เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้

เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้

กรมประมงเตือนประชาชนระวัง “พยาธิในซาชิมิ” หากบริโภคเข้าไปสามารถทำลายอวัยวะต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เผยพบได้ทั้งในปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่นิยมนำมาทำซาชิมิ จึงขอให้ประชาชนผู้บริโภคระมัดระวัง และเลือกบริโภคซาชิมิจากแหล่งที่เชื่อถือได้

นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยในฐานะโฆษกกรมประมงว่า ซาซิมิ เป็นอาหารดิบที่ได้จากการแล่เนื้อปลา หมึก หรือเนื้อสัตว์อื่นที่ยังสดอยู่เป็นชิ้นบาง ๆ และมักจะรับประทานคู่กับโชยุหรือซีอิ้วญี่ปุ่นและวาซาบิ ซึ่งซาชิมินั้นสามารถใช้ทั้งสัตว์น้ำทะเล สัตว์น้ำจืด และสัตว์น้ำกร่อยเป็นวัตถุดิบได้

 

เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้ เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้ เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้ เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้ เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้ เตือน FC ซาซิมิ กิน ปลาดิบ หมึกดิบ ปนพยาธิ อาจถึงตายได้

 

การบริโภคอาหารแบบดิบนั้นมีโอกาสที่จะพบพยาธิต่าง ๆ เช่น

- ซาชิมิจากปลาหรือหมึกทะเลมักพบ

  • ตัวอ่อนของพยาธิตัวกลม
  • พยาธิตืดปลา

- ซาชิมิจากปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยนั้น มักพบ

  • พยาธิตัวจี๊ด
  • พยาธิตืดปลา
  • พยาธิใบไม้ตับ
  • พยาธิใบไม้ปอด
  • พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย

 

สามารถแยกลักษณะและอาการของผู้ที่บริโภคพยาธิเข้าไปได้ ดังนี้ 

1. พยาธิตืดปลา เป็นพยาธิตัวแบนยาว ลำตัวเป็นปล้อง ยาวได้มากที่สุดประมาณ 150 เซนติเมตร หากบริโภคเข้าไปและเกิดการสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา   ร้อนบริเวณหน้าท้อง ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้ บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตาย

2. พยาธิตัวจี๊ด มีลักษณะลำตัวกลมยาวประมาณ 1.5 - 3.0 เซนติเมตร หัวคล้ายลูกฟักทอง ทั้งหัว และตัวจะมีหนาม โดยพบตัวอ่อนของพยาธิในปลา เมื่อคนกินปลาซึ่งมีพยาธิระยะติดต่อเข้าไป พยาธิจะคืบคลาน หรือไชไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเข้าสู่อวัยวะสำคัญอาจถึงตาย 

3. พยาธิอะนิซาคิส เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อน ลำตัวยาวประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร บริเวณปากจะมีหนามขนาดเล็ก บริเวณปลายหางจะมีส่วนแหลมยื่นออกมา พยาธิชนิดนี้จะไชผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผล และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และท้องอืด 

4. พยาธิใบไม้ แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่

  • พยาธิใบไม้ตับ

เกิดจากการกินอาหารประเภทปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ หากบริโภคปลาที่มีพยาธิชนิดนี้เข้าไปจะเกิดอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ร้อนบริเวณหน้าท้อง และหากปล่อยไว้นานจะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้ บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตายได้

  • พยาธิใบไม้ปอด

คนและสัตว์ติดต่อโดยการบริโภคปูและกุ้งน้ำจืดแบบดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ปอดอยู่ เมื่อบริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิจะไชทะลุผนัง ลำไส้เล็กส่วนต้นออกสู่ช่องท้อง ผ่านกระบังลม และเข้าฝังตัวในปอด ทำให้ปอดอักเสบ คนไข้จะมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรังบางครั้งมีเลือดปนออกมากับเสมหะพยาธิอาจไชไปอยู่ที่อวัยวะอื่น เช่น ตับ ลำไส้ กล้ามเนื้อ เยื่อบุช่องท้อง และสมอง เป็นต้น ทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น

5. พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย เมื่อปลากินไข่พยาธิเข้าไปจะฟักเป็นตัวอ่อนในปลา เมื่อคนบริโภคพยาธิชนิดนี้ พยาธิจะฝังอยู่ที่ลำไส้ ทำให้สูญเสียหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร เกิดอาการท้องเสีย อุจจาระมีกากมาก บางรายถ่ายเหลวนานนับเดือน คลื่นไส้ เบื่ออาหารและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต 

 

สำหรับผู้ประกอบการ ร้านค้า รวมถึงผู้บริโภค ควรบริโภคอาหารประเภทซาชิมิอย่างปลอดภัยโดยแช่แข็งที่อุณหภูมิ -35 องศาเซลเซียส นาน 15 ชั่วโมง หรือ -20 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน ก่อนรับประทาน เพื่อทำให้พยาธิตาย และควรเลือกซื้อสัตว์น้ำจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จึงจะปลอดภัยกับผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลการบริโภคสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอย่างปลอดภัย ได้ที่กลุ่มวิจัยความปลอดภัยสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ โทรศัพท์ 0 2940 6130 – 45 ต่อ 4209 หรือทางอีเมล [email protected]