“จุรินทร์ “ ประกาศ 17 มาตรการดูแลผลไม้ปี 65

“จุรินทร์ “ ประกาศ 17 มาตรการดูแลผลไม้ปี 65

“จุรินทร์ “ถกแนวทางบริหารจัดการผลไม้ปี 65 คลอด 17 มาตรา ดูแลผลไม้ทั้งระบบ ปลื้ม ส่งออกผลไม้ช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ นำรายได้เข้าประเทศถึง 169,000 ล้านบาท พร้อมส่งเสริมสินค้าเกษตรขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าGI

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยภายหลังการประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดการรองรับผลไม้ ปี2565  ว่า ที่ประชุมเห็นชอบ 17 มาตรการในการดูแลบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ ประกอบด้วย1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565  ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง  2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ย 3 %และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน  5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่างๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง

“จุรินทร์ “ ประกาศ 17 มาตรการดูแลผลไม้ปี 65

7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 65  จะสนับสนุนที่15,000 ตัน8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่างๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก

10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น 11.จะส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในรูปแบบ THAIFEX – Anuga Asia จัดงานส่งเสริมการบริโภคผลไม้ระดับนานาชาติ ช่วงเดือนพ.ค.ม 65 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี  12.เร่งจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยไปในประเทศต่างๆทั่วโลกเป็น 5 ภาษา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย

13. จัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการค้าออนไลน์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภคและจะเพิ่มเติมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้นให้ด้วย ตั้งเป้าอบรมเกษตรกรให้ได้อย่างน้อย 1,000 ราย14.มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินการเก็บผลไม้และส่งเสริมการขายผลไม้ได้ต่อไป 15.ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน.ส่งกำลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้  

 

16.กระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศประสานงานกันช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศต่อไป ให้มีความเข้มข้นขึ้น  และ17.กระทรวงพาณิชย์และจังหวัดจะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัดต่อไป

" โดยภาพรวมผลไม้ จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,500,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 8% มาตรการเชิงรุกจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเพราะหมายถึงซัพพลายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2564 อย่างไรก็ตามการส่งออกผลไม้ประสบความสำเร็จมากในช่วงปี 2564 ในช่วง 8 เดือนแรกมกราคมถึงสิงหาคม 2564 สามารถส่งออกผลไม้ไปยังต่างประเทศได้ถึง 169,000 ล้านบาท เพิ่ม46% เฉพาะทุเรียนส่งออกได้ 98,360 ล้านบาท เพิ่ม 77% มังคุด 16,703 ล้านบาท เพิ่ม 24% ลำไย 10,392 ล้านบาทเพิ่ม 50% “

นายจุรินทร์ กล่าวว่า นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ จะเร่งรัดการเพิ่มมูลค่าจากพืชผลการเกษตรทั้งผักผลไม้พืชเกษตรอื่นๆหรือผลไม้ให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยการส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียน เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI เพราะสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ เฉพาะปี 2564 กระทรวงพาณิชย์ขึ้นทะเบียน GI ให้สินค้าทั่วประเทศไปแล้ว 152 รายการและเมื่อต้นปีที่ผ่านมาสามารถจดทะเบียนสินค้า GI ได้ครบทั้ง 77 จังหวัดแล้ว และสินค้า GI ทั้งหมด 152 รายการ มีมูลค่ายอดขายถึง 40,000 ล้านบาท จังหวัดจันทบุรีมี GI แล้ว 3 ตัว 1.เสื่อจันทบูร 2.พริกไทยจันท์ และล่าสุดที่จะทำพิธีมอบในวันนี้คือ ทุเรียนจันท์ คาดว่าจะมียอดส่งออกปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาท