ธปท. ชู 4 แรงหนุน พลิกโฉม “ระบบการเงินไทย”

ธปท. ชู 4 แรงหนุน  พลิกโฉม “ระบบการเงินไทย”

ธปท.ชี้ 4 ปัจจัย จากการพึ่งเทคโนโลยี ดิจิทัล หนุนให้เกิดการพลิกโฉมระบบการเงินไทยอย่างรวดเร็วรุนแรงขึ้น เพื่อตอบโจทย์-แข่งขันในการให้บริการการเงินในโลกดิจิทัล

      นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายเสถียรภาพระบบการเงินและยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า การปรับตัวของผู้ให้บริการทางการในปัจจุบันอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยปรับตัวไปพึ่งพา ดิจิทัล เทคโนโลยีมากขึ้น หรือการหันไปจับมือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจเพื่อขยายฐานลูกค้า และเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น แต่ยังเชื่อว่า การปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลงในการให้บริการทางการเงินในอนาคต จะสามารถปรับเปลี่ยนได้เร็วและแรงกว่านี้อีกมาก ดังนั้นในระยะข้างหน้าการปรับตัวไปสู่ดิจิทัลจะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก 
    แต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วนั้น มาจาก 4 แรงผลักดัน

       ด้านแรก Data is the new oil คือการเข้าถึงข้อมูล Data เพราะการที่ผู้ให้บริการเข้าถึง financial & non-financial data ได้มากจะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น 
    แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแม้ผู้ให้บริการทางการเงิน จะพยายามเก็บข้อมูลลูกค้าให้ได้มากที่สุด แต่เหล่านี้ ไม่ทำให้เกิดการแข็งขัน ดังนั้นจะให้ดีต้องทำให้เกิดการไหลเวียนข้อมูลได้ เอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ด้วย เพื่อให้เกิดการแข่งขัน กรณีในต่างประเทศที่มีการออกกฎหมายให้สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ได้
    แม้ในระยะข้างหน้า การเอื้อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้อาจจะยังไม่เปิดเหมือนต่างประเทศ แต่ก็มีช่องทางให้สามารถส่งผ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ เช่นการส่งข้อมูลผ่านมาตรฐาน API เพื่อส่งผ่านข้อมูลจากอีกแบงก์ไปสู่อีกแบงก์ได้ ดังนั้นประเด็นนี้ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาว่า จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อเอื้อให้เกิดการไหลเวียน เกิดการแชร์ข้อมูลต่างๆมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะข้างหน้า

    ด้านที่สอง Disruptive Technology  ที่ช่วยพั้ฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆมากขึ้น โดยผู้ให้บริการที่ใช้เทคโนโลยี จะมีประสิทธิภาพและมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น
    ด้านที่สาม Borderless services เช่น Tech ,ecommerce company ที่รุกเข้ามาในภาคการเงินมากขึ้น เหล่านี้ทำเกิดการเชื่อมโยงบริการทางการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ทรี่ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นในการทำธุรกรรมการเงิน 

     ด้านที่สี่ Change in customer behavior การใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง และเร่งตัวขึ้นจากโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โมบายแบงกิ้ง ณ สิ้นปี 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เท่ากับ 103.6 ล้านบัญชี 9.6 พันล้านรายการ ปริมาณธุรกรรมพร้อมเพย์ 22.8 ล้านรายการต่อวัน เพิ่มขึ้น 69% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
    อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆก็เป็นสิ่งที่ธปท.ต้องดูแล และต้องพัฒนาการกำกับของธปท.ให้ดีขึ้นด้วย เพื่อเอื้อและไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการเงินไทย