อีไอซีมอง 'จีดีพี' ปีนี้ โต4%

อีไอซีมอง 'จีดีพี' ปีนี้ โต4%

“อีไอซี” จีดีพีปี61โต4% ยังไม่ร้อนแรงมากจากฐานสูงปีก่อน ลุ้นลงทุนรัฐหนุนเอกชนลงทุนตามมาครึ่งหลังของปีโตสดใส ขณะที่กังวลหากบาทแข็งนาน กดรายได้เกษตรและส่งออกสะดุด

นาย​พชรพจน์​ นันทรา​มาศ​ ผู้อำนวยการ​เศรษฐกิจ​มหภาค​ ศูนย์​วิเคราะห์​เศรษฐกิจ​และ​ธุรกิจ​ ธนาคาร​ไทยพาณิชย์​ (EIC​ SCB)​เปิดเผย​ว่า​ ศูนย์​วิเคราะห์​ฯประมาณ​การ​เศรษฐกิจ​ไทย​ปีนี้​เติบโต​ที่​ระดับ​ 4%ใกล้เคียง​กับ​ปีก่อนที่4% ​แต่​ปัจจัย​ที่​แตกต่าง​กัน​มาจาก​ความเสี่ยง​ภายนอก​ประเทศ​ที่​ลดลง​มาก​เมื่อเทียบ​กับ​ปี​ก่อน​ เศรษฐกิจ​กลุ่ม​ประเทศ​หลัก​เติบโต​ได้ดี​ขึ้น​ จึง​น่าจะ​ส่งผล​ดี​ต่อ​การส่งออก​และ​ท่องเที่ยว​ของไทย​ต่อเนื่อง​ทางด้าน​คาดการณ์​ส่งออก​ปีนี้​เติบโต​ได้​ 5% และ​มี​ความเป็นไปได้​ที่จะ​สูงกว่า​นี้​ จาก​ปีก่อน​ที่​คาดการณ์​เติบโต​ 10% เช่นเดียวกับจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตได้7.9%จากฐานสูงปีก่อน 8.7%

โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังปีนี้จะเติบโตได้ดีกว่าครึ่งปีแรกขณะที่ไตรมาสแรกจีดีพีเติบโต3.9% และจีดีพีปีนี้ มีโอกาสเติบโตถึง5% หากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐและเอกชนถูกผลักดันออกมาได้ทั้งหมด ทั้งจากการลงทุน​ที่จะ​เห็น​ได้ชัดเจน​ขึ้น​ในปีนี้​ ทั้งใน​ส่วน​ของ​การลงทุน​ของภาครัฐ​ใน​โครงการ​สาธารณูปโภค​ขนาดใหญ่​ต่างๆ​และ​โครงการ​ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ECC​) ซึ่ง​คาดการณ์​เม็ดเงิน​ลงทุน​ภาครัฐ​ปีนี้​ที่​ 160,000 ล้านบาท​ จากปีก่อน​ที่​ 80,000 ล้านบาท​

ขณะที่​ภาคเอกชน​ก็​จะ​ต้อง​มีการลงทุน​เพิ่มเติม​เช่นกัน​ จาก​อัตรา​การใช้​กำลัง​การผลิต​ที่​สูงสุด​ใน​รอบ​ 3 ปี​ และ​การลงทุน​ด้าน​เทคโนโลยี​เพิ่มขึ้น​ตาม​แนวโน้ม​ที่​ต้องปรับตัว​เข้าสู่​ยุค​ดิจิทัล​ โดย​เฉพาะ​ในกลุ่ม​ธุรกิจ​ค้าปลีก​ และ​สถาบัน​การเงิน​โดย​คาดการณ์​ว่า​จะมี​เม็ดเงิน​ลงทุน​ด้าน​เทคโนโลยี​สูงถึง​ 500,000​ ล้าน​บาท​ต่อปี จากเดิม400,000ล้านบาท เพื่อ​รองรับ​กับ​พฤติกรรม​ของ​ผู้บริโภค​ที่​เปลี่ยนไป​ โดย​คาดการณ์​การลงทุน​โดยรวม​เติบโต​ได้​ 4.5% เป็น​การลงทุน​ภาครั​ฐ​เติบโต​ 8.7% การลงทุนภาค​เอกชน เติบโต ​ 3% จากภาพรวม​การลงทุน​ปี​ 2560​ ที่​คาด​ว่า​เติบโต​ที่​ 1.6%

"เศรษฐกิจโลกดีแต่ไม่ร้อนแรงเกินไป จากปัจจัย​ต่างประเทศ​นั้น​เห็น​ได้​ชัดเจน​ว่า​มีความเสี่ยง​ที่​ต่ำ​ลงมาก​เศรษฐกิจ​ของ​ประเทศ​ขนาดใหญ่​ดีขึ้น ​ แต่​ไม่ร้อนแรงเกินไป​ไม่มี​สัญญาณ​ฟองสบู่​ ทั้ง​ใน​ตลาด​หุ้น​และ​อสังหาริมทรัพย์​ รวมถึง​เงินเฟ้อ​ที่​ต่ำ​ทำให้​โอกาส​ที่​ธนาคาร​กลาง​ของ​ประเทศ​เหล่านั้น​จะต้อง​ใช้​นโยบาย​ที่​เข้มงวด​อย่าง​รวดเร็ว​มี​น้อย​"

