SMD - ซื้อ (20 ส.ค.64)

SMD - ซื้อ (20 ส.ค.64)

เพิ่มคาดการณ์กำไรปี 64 หลัง COVID-19 แพร่ระบาดต่อเนื่อง

ประเด็นสำคัญในการลงทุน :

  • SMD ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์การแพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤตและการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ : ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมีการนำเข้าเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากผู้ผลิตมากกว่า 30 ราย จากหลากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ และจีน โดยสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ได้ 6 กลุ่มคือ 1) สินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต 2) สินค้าด้านการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ 3) สินค้าด้านหทัยวิทยา 4) เครื่องมือแพทย์ทั่วไป 5) สินค้าสมาร์ทฮอสพิทอล และ 6) ผลิตภัณฑ์อื่น โดยมีสัดส่วนรายได้ปี 63 ที่ 40.2% 35.2% 11.6% 8.4% 4.2% และ 0.4% ตามลำดับ ทั้งนี้บริษัทมีรายได้จากการขายและกำไรสุทธิปี 2561-2563 อยู่ที่ 494.3-645.6 ลบ. และ 30.5-77.8 ลบ. ตามลำดับ โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย CAGR เฉลี่ย 2 ปีที่ 14% และ 60% ตามลำดับ
  • ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2565 : สำนักงานสถิติแห่งชาติ คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ.2565 และในปี พ.ศ. 2573 จะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 26.9 ของประชากรทั้งประเทศที่ 67.2 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวนผู้สูงอายุราว 18 ล้านคน ซึ่งผู้สูงอายุมีแนวโน้มเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลสูงกว่าวัยหนุ่มสาว นอกจากนี้กระทรวงสาธารณะสุขเปิดเผยงบประมาณรายจ่ายปี 2564 อยู่ที่ 1.46 แสนลบ.เติบโต 11.2% จากปี 2560 เป็นปัจจัยหนุนเพิ่มเติมต่อการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์
  • รายงานกำไร 2Q64 ที่ 66 ลบ. เติบโต 725%QoQ และ 113%YoY : รายได้เติบโตสู่ 329 ลบ. +113%QoQ และ +86%YoY โดยได้แรงหนุนจากสินค้ากลุ่มเวชบำบัดวิกฤต และกลุ่มการช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการรักษาโรค COVID-19 ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้นจาก 6% ใน 1Q64 สู่ 42.1% ใน 2Q64 เนื่องจากสินค้ามีความต้องการสูงช่วยหนุนให้ราคาจำหน่ายปรับตัวขึ้น ด้านอัตราค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายปรับตัวลงจาก 30.3% ใน 1Q64 สู่ 16.6% ใน 2Q64 เนื่องจากมีความต้องการในสินค้าสูงทำให้ใช้งบการตลาดลดลง ส่งผลให้บริษัทมีกำไร 2Q64 ที่ 66 ลบ. เติบโต 725%QoQ และ 113%YoY และรายงานกำไร 1H64 ที่ 74 ลบ. คิดเป็น 83% ของประมาณการเดิม

  • ปรับเพิ่มประมาณการรายได้และกำไรปี 64 สู่ 991 ลบ. และ 132 ลบ. ตามลำดับ : ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อรายได้และผลประกอบการในครึ่งปีหลัง 64 เนื่องจากได้แรงหนุนจาก 1)กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้อาคารสูงกว่า 8 ชั้นต้องมีเครื่องกระตุกหัวในอัตโนมัติ หรือ AED 2)มีการนำเข้าชุดตรวจ COVID-19 แบบ Rapid test มาจำหน่ายซึ่งอยู่ระหว่างขออนุญาตจากภาครัฐ และ 3)รับรู้รายได้จกศูนย์ตรวจการนอนหลับที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เต็มปีจำนวน 4 เตียง ขณะที่คาดอัตรากำไรขั้นต้นจะอ่อนตัวลงจาก 42% สู่ระดับ 41% เนื่องจากธุรกิจใหม่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ด้านอัตราค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเทียบกับรายได้จะลดลงจาก 26% สู่ 24% จากมีการประหยัดจากขนาด ส่งผลให้เราปรับเพิ่มประมาณการรายได้และกำไรปี 64 จาก 747 ลบ. และ 89 ลบ. สู่ 991 ลบ. และ 132 ลบ. เติบโต 50% และ 71% ตามลำดับ
  • ปรับเพิ่มประมาณการรายได้และกำไรปี 65 สู่ 1,091 ลบ. และ 142 ลบ. ตามลำดับ : เรามีมุมมองบวกต่อเนื่องต่อความต้องการใช้สินค้าของบริษัท อาทิ สินค้าด้านเวชบำบัดวิกฤต และเครื่องช่วยหายใจและเวชศาสตร์การนอนหลับ ที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทย นอกจากนี้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 65 ส่งผลให้มีการใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทมีแผนขยายศูนย์ตรวจการนอนหลับเพิ่มเติมไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ เพิ่มเติม ส่งผลให้เราปรับเพิ่มประมาณการรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจาก 882 ลบ. และ 101 ลบ. สู่ 1,091 ลบ. และ 142 ลบ. เติบโต 10% และ 7% ตามลำดับ
  • คงคำแนะนำ ซื้อ พร้อมปรับใช้ราคาเหมาะสมปี 65 ที่ 50 บาท : ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าด้วยวิธี Prospective P/E Ratio โดยอ้างอิง P/E Ratio เฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีพร้อมปรับลดด้วย 1 S.D. (เนื่องจากในปัจจุบันเป็นการเติบโตที่สูงกว่าปกติจาก COVID-19) ของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน อาทิ SMD TM และ Consumer Product- mai ที่ 26.5 เท่า (ไม่ใช้ P/E Ratio ของ WINMED มาคำนวณ เนื่องจากเป็น outliner ซึ่งแสดงตามตารางด้านล่าง) ทั้งนี้ปรับใช้ราคาเหมาะสมเป็นปี 65 โดยคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) สำหรับปี 2565 ที่ 0.66 บาทต่อหุ้นได้ราคาเหมาะสมที่ 17.50 บาทต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 10 บาท ซึ่งราคาเหมาะสมที่ประเมินได้สูงกว่าราคาปิดล่าสุดจึง คงคำแนะนำ ซื้อ

ปัจจัยเสี่ยง

i)  ส่งมอบสินค้าล่าช้าเนื่องจากผู้ผลิตทยอยส่งมอบเพราะมีความต้องการสูงทั่วโลก

ii)  เงินบาทอ่อนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้า

iii)  สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยกลับสู่ภาวะปกติ