'ส.อ.ท.' แนะ 7 อุตสาหกรรมปรับตัว รับมาตรการ CBAM บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้

'ส.อ.ท.' แนะ 7 อุตสาหกรรมปรับตัว รับมาตรการ CBAM บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้

"ส.อ.ท." แนะ 7 อุตสาหกรรมปรับตัว รองรับมาตรการ CBAM ที่มีผลบังคับใช้ 1 ต.ค. 2566 นี้ ย้ำอุตสาหกรรมอีวีไทย รักษาแชมป์ฐานผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ หวั่น “จีน” ชิงส่วนแบ่ง ระบุ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น กระทบธุรกิจ แนะกลุ่มเอสเอ็มอี ทรานฟอร์มสู่ “สมาร์ทเอสเอ็มอี” ผ่าน “3Go”

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากความร่วมมือและเห็นทิศทางการดำเนินธุรกิจของรัฐบาลกับเอกชนที่มีทิศทางเดียวกัน เป็นผลสำเร็จในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มาตรการภาครัฐและภาคเอกชนที่ทำงานร่วมมือกันเริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้น ซึ่งโครงสร้างประเทศไทยมีการพึ่งพาการส่งออกมากกว่า 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

ในขณะที่ภาคท่องเที่ยวหากมองปีที่ดีที่สุดปีคือปี 2562 ก่อนที่จะมีโควิดอยู่ที่อยู่ที่ 18% ของ GDP ทำเงินให้กับประเทศที่ 3 ล้านล้านบาท ในจำนวน 40 ล้านคน ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 12% ทำเงินได้ 2 ล้านล้านบาท เป็นคนไทยเที่ยวเองที่ 1 ล้านล้านบาท ดังนั้น จะเห็นว่าโครงสร้างของประเทศไทยพึ่งพารายได้จากต่างประเทศทั้งการส่งออก นำเข้าการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม จากการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ที่ได้มีการทรานฟอร์มประเทศเมื่อหลาย 10 ปีที่ผ่านมา จากประเทศที่เป็นเกษตรกรรมมาสู่ประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ถือเป็นแชมป์ของผู้ลทุนในประเทศไทยต่อเนื่องเป็นเวลานับ 10 ปี ซึ่งประเทสในอาเซียน ยุโรป หรือ อเมริกา ก็มาใช้แรงงาน พื้นที่ของประเทศไทยเพื่อเป็นฐานการผลิต ส่งออก ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีฐานะเป็นผู้รับจ้างผลิต หรือ OEM

นอกจากนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังเจอกับประสบกับภาระการติดกับดักรายได้ปานกลางมาเป็นเวลานานมาก ด้วยโมเดลเดิม ๆ เมื่อย้อนหลังกลับไปช่วงแรก ๆ GDP ขึ้นไประดับ 8% เพราะเป็นประเทศที่เป็นดาวรุ่งในขณะนี้ แต่ตอนนี้ GDP อยู่ที่ระดับ 3% ถือว่าการเติบโตโตต่ำกว่าเราจะพ้นประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลาย 10 ปี จากสภาวะที่อยู่ในช่วงกำลังเปลี่ยนผ่าน

“จากช่วงหนึ่งเรามีรายได้ 5,700-5,800 ดอลลาร์ ต่อหัวต่อคนต่อปี และการที่จะไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงจะต้องมีรายได้ 12,750 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ดังนั้นรัฐบาลต้องปรับโครงสร้างการผลิตใหม่ จึงเกิดนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ที่มาจากนวัตกรรม เพราะในอดีตแม้เราจะเป็นแชมป์ภาคการเกษตรมีการส่งข้าว ปาล์ม ฯลฯ แต่กลับทำรายได้กลับสู่ประเทศไม่มากนัก”

นายเกรียงไกร กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องรักษาแชมป์อุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการจ้างงานรวมทุกซัพพลายเชนกว่า 7 แสนคน โดยมีอันดับการผลิตที่ 10-11 และเมื่อเทรนด์โลกกำลังเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด ผ่านพลังงานไฟฟ้า หรือ พลังงานไฮโดรเจน ดังนั้นไทยจะถูกดีสทรัปชั่น หากปล่อยผ่านจะส่งผลเสียต่อประเทศเพราะในกลุ่มนี้ถือเป็นตัวที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประมาณ 10% ของ GDP ประเทศ

ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลได้วางแผนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ถือว่ามาถูกทาง ปัจจุบันคู่แข่งในภูมิภาคอาเซียน มองเรื่องอีวีเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เดิมในอุตสาหกรรมที่เป็นรถยนต์ ค่ายญี่ปุ่นคลองตลาดทั่วโลก ส่วนจีนก็อยากเข้ามาเล่นในอุตสาหกรรมนี้นานแล้ว เพราะจีนเป็นประเทศที่สั่งรถปีละประมาณ 26 ล้านคัน และเมื่อมีการกำหนดกติการและทิศทางเทรนด์ใหม่ของโลกไปสู่เรื่องของ กรีน คลีน และซัสเทนอะบิลิตี้ อุตสาหกรรมต้องสะอาดเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว รักโลก และยั่งยืน

“เมื่อเกมเปลี่ยนประเทศไทยก็ต้องเปลี่ยน เราเคยเป็นแชมป์ในภูมิภาคนี้ ตอนนี้มีผู้เล่นเข้ามาท้าทายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม หรือ อินโดนีเซีย ในหมวดยานยนต์เราก็ทำได้ดีในช่วงที่ผ่านมา เพราะยังถือเป็นอุตสาหกรรมเก่า ส่วนเรื่องใหม่อาทิ ดิจิทัล ออโตเมติก อินโนเวชั่น ฯลฯ กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อเมื่อเกิดอุตสาหกรรมใหม่แต่ไม่มีคนก็ไม่สำเร็จ ถือเป็นประเด็นที่มีความท้าทายมาก อีกทั้ง วันที่ 1 ต.ค. 2566 นี้ มาตรการ CBAM จะนำร่องบังคับใช้ใน 7 อุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูง เราก็ต้องเร่งปรับตัว”

ทั้งนี้ มาตรการ CBAM ได้ขยายกลุ่มสินค้าจากเดิม 5 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย และไฟฟ้า ให้เพิ่มเป็น 7 กลุ่มสินค้า โดยรวมไฮโดรเจนและสินค้าปลายน้ำบางรายการ อาทิ นอตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect emissions) อาทิ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตสินค้า 

นอกจากนี้ ความท้าทายที่เกิดขึ้น อาทิ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, สงครามทางการค้า, โรคระบาด ฯลฯ กำลังมา ถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก และเป็นความท้าทายของประเทศไทย รวมถึงการขาดแคลนแรงงานเพราะกำลังเข้าสู่ประเทศสังคมผู้สูงวัย จึงต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่อุตสาหกรรมดั่งเดิมยังคงใช้แรงงาน เมื่อค่าแรงขึ้นก็ไปไม่ไหวหากไม่ทรานฟอร์มก็ไม่สามารถหลุดจากตรงนี้ได้

ทั้งนี้ จากความท้าทายของดิจิทัลดิสทรัปชั่น ถือเป็นภัยอันดับแรกที่อุตสาหกรรมต้องเผชิญ ซึ่ง ส.อ.ท. ได้เข้าช่วยเหลือ อาทิ ปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน หาแหล่งเงินทุน สร้างแบรนด์ และหาตลาดใหม่ รักษาห่วงโซ่การผลิต จะเห็นได้ชัดเมื่อเกิดโควิดได้สอนให้ทุกคนต้องพยายามกลับมาคุยเรื่องห่วงโซ่การผลิต และเร่งทรานฟอร์มกลุ่มเอสเอ็มอีถือเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ดังนั้น นโยบายส.อ.ท. คือทรานฟอร์มเอสเอ็มอีเป็นสมาร์ทเอสเอ็มอี ผ่าน 3 ตัวแปรสำคัญ คือ 1. Go Digital 2. Go Innovation และ 3. Go Global เพื่อเป้าหมายสู่ Next Gen แห่งอนาคต