ศักยภาพผู้ประกอบการ ปรับโลจิสติกส์รับEEC( ตอนที่ 2 )

ศักยภาพผู้ประกอบการ  ปรับโลจิสติกส์รับEEC( ตอนที่ 2 )

การทำงานในด้านโลจิสติกส์จะต้องมีการบริหารต้นทุนค่าเสียโอกาส การขนส่งให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดี องค์กรไม่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายสูง

ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อศักยภาพ ด้านโลจิสติกส์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ระดับปานกลาง เป็นเพราะในการทำข้อตกลงต่างๆ กับลูกค้า อาจมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างกันในช่วงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้นองค์กรต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต และจะต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเพื่อให้การทำงานนั้น มีมาตรฐาน โดยประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็ นอย่างทาง อีกทั้ง ในการทำงานในด้านโลจิสติกส์จะต้องมีการบริหารต้นทุนค่าเสียโอกาส การขนส่งให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดี องค์กรไม่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งจะทำให้องค์กรมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขณะที่ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าใช้ในองค์กรเพื่อลดให้ข้อมูลสินค้าเป็นปัจจุบันและสามารถใช้ร่วมกันในองค์กรได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสินค้านอกระบบหรือป้องกันความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลรวมถึงจะต้องพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปด้วยกันเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น แต่ทั้งนี้ หากไม่มีการร่วมมือกันระหว่างองค์กร หรือภายในองค์กรก็จะไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ ดังข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ (2555) ได้จัดทำคู่มือการประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถประเมินศักยภาพทางด้านโลจิสติกส์ขององค์กรตนเองได้ โดยกำหนดดัชนีที่ใช้วัดศักยภาพทางด้านโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 5 มิติ คือ มิติที่ 1 ด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร มิติที่ 2 ด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงานการกำหนดแผนงานด้านโลจิสติกส์ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์ มิติที่ 4 ด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และมิติที่ 5 ด้านความร่วมมือกันระหว่างองค์กร

ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่มีลักษณะความเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นแตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อศักยภาพด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน เป็นเพราะองค์กรที่เจ้าของเป็นคนไทยเกิน 50% โดยส่วนที่เหลือเป็นคนต่างชาติ จะให้ความสำคัญต่อการวางแผนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำงานมากกว่า สอดคล้องกับข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2555) อธิบายถึงการประเมินการประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ ที่จะช่วยให้องค์ประสบความสำเร็จจะต้องมีการวางแผนซึ่งจะต้องสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดแผนงานไว้ รวมถึง การนำระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศมาช่วยจะยิ่งทำให้มีความน่าเชื่อถือในข้อมูลสินค้ามากที่สุด

ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่มีขนาดของกิจการให้ความสำคัญต่อศักยภาพด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร และด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลแตกต่างกัน เป็นเพราะผู้ประกอบการที่มีพนักงานในองค์กรมาก จะต้องปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่องค์กรได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนและคำนึงถึงประสิทธิภาพของงาน ขณะที่หากผู้ประกอบการมีพนักงานในองค์กรน้อยคน อาจจะไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2555) อธิบายถึงองค์กรที่เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนเพื่อกำหนดกลยุทธ์จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนรวมกันมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน และทำให้ลุกค้าพึงพอใจ และต้นทุนไม่สูง เพราะได้มีการบริหารต้นทุนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งลักษณะการให้บริการของสถานประกอบการเป็นผู้ให้บริการรับขนส่ง โดยเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยมากกว่า  50% ขนาดของกิจการมีการจ้างงาน 10-50 คน และผู้ประกอบการ ได้รับผลทางบวกต่อมิติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) อีกทั้งองค์กรมีการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวสู่โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปกับศึกษาศักยภาพในการปรับตัวของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ พบว่า ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่มีลักษณะความเป็น

เจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นแตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อศักยภาพด้านการวางแผน และความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน ส่วนผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่มีขนาดของกิจการ ให้ความสำคัญต่อศักยภาพด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร และด้านประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ดังนั้น โดยจากการสรุปสาระสำคัญในข้างต้น และข้อมูลต่างๆ ที่ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ก็จะช่วยให้วางกรอบแนวทางกลยุทธ์ขั้นต้น ในการที่จะช่วยต่อยอด เพื่อให้ผู้ดำเนินงานธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก เกิดความยั่งยืนในลำดับต่อไป