นายพชรพจน์ ​กล่าว​อีกว่า​ ทางด้านความเสี่ยงที่​น่า​ห่วง​นั้น​ กลับ​มา​ดู​ที่​ปัจจัย​ในประเทศ​จะเห็​น​ได้​ว่า​ ตลาด​แรงงาน​ของไทย​ค่อนข้าง​นิ่ง​ทั้งด้าน​การจ้างงาน​และ​ค่าจ้าง​ที่​แรงงาน​ ซึ่ง​แตกต่าง​จาก​กลุ่ม​ประเทศ​ขนาดใหญ่​ที่​สัดส่วน​ดังกล่าว​สูงขึ้​น​ต่อเนื่อง​ รวมถึง​ราคา​สินค้า​เกษตร​ที่​แนวโน้ม​ยัง​ไม่​ดี​นัก​ ซึ่ง​ทั้ง2ปัจจัย​จะกระทบ​ต่อ​กำลังซื้อ​ในประเทศ​ ทำให้​ภาพ​รวม​ของ​เศรษฐกิจ​จะ​ยัง​คง​มีกำลัง​ซื้อ​ที่​แข็ง​แรง​เพียง​กลุ่ม​โดย​ในกลุ่ม​รายได้​สูง​ยังคง​มี​กำลัง​ซื้อ​สูง​

ขณะที่​ปัจจัย​ด้าน​การเลือกตั้ง​นั้น​มองว่า​จะ​มี​ผลกระทบ​ต่อ​การลงทุน​ไม่มากนัก​ เนื่องจาก​ภาครัฐ​มี​นโยบาย​ให้​การลงทุน​ใน​โครงการ​ต่างๆ​สามารถ​ดำเนิน​ต่อไป​ได้​ด้วย​ตัวเอง​อยู่​แล้ว​ หาก​เกิด​ความล่าช้า​จึง​ไม่น่า​จะ​กระทบ​มากนัก​

ส่วน​ค่า​เงิน​บาท​ในปีนี้​ ศูนย์​วิเคราะห์​ฯ ประเมิน​ไว้​ที่​ระดับ​ 32. 00-33.00 บาทต่อ​ดอลลาร์​ โดย​ช่วงนี้​ยัง​มี​แนวโน้ม​ที่​แข็งค่า​อยู่​แต่​ไม่น่า​จะ​มีผลกระทบ​ต่อ​ภาค​การ​ส่งออก​มากนัก​ เนื่องจาก​ค่าเงิน​บาท​ทรงตัว​ใน​ระดับ​นี้​มา​ระยะ​หนึ่ง​แล้ว​ถือว่า​ผู้ส่งออก​มี​การ​ปรับตัว​ไปแล้ว​ระดับ​หนึ่ง​ อย่างไรก็ตามบาทแข็งค่าขึ้น มาจากการส่งออกและท่องเที่ยวขยายตัวดี รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลอยู่มาก มองว่าแบงก์ชาติอาจผลักดันให้คนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น

แต่​สิ่ง​ที่น่า​กังวล หากบาทแข็งยาวนาน ทำให้กลุ่มเกษตรยังน่าเป็นห่วง กดรายได้เกษตร จากปัจจัยราคาสินค้าเกษตร และส่งออกสะดุด เนื่องจากประเทศ​ที่​มี​สินค้าเกษตร​ส่งออก​ใกล้เคียง​กัน​ไม่ได้​มี​ค่าเงิน​แข็ง​ค่า​เท่าเงิน​บาทเมื่อเทียบดอลลาร์ ​ อาทิ​ ประเทศ​เวียดนาม​แข็งค่า​ขึ้น​เกือบ​ 10% และจีน​แข็งค่า​ขึ้น​ 5% ซึ่ง​อาจ​ทำให้​เสียเปรียบ​ในการแข่งขัน​ในระยะยาว​

ขณะที่​ดอกเบี้ย​นโยบาย​ของ​ไทย​นั้น​ คาดการณ์​ทรง​ตัว​ในระดับ​เดิม​ในปีนี้ที่1.5% ถือว่า​ไม่ได้​รับ​ผลกระทบ​จาก​การ​ปรับขึ้น​อัตราดอกเบี้ย​ของ​เฟด​ แต่​ส่วนที่​จะ​กระทบ​เป็น​การ​ไหล​ออก​ของ​เงิน​ลงทุน​ใน​ตลาดหุ้น​หาก​ธนาคาร​กลาง​ของ​กลุ่ม​ประเทศ​หลักๆมี​นโยบาย​ลด​ QE​ ลง​เร็ว​กว่า​เดิม​หลัง​เศรษฐกิจ​ดี​ต่อเนื่อง​

“ทางด้านความเสี่ยง ยังการบริโภคมีข้อจำกัด เพราะกำลังซื้อไม่เพิ่มและมีแนวโน้มลดลงบ้างกลุ่ม ตลาดแรงงานไทยยังไม่คึกคักแม้ส่งออกฟื้นตัว และแนวโน้มในปีนี้ ราคาสินค้าถูกมองลดลงหรือไม่ขยับขึ้น การบริโภคมีเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ รายได้สูงใช้จ่ายต่อเนื่อง จากยอดขายรถหรูเติบโตต่อเนื่อง รายได้ปานกลาง ได้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี พฤติกรรมบริโภคยุคใหม่ สมาร์ทโฟนและอีคอมเมิร์ซ”