จากแหล่งรวมวัสดุตกแต่ง สู่ 'เวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น'

จากแหล่งรวมวัสดุตกแต่ง สู่ 'เวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น'

การระบาดของโควิดส่งผลกระทบเชิงลบต่อหลายธุรกิจจนถึงขั้นเลิกกิจการ แต่สำหรับ Wazzadu.com ธุรกิจยังเติบโตและแตกไลน์ธุรกิจสู่ “เวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น” หลังจากการจัดงานแสดงสินค้า ได้รับผลกระทบจากโควิด

จุลเกียรติ สินชัยชูเกียรติ ผู้ก่อตั้ง Wazzadu.com และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บารามีซี่ จำกัด กล่าวว่า Wazzadu.com เป็นบิซิเนสยูนิตหนึ่งอยู่ในบารามีซี่ กรุ๊ป มีธุรกิจที่หลากหลาย เกิดจากพบปัญหา (pain point) ในการค้นหาวัสดุ เพราะไม่มีเทคโนโลยีมารองรับ จึงเกิดแนวคิดการพัฒนา Wazzadu.com เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมผู้ซื้อและผู้ขายวัสดุและการตกแต่งครบวงจร สำหรับคนที่อยู่ในวงการวัสดุ ตกแต่งบ้าน ตั้งแต่ ผู้ขาย ผู้รับเหมา ช่าง สถาปนิก ไปจนผู้ซื้อ เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่สนใจงานตกแต่งบ้าน ให้ได้มาพูดคุย ซื้อขาย ปรึกษา บอกเล่าเรื่องราวของการตกแต่งบ้าน ในรูปแบบของ Decoration Social Platform ที่ต่อยอดมาจาก Wazzadu App

"ที่ผ่านมาของ Wazzadu.com เป็นแพลตฟอร์มมีเดียและช่องทางการขายแบบทูอินวัน ฉะนั้นรายได้หลักจะมาจากค่าโฆษณา โดยซัพพลายเออร์ด้านวัสดุที่ต้องการเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ จะทำคอนเทนต์รีวิวให้ โดยใช้ดาต้าวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้านให้ลูกค้า ต้องเสียค่าสมาชิก ในรูปแบบของโมเดลซับสไครบ์รายปี ซึ่งมีหลายแพ็กเกจ ราคาขั้นต่ำเดือนละ หมื่นบาท"

จนกระทั้งล่าสุดหลังจากเกิดโควิด-19 ทั้งในฝั่งของผู้ซื้อ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า กลุ่มสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา รวมถึงเจ้าของโครงการที่ต้องการอัพเดตนวัตกรรมด้านวัสดุ สินค้า และงานทางด้านสถาปัตยกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่มีเวทีพบปะกันได้ตามปกติ จากข้อจำกัดหลายเรื่อง จึงเกิดไอเดียเปิดประสบการณ์ใหม่แบบไร้ขีดจำกัดให้วงการสถาปัตยกรรม ด้วยการจัดงาน “WAZZADU World Virtual Exhibition” บนโลกออนไลน์ครั้งแรกของไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Nature Retreat”ที่จะช่วยเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นด้วยการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องฝ่ารถติดเหนื่อยกับการเดินทาง รวมถึงช่วยเพิ่มช่องทางและโอกาสทางธุรกิจ พร้อมรองรับผู้เข้าชมงานได้ไร้ขีดจำกัด และสามารถเข้าชมงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงระหว่างวันที่ 15-21 ต.ค.นี้ ในรูปแบบของเวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น บนแพลตฟอร์มออนไลน์มีการจัดงานแสดงสินค้า เจราจาธุรกิจ สัมมนา ซึ่งเน้นบีทูบี เพื่อให้เข้ามาทำความรู้จัก สร้างแรงบันดาลใจ และไปเจราจากันอีกครั้ง

จุลเกียรติ กล่าวว่า ข้อดีของเวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น คือ เจรจาธุรกิจกันได้สะดวกมากขึ้นบนโลกออนไลน์ นอกจากนี้ทางเจ้าของแบรนด์และผู้จัดจำหน่ายยังมีพื้นที่ในการนำเสนอนวัตกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งจะช่วยให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งมีโอกาสในการขยายธุรกิจและช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ด้วยการนำเทคโนโลยีทางดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

