอยู่ว่า การแปลซีรีส์เกาหลีเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ อาจไม่ได้แปลตรงตามบริบทดั้งเดิมของเรื่อง 

แต่นั่นก็เพราะไวยากรณ์ของภาษาเกาหลีมีความซับซ้อนในหลายส่วน การแปลในภาษาต่างชาติอื่นๆ จึงต้องแปลเพื่อให้เข้ากับบริบทคนที่ใช้ในภาษานั้นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสูงสุด หรือคล้ายคลึงกับสิ่งที่คนเกาหลีอยากจะเล่าให้ได้มากที่สุดในเรื่อง

เหนือสิ่งอื่นใด ซีรีส์เกาหลีจาก Netflix ได้ลงทุนในกุญแจสำคัญของการทำให้ผู้ชมทั่วโลกเข้าถึงเนื้อหา ด้วยการลงทุนกับการพากย์เสียงและแปลซับไตเติ้ลอย่างหนัก

อย่างเช่น Squid Game ได้มีการพากย์เสียงไปแล้วกว่า 34 ภาษา และได้มีการแปลซับไตเติ้ลไปถึง 37 ภาษาแล้ว ซึ่งทำให้ ณ ขณะนี้ ซีรีส์เรื่องนี้ไต่ขึ้นอันดับ 1 ในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก 

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

4. มีการทำ “มีมล้อเลียน” นำไปแชร์ต่อบนโซเชียลมีเดีย

ทุกวันนี้คอนเทนท์ซีรีส์แนวนี้มักได้รับความสนใจในการประยุกต์ทำเป็น “มีมล้อเลียน” ต่อๆ กัน โดยการทำมีมเกิดขึ้นเพราะผู้ชมคิดเห็นว่า ตนเองมีความรู้สึกร่วม มีความอิน หรือรู้สึกว่าสังคมที่ตนอยู่ก็กำลังเผชิญเรื่องราวรูปแบบคล้ายๆ กันนี้

ซึ่งการทำมีมก็เหมือนกับการบอก “ปากต่อปาก” ทำให้ค่ายสตรีมมิ่งได้รับการโปรโมทไปโดยปริยาย เพราะปกติการที่ผู้ชมโปรโมทเอง จะเห็นจากการรีวิว หรือพูดถึงบนเน็ตทั่วไป แต่ ณ วันนี้การที่ “ผู้ชมทำมีมล้อกับไปซีรีส์” ถือเป็นรูปแบบการโปรโมทที่คิดข้ามช็อตมาอีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้สร้างโปรดักชั่นไม่ต้องออกแรงในการทำโปรโมทต่อให้เหนื่อยเลย 

ดังเช่นเรื่อง Squid Game เป็นการแก้ปัญหาในแต่ละด่าน เพื่อให้ตนเองได้ไปต่อ ถ้าแก้ไม่ได้ แก้ผิดจุด หรือโกง จะต้องตาย หลายคนบนโซเชียลมีเดีย มีวิธีแก้ที่เจ๋งๆ มาแชร์ไอเดียกันทั้งนั้น หรืออย่างเรื่อง The Kingdom ในประเทศไทยก็มีการทำมีมล้อเลียนซอมบี้ที่หลอกหลอนในเรื่อง เปรียบเสมือนกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นต้น

ถ้าผู้สร้างฉลาดพอที่จะสอดแทรกทุกๆ จุดของเส้นเรื่องให้มีสิ่งที่ผู้ชมอยากทำมีมโพสต์บนโซเชียลมีเดียต่อได้ ก็ถือเป็นการทำงานรอบเดียวแต่ยิงนกได้สองตัวแบบสบายๆ 

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

เครดิต: เพจ กว่าจะถึงออฟฟิศ

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

5. ทำคอนเทนท์ให้สั้น 30-45 นาที

เมื่อก่อน หากซีรีส์เรื่องใดมีพล็อตที่ปังและน่าติดตาม ไม่ว่าในหนึ่งตอนนั้นๆ จะยาวนานเกือบ 2 ชั่วโมง คนดูก็จะสู้ แต่วันนี้พฤติกรรมการฟังเพลงและดูหนังของผู้คนได้เปลี่ยนไป การจะดึงสายตาคนดูได้ จึงต้องทำให้แต่ละตอน “สั้นและกระชับ” ไม่ย้วยยืดจนเกินไป เพราะผู้บริโภคไม่ชอบ “ความรู้สึกที่ถูกผูกมัด” เป็นเวลานานๆ

โดยทั่วไปในกรณีของซีรีส์เกาหลีปกติ จะพบว่าในหนึ่งตอนใช้เวลาดูประมาณ 1-1.30 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ค่อนข้างนาน แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าซีรีส์เรื่องไหนที่ตั้งใจที่จะออกไปสู่ตลาดโลกจริง มักจะมีะระยะเวลาสั้นกว่าปกติ ในอัตรา “30-45 นาที” ต่อ 1 ตอน 

เมื่อคอนเทนท์เหล่านี้ใช้เวลาน้อยในการรับชม ก็ทำให้ผู้ชมอยากจะดูต่อหลายๆ ตอน ทำให้หลายคนสามารถ “ดูมาราธอนคืนเดียวจบ” ได้โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะอดใจไม่ไหว

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

6. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศ

ความเป็นเนื้อแท้ของประเทศเกาหลีที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้  ก็คือการทำซีรีส์แนวซอมบี้สะท้อนตัวแทนทุนนิยมที่ไล่ล่ามนุษย์ หรือการทำซีรีส์เสียดสีเรื่องฐานะ-ชนชั้น ที่เห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างฟ้ากับเหว

มีให้เห็นผ่าน Netflix อยู่หลายเรื่อง เช่น ชนชั้นปรสิต (Parasite), คนเป็นฝ่านรกซอมบี้ (Alive) และผีดิบคลั่ง บัลลังก์เดือด (Kingdom) 

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

7. มีหลากหลาย “ทางเลือก” ให้ผู้ชมเข้าถึงคอนเทนท์ได้ “เท่ากัน”

“รูปแบบการชำระเงินเพื่อดูคอนเทนท์” ส่วนนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ในการผลิตคอนเทนท์ แต่ก็เป็นหนึ่งจุดสำคัญของการดึงดูดผู้คนทุกกลุ่มให้สามารถเข้าถึงการบริการของสตรีมมิ่งซีรีส์ได้ เช่น แพคเกจรายเดือน แพคเกจครอบครัว แพคเกจเดี่ยว แบบบัตรเติมเงินรายสัปดาห์

ไม่ว่าจะเลือกแพคเกจไหนก็สามารถเข้าถึงคอนเทนท์ได้ทั้งหมด แต่อาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ ความคมชัดที่แสดงผลอาจไม่เหมือนกัน เริ่มจากความคมชัดทั่วไป ระดับ 4K และระดับ Ultra HD เป็นต้น สิ่งนี้จะทำให้ผู้บริโภคมองว่า โปรดักส์พยายามเข้าหาผู้บริโภคอย่างเป็นมิตร

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

8. เจาะลึกเรื่อง “ท้องถิ่น” แต่แทรก “ป๊อปคัลเจอร์” ลงไปด้วย

โจทย์สำคัญที่ผู้ผลิตซีรีส์ทุกมุมโลกกำลังแข่งขันกันคือ “จะนำเสนอเรื่องราวท้องถิ่นในพื้นที่ของตนออกมาอย่างไรให้ครองใจผู้ชมทั่วโลกได้?” 

ต้องบอกว่า ถ้าใครที่ดูคอนเทนท์ซีรีส์บน Netflix จะเห็นว่า คอนเทนท์ภาษาต่างชาติที่ไม่ใช่ภาษาสากลอย่าง ภาษาอังกฤษ (Non English Language) เป็นสิ่งที่ทางสตรีมมิ่งกำลังอุ้มชูและฟูกฟักอย่างหนัก โดยเคล็ดลับที่น่าสนใจในการทำให้เรื่องราวเหล่านั้นไม่น่าเบื่อคือการนำ “ซอฟท์พาวเวอร์” และ “ป๊อปคัลเจอร์” เข้ามาผสมผสานกันระหว่างดำเนินเรื่อง 

วัตถุดิบที่ถูกแทรกตามระยะทางเส้นเรื่อง มีตั้งแต่ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ คัลเจอร์ช็อค เพลง หนัง อาหาร ขนม ประเพณี โดยการนำเสนออย่างจริงใจว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนท้องถิ่นชอบจริงๆ จนทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าอยากลอง อยากสัมผัสประสบการณ์นั้นๆ ตามบ้าง 

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การที่เกาหลีนำเสนอฉากกินอาหารเกาหลีสอดแทรกในทุกๆ ตอน จนเมื่อดูแต่ละครั้ง ผู้ชมจะอยากซื้อรามยอน กิมจิ หรือต็อกปกกี มาทานกันบ้าง ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็เป็นวิธีที่แอบโปรโมทประเทศตนเองได้อย่างเนียนๆ เหมือนกัน โดยที่ผู้ชมไม่รู้สึกว่าเป็นการยัดเยียดจนเกินไป

กว่าผู้ชมจะรู้ตัวว่าคลั่งไคล้ในวัฒนธรรมต่างๆ ของเกาหลีขนาดนี้ ก็ถลำลึกไปไกลแล้ว ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้คือกุญแจสำคัญในการครองใจผู้ชมคอนเทนท์ทั่วโลก

ส่องสูตรซีรีส์เกาหลีบน \"Netflix\" อยากปังระดับโลกแบบ \"Squid Game\" ทำอย่างไร?

อ้างอิง: NETFLIX, NEW YORK TIMES, NBC News, SYFY WIRE, ESQUIRE, THE WALL STREET JOURNAL(1), THE WALL STREET JOURNAL(2)