Quantamental (2 ก.ค.64)

Quantamental (2 ก.ค.64)

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลงแรง หนุน Valuation ตลาดหุ้นอีกครั้ง

SET index เดือน มิ.ย. ปิดทรงตัว

เดือน มิ.ย. ดัชนี SET index ปรับลบเล็กน้อย -0.4% MoM เป็นไปตามที่คาดไว้ในบทวิเคราะห์ Quantamental เดือนก่อน ว่า Valuation ของดัชนี SET index ยังค่อนข้างตึงตัว ขณะที่ Momentum ยังเป็นบวกเพียงอ่อนๆ (Mildly positive momentum)

Value factor: แพงต่อไป หนุนโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวที่ลดลงแรง

Valuation ของตลาดหุ้นไทยปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพง หากพิจารณาเฉพาะมุมของ PE ratio ไม่ว่าจะเป็น Trailing PE ที่สูงราว 29.8 เท่า และ Forward PE ที่ระดับ 19 เท่า อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในอีกมิตินึง คือนำเอาอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลมาคำนวณด้วยจะพบว่า PE ratio ที่สูงในขณะนี้นั้น ถูกหนุนโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับลดลงแรง โดยล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี อยู่ที่ 0.85% (ลดลงจาก 1.07% ณ สิ้นเดือน พ.ค.) และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ 1.78% (ลดลงจาก 1.85% ณ สิ้นเดือน พ.ค.)

i) Implied equity risk premium (iERP): iERP ณ สิ้นเดือน มิ.ย. คำนวณได้เท่ากับ 3.37% โดย Consensus ยังคงประมาณการเงินปันผลต่อหุ้นของดัชนี SET index (DPS) สำหรับปี 2563 ไว้ตามเดิมที่ 1.8 บาท/หุ้น แต่ได้ทำการปรับเพิ่มประมาณการ DPS ปี 2564 - 65 ขึ้น +0.4% MoM และ +0.5% MoM เป็น 45.8 บาท/หุ้น และ 51.5 บาท/หุ้น ตามลำดับ ทั้งนี้ iERP ที่คำนวณได้อยู่ในระดับที่สูงกว่า -1.0 เท่า ของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 3.06% เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามผลจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับลดลง ทำให้อัตราส่วน iERP/risk free ปรับขึ้นเป็น 1.9 เท่า (จากเดิม 1.8 เท่า ในเดือนก่อน) โดยอัตราส่วน iERP/risk free ที่สูงขึ้นสะท้อนถึงความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นที่มากขึ้น ในเชิงเปรียบเทียบ

ii) Modified yield gap (M-yield gap): M-yield gap ที่เราคำนวณได้ล่าสุดเท่ากับ +1.5 จุด สะท้อนถึงความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นที่เพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบกับตลาดพันธบัตร ซึ่ง M-yield gap ที่เป็นบวก สะท้อนว่า ตลาดยังเป็นแนวโน้มขาขึ้นต่อ

อย่างไรก็ดีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ตัวเลขดังกล่าวเกิดการพลิกผันได้ก็คือ "การปรับลดประมาณการฯ โดยนักวิเคราะห์" โดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.ค. - ส.ค. ที่โดยปกติแล้วจะเป็นช่วงการออกบทวิเคราะห์เพื่อ Preview ผลการดำเนินงาน 2Q64 ซึ่งมีความเสี่ยงที่นักวิเคราะห์จะทำการปรับลดประมาณการฯในช่วง
ของการ Preview งบฯ เพื่อสะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยระลอกล่าสุดโดยเฉพาะหุ้นที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic play) แต่เราประเมินว่า EPS ของ SET index ในภาพรวมจะถูกปรับลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากหุ้นที่ผลการดำเนินงานเชื่อมโยงกับ
ต่างประเทศ คาดว่าจะยังมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): CAPE ณ สิ้นเดือน มิ.ย. คำนวณได้เท่ากับ 20 เท่า โดยคิดเป็นระดับ +1 เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในอดีต ขณะที่ Excess CAPE Yield (ECY) หรือการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากตลาดหุ้นจาก CAPE (ส่วนกลับของอัตราส่วน CAPE: 1/CAPE) ลบด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี พบว่า ECY ล่าสุดอยู่ที่ 3.14% แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากเทียบกับในอดีต แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าจุดต่ำสุดในอดีตที่ราว 2.0%

Momentum factor: ยังบวกอ่อนๆ เหมือนเดือนก่อนๆ

Momentum ของตลาดหุ้นไทยยังเป็นบวกเล็กน้อย โดยมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือนที่ +0.1% ต่อเดือน แต่อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรับบาลย้อนหลัง 12 เดือน ยังติดลบเฉลี่ย -0.21% ต่อเดือน ดังนั้นหากพิจารณาด้วย Cross asset class momentum (CAC) เราอาจสรุปได้ว่า Momentum การลงทุนในตลาดหุ้น เป็นบวกเพียงระดับอ่อนๆ (Mildly positive momentum)

"Selective buy" ยังต้องใช้กลยุทธ์นี้ต่อไป

เราประเมินแนวรับของดัชนี SET index ไว้ที่ 1,570 จุด และ 1,560 จุด ตามลำดับ / และประเมินแนวต้านไว้ที่ 1,620 จุด และ 1,640 จุด ตามลำดับ

หุ้นเด่น 20 ตัว ประจำเดือน มิ.ย. ให้ผลตอบแทน +3.4% (คำนวณโดย Equal weight) และ +0.7% (คำนวณโดย Market cap weight) สำหรับเดือน ก.ค. แนะนำปรับหุ้นใหม่เข้าพอร์ต 3 ตัวได้แก่ NEX,PSTC, TCAP* / และแนะนำปรับหุ้นออกจากพอร์ต 3 ตัว คือ SF, SINGER, BEC*