"จะเห็นได้ว่าดิจิทัลกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น และโลกใบนี้ก็จะดีขึ้นจากการที่เราไม่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อมในการจัดงานเอ็กซิบิชั่นเพียงไม่กี่วัน ข้อดีของเวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่นไม่มีขยะหลังงาน ไม่ต้องเสียเวลารถติดเพื่อไปงาน ช่วยลดต้นทุนลงและสเกลได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นคอนเซปต์สตาร์ทอัพ ปกติถ้าเปิดบูธในงานเอ็กซิบิชั่น ขนาด 72 ตร.ม. ค่าเช่า ค่าตกแต่งเฉลี่ยประมาณ ล้านบาทต่องาน ระยะเวลา วันได้ลูกค้า100 รายแต่ถ้าเป็นเวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น ไม่ถึง5แสนบาทได้ลูกค้า100 รายเท่ากันแต่ต้นทุนต่างกัน10เท่าดังนั้นถ้างานนี้สามารถทำให้เกิดการเชื่อมต่อธุรกิจได้จริงจะเป็นการดิสรัปงานเอ็กซิบิชั่นในรูปแบบเดิม"

โดยเวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น ดังกล่าวจะเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงานโดยจำลองบรรยากาศหมู่เกาะเพื่อเชื่อมโยงความเป็นโลกดิจิทัลกับอารมณ์สุนทรียภาพของธรรมชาติ สะท้อนถึงการสร้างสรรค์ ซึ่งเจ้าของแบรนด์และผู้จัดจำหน่ายสามารถสร้างสรรค์ไอเดียแสดงผลงานได้อย่างเต็มที่เพราะไร้ข้อจำกัดด้านพื้นที่ สามารถสร้างประสบการณ์ได้อย่างเสมือนจริง ผ่านเทคโนโลยีแห่งโลกดิจิทัลที่ทันสมัย

สำหรับ Wazzadu.com เป็น เทคคอมปะนี ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี 4 กลุ่มเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ในลักษณะ Hybrid Platform ได้แก่ 1. AR Augmented reality เป็นแอพพลิเคชั่น 3 มิติที่สามารถเปลี่ยนวัสดุทดสอบได้ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา 2. AI (ระบบปัญญาประดิษฐ์) -Visual จะเปลี่ยนแปลงวงการแต่งบ้านแต่งออฟฟิศ สามารถเลือกวัสดุดีไซน์ ด้วยการดาว์นโหลดแอพฯแล้วถ่ายภาพสามารถเลือกวัสดุให้ได้ 3. AI -Text analysis เป็นเอไอที่สามารถเรียนรู้ความต้องการของผู้ใช้งานจากคีย์เวิร์ดเพื่อช่วยเลือกวัสดุให้ และ 4.Virtual Exhibition&Store Experience เกิดมาจากโควิด เน้นการพัฒนาเทคโนโลยี

นอกจากนี้ รายได้ใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคตคือ “เวอร์ชวล เอ็กซิบิชั่น” หลังจากเกิดจากโควิด และต่อไปจะเป็นแอพพลิเคชั่นเออาร์ เพื่อจับกลุ่มบีทูบีและบีทูซี ที่เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของโครงการมานำไปใช้เป็นเครื่องมือให้ช่างกับสถาปนิกเข้าใจความต้องการซื้อที่ตรงกันหลังจากการได้เห็นภาพ 3 มิติในการตกแต่งบ้าน ได้เห็นวัสดุ

"ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจราจากับดีเวลลอปเปอร์ในการใช้แอพ เข้าไปแทนเซลล์แกลอรี่ที่กำลังลดจำนวนลงในอนาคต เพื่อลดต้นทุน และรองรับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปหลังโควิด"

สุดท้ายจะเป็นโมเดลเอไอที่จะเข้ามาทำให้บริษัทสามารถเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วยการพัฒนาภาพให้เป็นช่องทางในการขายด้วยการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ค้นหาด้วยภาพ (AI Photo search) เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในการหาวัสดุตกแต่งและตอบโจทย์ชัพพลายเออร์ที่ต้องการขายสินค้า ผ่านการค้นหาเหมือนกับ Google Search ซึ่งจะได้รับรายได้จากค่าโฆษณา ซึ่งจากข้อมูลพบว่า Search Marketing จะมีอัตรการเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 10% โดยสามารถนำเทคโนโลยีในการค้นหาสินค้าหรือบริการเข้าไปใช้ในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อสร้างรายได้ได้กลับเข้ามาได้

จุลเกียรติ ระบุว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กร คือการมีทีมงานที่ดี มีวัฒนธรรมองค์กรและเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกัน ต้องหาโมเดลธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำเข้ามาเหมือนกับเอสเอ็มอีเพื่อมาลงทุนทำโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่ได้รอเงินจากการระดมทุนเท่านั้น แต่จะเป็นโมเดลไฮบริด ที่ผสมผสานการระดมทุนกับการทำงานแบบเอสเอ็มอี ที่ต้องสามารถอยู่รอดได้ตนเอง คาดว่าภายใน 5-8 ปีจากนี้จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์