35 ปีเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลก ผ่ากลยุทธ์-ผ่านวิกฤติ

35 ปีเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลก   ผ่ากลยุทธ์-ผ่านวิกฤติ

เศรษฐกิจไทยและโลกมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อโลกเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจไทยก็ได้รับผบกระทบ ซึ่งทุกปัญหาที่ผ่านมาได้ทิ้งบทเรียนและกลยุทธ์การผ่านวิกฤตินั้นๆไว้อย่างน่าสนใจ

ในทุกปีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด จะทำรายงาน หลัก2 เล่มคือ WIR หรือ World Investment Report และ TDR หรือTrade Development Report ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ทั่วโลกผจญการระบาดโควิด-19 มาเป็นเวลานานเกือบครบรอบ 1 ปีเต็ม นับจากกลางปี 2020 ที่ผ่านมา และเป็นวาระหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพธุรกิจ” ครบรอบ 35 ปี จึงนำสาระส่วนหนึ่งของรายงนทั้งสองชิ้นมาสรุปในมุมมองของการผ่านวิกฤติเศรษฐกิจด้านต่างๆของโลกและของไทยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา 

WIR 2021 ระบุว่า ในช่วงวิกฤติครั้งใหญ่ทั่วโลกครั้งล่าสุดคือช่วงปี 2008 ที่เรียกว่า วิกฤติตลาดการเงินโลก หรือ GFC นั้น การลงทุนตรงจากต่างประเทศ หรือ FDIมีสัดส่วนลดลง 33% แต่วิกฤติครั้งนั้นใช้เวลาฟื้นตัว ภายใน 2ปี ครึ่ง ขณะที่วิกฤติโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่นี้่ ทำให้FDI ลดลงไปแล้ว 35% และยังไม่มีแนวโน้มว่า จะฟื้นต้วเมื่อไหร่เนื่องจากมีตัวแปรหลายด้าน ทั้งฝั่งความสามารถการควบคุมโรคและฝั่งการกลายพันธุ์ของไวรัส ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม จีดีพีโลกเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา จึงติดลบถึง 4.5% ขณะที่ช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008 ขยายตัวที่ 2.4% 

อ่านข่าว : “โออีซีดี”ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก-สหรัฐ

35 ปีเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลก   ผ่ากลยุทธ์-ผ่านวิกฤติ

ความรุนแรงและแตกต่างของวิกฤติโควิดครั้งนี้ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของภาครัฐที่พบว่า มีความแตกต่างจากวิกฤติช่วงที่ผ่านๆมา คือมีความเฉพาะเจาะจงในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเดิมจะเน้นแค่การดูภาพรวมการจ้างงาน การชะลอการเทขายธุรกิจและสินทรัพย์ที่เหมือนกันในทุกวิกฤติแต่ก็ยังมีความแตกต่างคือ โควิดทำให้เกิดการเร่งซื้อสินทรัพย์และธุรกิจต่างๆแม้จะยังไม่มีดีมานด์ที่ชัดเจนก็ตาม 

นอกจากนี้ จากวิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้น ได้สร้างนโยบายพิเศษที่ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กรณีวิกฤติก่อนหน้ากำหนดเรื่องสิทธิประโยชน์การลงทุนจะเน้นเรื่องการส่งเสริมห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่วิกฤติโควิด-19 จะเน้นการสนับสนุนด้านภาษีที่ภาคนักลงทุนต่างประเทศและท้องถิ่นจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกัน การส่งเสริมการผลิตเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและการแพทย์ รวมไปถึงกลุ่มเทคโนโลยีด้วย แนวทางนี้มีความสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโลกสามารถผ่านวิกฤติอีกครั้งนี้ไปได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป 

 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 หากเน้นเฉพาะภูมิภาคอาเซียน จะพบว่า แม้หลายประเทศทั่วโลก ที่เผชิญการระบาดสายพันธุ์เดลตาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกและและภูมิภาคอาเซียนบางส่วนที่กำลังฟื้นตัว นั้นก็พบว่าหลายประเทศในอาเซียนได้ออกแพ็คเกจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมบริการและเทคโนโลยี ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัล, อี-คอมเมิร์ช ,โครงสร้างพื่นฐาน เช่น โครงข่าย 5 จี และดาต้าเซ็นเตอร์ และ คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะมาช่วยรีบูทเศรษฐกิจ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภูมิภาคอาเซียนจะเป็นศูนย์กลางดาต้าที่สำคัญของโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากธุรกิจมีการลงทุนด้านดาต้าและคราวด์เพื่มขึ้น หรือ ตั้งงบการใช้จ่ายด้านนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ดีขึ้น แผนดังกล่าวจะสมบูรณ์ในปีนี้และในปี2022 โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะเป็นแรงขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตของอาเซียนและส่งเสริมขีดความสามารถด้านการลงทุนเพิ่มได้อีก 

ด้านการขับเคลื่อนของภาครัฐเพื่อลดผลกระทบจากโควิดนั้นพบว่าประเทศภูมิภาคนี้ ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกายภาพขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน และเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ยกตัวอย่างเช่น อินโดนีเซีย มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเพิ่มสิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุนภาคภาคอุตสาหกรรมเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ซึ่งได้เปิดตัวเมื่อ 2020 และคาดว่าจะสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีจากนี้ 

ด้านเวียดนาม พบว่า มีการลงทุนพลังงานลมขนาดใหญ่ La Gan โดยกิจการร่วมค้า Copenhagen InfrastructurePartners (Denmark) และ การลงทุนพลังงาน LNG ใน Bac Lieu Viet Nam  by Delta Offshore Energy (Singapore) ใน ปี2020  จะเห็นว่าตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาได้มีการนำกลยุทธ์สำคัญต่างๆถูกนำมาใช้เพื่อผ่านวิกฤติไปให้ได้