ส่องพฤติกรรมผู้บริโภคยุคโควิด มีโลก 2 ใบ ใช้ ‘สติ’ มากกว่า ‘สตางค์’ซื้อสินค้า

ส่องพฤติกรรมผู้บริโภคยุคโควิด  มีโลก 2 ใบ ใช้ ‘สติ’ มากกว่า ‘สตางค์’ซื้อสินค้า

ตราบที่เข็มนาฬิกายังเดินไปข้างหน้าและไม่เคยถอยหลัง โลกก็ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด แต่นับวันความเปลี่ยนแปลงเร็วและแรงขึ้น มีสิ่งเร้าใหม่ๆที่สร้าง “ปฏิกิริยาเร่ง” กว่าเดิม

ปี 2563 “โรคโควิด-19” เป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดหรือ Perfect Storm ของคนทั้งโลก เพราะเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่อยู่ในภาวะถดถอยว่าแย่แล้ว โรคระบาดทำให้เหตุการณ์เลวร้ายทวีคูณ สร้างความเสียหายเป็นประวัติการณ์ นาทีนี้ไวรัสร้ายยังอยู่เกิดขึ้นแม้จะยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดที่จะกำราบโรคได้ แต่ในด้านธุรกิจ การตลาด แบรนด์จะต้องเกาะติดพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้รู้ทันและหาทางวางกลยุทธ์กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยให้ได้

สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโร (ไทยแลนด์) จำกัด ในเครือบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) หยิบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในยุคโควิด-19 ซึ่งหลังจากนี้จะเห็นไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดย 6 เทรนด์ที่ต้องรู้มีดังนี้

1.ผู้บริโภคมีโลกสองใบ ไม่ใช่มุมมองความรัก แต่เป็นพฤติกรรมของผู้คนที่โหยหา ประสบการณ์” ที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นออฟไลน์ หรือออนไลน์ โดยออฟไลน์แบรนด์อาจสร้างประสบการณ์รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสได้ แต่ออนไลน์ ยังมีข้อจำกัด ดังนั้นเทคโนโลยีต่างๆ มีทรงอิทธิพลต่อการทำตลาดมากขึ้น และเครื่องมือที่น่าสนใจจะสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้ มีทั้งเกมส์ หากมองฐานผู้บริโภคดังกล่าวมีราว 250 ล้านคนทั่วโลก แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มนี้อาจไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนออฟไลน์ แต่เหนียวแน่นผ่านโลกของเกมส์แบบไม่ต้องเจอตัว มีการเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงหรือ Virtual Game

 นอกจากนี้ กรณีศึกษาการทำจัดเวอร์ชวล คอนเสิร์ต ของ Travis Scott ทำสถิติผู้ชมวันเดียวถึง 12.3 ล้านคน โดย 5 โชว์ กวาดผู้ชมทั่วโลกไปมากกว่า 27.7 ล้านคน สะท้อนว่าแบรนด์เปลี่ยนกลยุทธ์สร้างประสบการณ์ ดึงลูกค้ามีส่วนร่วมได้ และภาพการทำตลาดโลกสองใบจะชัดยิ่งขึ้น

2. ใช้เวลาในบ้านมากกว่านอกบ้าน ตราบที่โรคระบาดยังอยู่ วิถีปกติใหม่หรือ New Normal อย่างการอยู่บ้าน ใช้เวลาอยู่บ้านมากกว่านอกบ้านอย่างต่อเนื่อง และหากิจกรรมทำ ดังนั้นสินค้าที่ทำเองหรือ DIY จะตอบสนองผู้บริโภคแต่แบรนด์ต้องหาช่องว่างและสินค้าที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้ 3.กระจายไม่กระจุก ก่อนโควิดระบาดกระแสการอยู่ในเมืองมาแรงเป็นเมกะเทรนด์ แต่ไวรัสกระทบธุรกิจเสียหายทำให้คนตกงานจำนวนมาก และประเทศไทยพบว่า 30% คนต้องการกลับบ้านเกิด ไปอยู่ต่างจังหวัด แบรนด์จะทำตลาดควรหันไปโฆษณา สื่อสารเจาะจุดพื้นที่ต่างๆ แทนทุ่มทุนหว่านงบตลาดแต่ไม่เตะตากลุ่มเป้าหมาย

4.ใช้สติมากกว่าสตางค์ ไวรัสมฤตยูทำให้เศษฐกิจ ธุรกิจเสียหาย ประชาชนว่างงาน รายได้ลดง เมื่ออำนาจซื้อหดหาย ทำให้การใช้จ่ายต้องมี สติ” มากกว่า สตางค์” มีสติเพื่อทางช่องทางเพิ่มความรู้ความสามารถหรืออัพสกิล รีสกิล โดย 52% เรียนรู้อาชีพเสริม เรื่องสตางค์ 56% ต้องการซื้อสินค้าตรงจากผู้ผลิตมากขึ้น 44% คำนถึงถึงยี่ห้อที่ซื้อ ถึงแม้ Shopee/Lazada จะเป็นช่องทางหลักที่คนซื้อถึง 80% เป็นต้น 5.ชอบย้อมใจ ปี 2564 คำค้นหายอดฮิตบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะ google keyword trend 2020 คนไทยพิมพ์ค้น โรคซึมเศร้า เพิ่ม 39% ข้อมูลจาก gallup แสดงสถิติด้านทรัพยากรบุคคลพบเฉลี่ย 67% ของคนทำงานประสบภาวะหมดไฟ เหนื่อยล้าหรือ Burnout เป็นต้น จึงทำให้ต้องหาทางย้อมใจตนเอง

ทั้งนี้ สินค้าที่เยียวยาผู้บริโภคได้ และเป็นโอกาสหนีไม่พ้น สินค้าที่มีส่วนผสมกัญชา-กัญชง” ซึ่งแบรนด์สามารถนำไปเป็นส่วนผสมอาหาร เครื่องดื่ม มาร์คหน้า เครื่องพ่นไอน้ำ เป็นต้น หากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)เคาะปริมาณให้ใช้ในสินค้า แบรนด์ไม่ควรตกเทรนด์

6.ชอบพรีเซ็นต์ตัวเองมากกว่าพรีเซ็นเตอร์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริโภคยุคปัจจุบันฉลาดมากขึ้น หรือ Smart Consumer รู้เท่าทันแบรนด์ การซื้อสินค้าเลือกที่จะเชื่อตัวเองและเชื่อรีวิวมากกว่าแบรนด์หรือพรีเซ็นเตอร์ที่ออกมาสื่อสาร ทั้งนี้ ข้อมูลเอ็นไวโร ไทยแลนด์ พบว่ามีผู้บริโภคเพียง 12% เท่านั้นที่ยังเชื่อในพรีเซ็นเตอร์ โดย 62% เชื่อรีวิว ขณะที่ผู้บริโภค 26% เชื่อตัวเองมากกว่า

ยุคดิจิทัล โลกพลิกกลับ เพราะผู้บริโภคเชื่อตัวเองมากขึ้น หันมาผลิตคอนเทนท์ เป็นผู้ ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์หรืออินฟลูเอ็นเซอร์ เพื่อโปรโมทแบรนด์ รีวิวสินค้า ขณะที่แพลตฟอร์มออนไลน์มีการพัฒนฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น อินสตาแกรมเปิดฟีเจอร์ Reels สร้างวิดีโอและมีคนดูจำนวนมาก จึงเห็นแบรนด์เลือกใช้อินฟลูเอ็นเซอร์ ผู้บริโภคที่ใช้สินค้าจริงมาเป็นกระบอกเสียง สร้างคอนเทนท์ผลักดันยอดขาย