Sideway Down เก็งกำไร KSL BEM DTAC (29 ก.ย. 64)

Sideway Down เก็งกำไร KSL BEM DTAC (29 ก.ย. 64)

คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้ - คาดดัชนีฯ Sideway Down แนวต้าน 1620 / 1625 จุด แนวรับ 1610 / 1600 จุด แนะนำเก็งกำไร KSL BEM DTAC

ทางเทคนิค ระยะสั้นมีแนวโน้มปรับฐานไปที่แนวรับสำคัญ 1600 จุด หลังจากที่ดัชนีฯ วานนี้ ปิดต่ำกว่า 1620จุด

กลยุทธ์ลงทุน: แนะนำเก็งกำไร 1) กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ หลังจากที่ราคาสินค้าบางประเภทเริ่ม
มีการฟื้นตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำตาล หุ้นแนะนำ KSL AIE 2) หุ้นที่ได้ประโยชน์ จากการลด
เวลาเคอร์ฟิว 1 ชั่วโมง ช่วยหนุนกำไร 4Q21 ฟื้นตัว หุ้นแนะนำ BEM 3) หุ้นที่ได้รับผลกระทบ
จำกัด หากอุทกภัยมีการยืดเยื้อ เช่น กลุ่มสื่อสาร หุ้นแนะนำ DTAC

ไฮไลน์สำคัญของวันนี้
1) ผลการประชุมกนง. ช่วงบ่ายวันนี้ โดยผลสำรวจของ Bloomberg Consensus ส่วนใหญ่คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 0.5% แม้จะมีบางนักเศรษฐศาสตร์ที่ส่งสัญญาณว่าอาจมี Surprise ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เป็น 0.25%

2) China Evergrande มีกำหนดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน USD45.17mn ในวันนี้ โดยตลาดคาดว่าจะมีการผิดนัดชำระอีกครั้ง หลังจากมีการผิดนัดชำระดอกเบี้ยไปแล้วเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมา

3) Japan จับตาการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค LDP วันที่ 29 ก.ย. ซึ่งคาดว่านายโคโนะจะได้รับชัยชนะ และได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ คนใหม่ ในวันที่ 4 ต.ค. ก่อนที่จะมีการยุบสภา เพื่อเลือกตั้งครั้งใหม่ภายในเดือน พ.ย. (ตลาดหุ้นญี่ปุ่นตอบรับในเชิงบวก จากสถิติของการเลือกตั้งในอดีต)

ปัจจัยบวก 1) ราคาน้ำมันดิบยังคงเดินหน้าปรับตัวสูงขึ้น จากสภาวะขาดแคลนพลังงานในจีน
คาดว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มพลังงานสามารถยืนบวกต่อได้ในวันนี้ 2) รฟม.เริ่มประมูลรอบใหม่ หลังจากที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 27 ส.ค. โดยเป็นงานโยธาสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 6 สัญญา ราคากลาง 7.871 หมื่นล้านบาท เป็นบวกต่อกลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง  3) ต่างชาติมีการซื้อสุทธิทั้งในตลาดหุ้นและ TFEX หลังจากค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า

 

ปัจจัยลบ 1) Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ Earning Yield
Gap หรือส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของตลาดหุ้นและผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ แคบ
ลง ซึ่งส่งผลลบต่อตลาดหุ้นในกลุ่ม Emerging Market รวมถึงตลาดหุ้นไทย ซึ่งมี
ความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ 2) World Bank ปรับลดอัตราการขยายของ
GDP ไทยในปี 2021 เหลือเพียง 1% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.2% เมื่อเดือน ก.ค. 2021 โดย
คาดว่าระบบเศรษฐกิจของไทยจะใช้เวลาในการฟื้นตัวราว 3 ปี 3) สถานการณ์น้ำท่วมในหลาย
จังหวัดกำลังสร้างความกังวลต่อตลาดว่าจะลุกลามเป็นวิกฤติใหญ่คล้ายปี 2011 และอาจเป็น
ปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้จะมีการคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้วก็ตาม

 

ประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องติดตาม

    - Opportunity Day วันนี้ ได้แก่ TACC UTP PROS MENA CAZ SC SUTHA
    - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจาเดือน ก.ย. ของทาง Euro Zone คาดกว่าจะออกมาที่-4 ดีขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ -5.3
    - สหรัฐฯ รายงานตัวเลขบ้านรอการขายประจำเดือน ส.ค. คาดว่าจะออกมาเพิ่มขึ้น +1.4%
MoM จากที่ติดลบในเดือน ก.ค.
    - ตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาดว่ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็น
ปัจจัยบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน
    - การเลือกตั้งหัวหน้าพรรค LDP ของทางญี่ปุ่น คาดเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นระยะสั้น

 

+/-Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

    - ตลาดหุ้นไทยปิดลบต่อเนื่อง: ตลาดแกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนมาปิดตลาดที่ 1616.50 จุด
-3.52 จุด วอลุ่ม 9.8 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มธนาคาร-1.77% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง -1.39% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -0.60% และกลุ่มพาณิชย์ -0.22% หุ้นบวก >4%TRUE STGT XPG SPRC WAVE LANNA CFRESH NER STC WORK AIE AGE KSL OTO หุ้นลบ >4% RCL ICN COTTO MFEC B UTP APURE SMT NEWS NEP CIMBT TH

 

    - หุ้นสหรัฐฯ และยุโรปร่วงหนัก: DJIA -1.63% (-569.38 จุด) S&P500 -2.04% NASDAQ -2.83% ร่วงอย่างหนัก หลังเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ คาดหมายว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปี 2021 จะอยู่ที่เกือบ ๆ 4% รวมถึง Bond Yield ที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนหุ้นยุโรป CAC40 -2.17% DAX -2.09% FTSE -0.50% ลบหนัก หลังหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดนเทขาย หลังจาก Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น

     - ราคาน้ำมันชะลอตัว ส่วนทองคำร่วงหนัก: WTI ลดลง 16 เซนต์ ปิดที่ USD75.29/บาร์เรล Brent ลดลง 44 เซนต์ ปิดที่ USD79.09/บาร์เรล ตลาดน้ำมันก็แกว่งตัวลงปิดในแดนลบ หลังดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ส่วนราคาทองคำลดลง USD14.50 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ปิดที่ USD1,737.50/ออนซ์ จากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นเช่นกัน

 

ประเด็นสำคัญ

- USD/THB: คาดเคลื่อนไหววันนี้ในกรอบ 33.60-33.80 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังวานนี้ปิดที่ 33.75 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า 22 สตางค์ จากวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 4 ปี หลังดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ เนื่องจากยิลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีพุ่งขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.

- Quant Analysis: การครบกำหนดอายุตราสารอนุพันธ์ (Set 50 Index Future) วันที่ 29 ก.ย. อาจเพิ่มความผันผวนเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทย อิงการถือครองสัญญาอนุพันธ์แบบ Short Position สูงกว่า 3 หมื่นสัญญา MTD

- China: โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2021 ลงสู่ระดับ 7.8% จากระดับ 8.2% โดยระบุว่าปัญหาขาดแคลนพลังงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงอย่างมากนั้น ได้เพิ่มแรงกดดันให้เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง

กลยุทธ์การลงทุน: แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: IRPC CENTEL

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: KSL BEM DTAC

Derivatives: ถือ Short S50Z21 รอทำกำไรตามเป้า (ติดตามรายละเอียดเพิ่มใน KTZ-D Report)