บอร์ด STECไฟเขียวยกเลิกซื้อหุ้นSTIT เหตุผลตอบแทนไม่คุ้มค่าหลังโควิดระบาด

บอร์ด STECไฟเขียวยกเลิกซื้อหุ้นSTIT เหตุผลตอบแทนไม่คุ้มค่าหลังโควิดระบาด

บอร์ดSTECไฟเขียว ยกเลิกซื้อหุ้นSTIT จากSTPI เหตุโควิดระบาดส่งผลกระทบการดำเนินงาน จึงจ้างที่ปรึกษาประเมินผลตอบแทนการลงทุนใหม่ พบIRRลดลงเหลือ0.16%จากเดิมที่ประเมินไว้16.53% ไม่คุ้มค่าการลงทุนในเวลานี้

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ  กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียรั่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ  STEC แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ว่า คณะกรรมการ(บอร์ด)ประชุมครั้งที่4/2564 เมื่อวันที่ 9 ก .ย.2564 มีมติดังนี้
1. มีมติอนุมัติไม่เข้าทำรายการซื้อกิจการ บจก. เอส ที ไอ ที่ จาก บมจ. เอสทีพี แอนด์ ไอ
ที่มาและเหตุผล
จากการที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 มีมติเข้าซื้อกิจการ บจก.เอส ที ไอ ที่ เนื่องด้วย เล็งเห็นว่ากิจการ บจก. เอส ที ไอ ที จะช่วยสานประโยชน์และส่งเสริมการทำธุรกิจของบริษัทฯ โดยจะช่วยสร้างความมั่นคงในการจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อรองรับการดำเนินงาน และการบริหารเวลาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมถึงกิจการดังกล่าวให้ผลตอบแทนการลงทุน (Equity IRR) ที่ร้อยละ 16.53 ซึ่งเป็นผลตอบแทนการลงทุนที่อยู่ในระดับที่ดี

อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรงระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 และยังรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลังเดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบันยังคงระบาดอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประเทศโดย

รวมทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคม การเปิดประมูลงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐล่าช้าออกไป รวมทั้งงาน
ก่อสร้างของภาคเอกชนก็ชะลอออกไปเช่นเดียวกัน ซึ่งคาดว่ายังไม่ฟื้นตัวในระยะเวลาอันใกล้ อันจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการลงทุนในกิจการของ บจก. เอส ที ไอ ที

ดังนั้น เพื่อความมั่นใจ บริษัทฯ จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินบริษัท ซี.เจ. มอร์แกน จำกัด (ที่ปรึกษาทางการเงิน) ในการร่วมกันจัดทำประมาณทางการเงินใหม่ ภายใต้สมมติฐานที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญจากผลกระทบของโรคระบาด Covid-19 ผลปรากฏว่า เมื่อพิจารณาจากเงินลงทุน การเข้าทำรายการจะทำให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (EquityIRR) ลดลงเหลือร้อยละ 0.16 จากเดิมที่ประเมินไว้ร้อยละ 16.53 ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนในห้วงเวลานี้ รวมถึงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากที่ได้เสนอไว้ต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เจรจาสอบถามราคาซื้อขายกิจการ บจก.เอส ที ไอ ที กับ บมจ. เอสทีพี แอนด์ ไอ แล้ว และได้รับคำตอบยืนยันราคาเดิม ทั้งสองฝ่ายจึงไม่บรรลุข้อตกลงร่วมกัน
    ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทซึ่งพิจารณาด้วยหลักความระมัดระวัง รวมถึงเพื่อเป็ผลประโยชน์ของ บริษัทฯ และผู้ถือหุ้น เห็นว่าการลงทุนซื้อกิจการของ บจก. เอส ที่ ไอ ที ในราคาและเงื่อนไขเดิมไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เข้าทำรายการซื้อกิจการ บจก. เอส ทีไอ ที จาก บมจ. เอสทีพี แอนด์ไอ 

สำหรับผลกระทบจากการไม่เข้าทำรายการ โดย คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ประเมินผลกระทบจากการยกเลิกการลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) ผลกระทนทางด้านกฎหมาย (Legal Risk) เนื่องจาก บริษัทฯ ยังไม่ได้เข้าทำนิติสัมพันธ์ ธุรกรรมการซื้อขายแต่อย่างใด ความเสียหายต่อบริษัทฯ หรือต่อผู้ถือหุ้นจึงยังไม่เกิดขึ้นจริง
2) ผลกระทบทางด้านการเงิน (FinanciaL Risk)เนื่องจากเป็นการยกเลิกการลงทุนในบริษัทอื่น จึงทำให้บริษัทฯ กลับมามีกระแสเงินสดและสภาพคล่องสำหรับการดำเนินธุรกิจหลักที่ดียิ่งขึ้น บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายหุ้น ดังนั้น จึงไม่มีประเด็นในเรื่องค่าปรับ รวมถึงค่าเสียโอกาสและค่าเสียหายต่างๆ
3) ผลกระทบการดำเนินงาน (Operational Risk)บริษัทฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานศูนย์เครื่องจักรกล (Construction Equipment Center) ศูนย์บริหารพัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง (Construction Asset and Inventory Center) ที่มีอยู่เดิมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องมืออุปกรณ์ การซ่อมบำรุง ตลอดจนบุคลากรให้สามารถรองรับการดำเนินงานในปัจจุบันได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพใน

ทั้งนี้ มอบหมายให้กรรมการผู้จัดการ มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถเข้าทำรายการซื้อกิจการ บจก.เอส ที ไอ ที กับบมจ. เอสทีพี แอนด์ ไอ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ บมจ. เอสทีพี แอนด์ ไอ และผู้ประสงค์จะขายต่อไป
 ทั้งนี้นำเสนอรายงานฯ ให้ผู้ถือหุ้นในรอบการประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวถัดไป