SCB - ถือ

SCB - ถือ

มีแนวโน้มผันผวนมากที่สุดในกลุ่ม

Event

อัพเดตแนวโน้ม

lmpact

ส่วนรองรับหนี้เสียตํ่ากว่าธนาคารใหญ่อื่น ๆ

SCB ใช้ความพยายามอย่างมากในการบริหารจัดการหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวใน2H62 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ธนาคารได้ขายหุ้น SCBLife ออกไปเพื่อนำเงินมาตั้งสำรองก้อนใหญ่ คล้าย ๆ กับเมื่อตอนที่ SCB ขายหุ้น SCC ออกไปเพื่อนำมาตั้งสำรองสำหรับกรณี SSI เมื่อปี 2558 ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะตั้งสำรองหนี้เสียก้อนใหญ่แล้วแต่ส่วนสำรองหนี้เสียส่วนส่วนเกินซึ่งจะเป็นกันชนรองรับ NPL ในอนาคตของ SCB ก็ยังคงต่ำอยู่ที่ 4.4 หมื่นล้านบาท คิดเป็นแค่ 52% ของ NPL เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าของ BBL ที่มีสำรองส่วนเกินคิดเป็น 144% ของ NPL, ของ KBANK คิดเป็น 105% ของ NPL และของ KTB คิดเป็น 63% ของ NPL

ผลประกอบการมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลงใน 1H63

ตัวเลข NPL ของ SCB เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองไตรมาสที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสินเชื่อธุรกิจซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 3.5% (จากเฉลี่ยแค่ 2% ในปี 2560-61) ในขณะที่สัดส่วน NPL ของ SME สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อบ้านก็เริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งด้วย ทั้งนี้จากปัจจัยเสี่ยงใหม่จากการระบาดของ coronavirus จากประเทศจีนจะส่งผลกระทบกับการบริโภคในประเทศ และรายได้ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะฉุดอัตราการขยายตัวของ GDP ใน 1H63 ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อคุณภาพสินทรัพย์ของ SCB มากกว่าธนาคารอื่น ๆ เพราะสำรองส่วนเกินที่ต่ำจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ (credit cost)
สูงขึ้นเมื่อมี NPL ใหม่เกิดขึ้น

การเพิ่มอัตราการจ่ายปันผลจะเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญ

SCB การจ่ายเงินปันผลคงที่ 5.50 บาท/หุ้นมาตลอดห้าปีที่ผ่านมา (อัตราการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นเป็น 46% ในปี 2561 จาก 43% ในปี 2560) ทั้งนี้ การที่ธนาคารขาย SCBLife เท่ากับเป็นการปลดปล่อยเงินทุนออกมาและทำให้สัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 เพิ่มขึ้น 1% เป็น 17% (สูงกว่าของ KTB ที่ 14.8%
และของ KBANK ที่ 16.2% แต่เท่ากับของ BBL ที่ 17%) เราคิดว่า SCB มีศักยภาพที่จะจ่ายปันผลเพิ่มขึ้นในระดับที่เกินกว่าปกติในปี 2562-2563 ได้ ทั้งนี้ SCB ประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 1H62 ที่ 1.5 บาท/หุ้นและยังจ่ายปันผลพิเศษอีก 0.75 บาท โดยยังไม่ได้ประกาศจ่ายปันผลงวด 2H62

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง 9%/17% ปรับลดราคาเป้าหมายปี 63F เป็น 111 บาท

เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลงเพื่อสะท้อนถึง 1.) การปรับลดสมมติฐาน NIM ลง 10bps/13bps จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2.) การปรับลดอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมเป็น +3%/+3% 3.) การปรับเพิ่ม credit cost ปี 2563/64 ขึ้นอีกปีละ 5bps ทั้งนี้ ในการประเมินมูลค่าหุ้น เราได้รวม discount จากการที่ธนาคารมีส่วนรองรับหนี้เสียต่ำกว่าธนาคารใหญ่อื่นแล้ว โดยใช้ P/E ที่ 10.0x และ P/BV ที่ 0.9x (จากก่อนหน้านี้ที่ P/BV 1.0x) ดังนั้น เราจึงได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 111 บาท (จากเดิมที่ 128 บาท) แต่ยังคงคำแนะนำ ถือ

Risks

GDP โตต่ำกว่า 2.4% ในปี 2562/63 ทำให้เกิดแรงกดดันให้ NPL ขยับสูงขึ้น