‘สุพัฒนพงษ์’ โชว์ผลงานฝ่าวิกฤติ – ดึงลงทุน ส่งไม้ต่อเศรษฐกิจให้รัฐบาลหน้า

‘สุพัฒนพงษ์’ โชว์ผลงานฝ่าวิกฤติ – ดึงลงทุน ส่งไม้ต่อเศรษฐกิจให้รัฐบาลหน้า

“สุพัฒนพงษ์” ชูผลงานเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤต ดึงลงทุน พร้อมส่งมอบเศรษฐกิจที่เติบโตมีเสถียรภาพและการเงินการคลังไม่ได้รับกระทบจากโควิด-19 มากนักให้รัฐบาลต่อไปบริหารประเทศ แย้มชงมาตรการEV 3.5 เข้า ครม.ดันลงทุนต่อปี67-68 เผยนักลงทุนสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นเตรียมเยือนไทยหาเล็งลงทุน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงาน THE NEXT THAILAND'S FUTURE : จุดเปลี่ยนประทศไทยสู่ความยั่งยืน วานนี้ (9 มี.ค.) ว่าปัจจุบันในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมทั้งในช่วง 3 ปีที่ตนเองได้ทำงานในด้านเศรษฐกิจมานั้นถือว่าได้วางพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และพาประเทศผ่านวิกฤติโควิดมาได้โดยที่สามารถรักษาวินัยทางการเงินการคลังไว้ได้ผ่อย่างดี และในวันนี้เราสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติเพื่อที่จะเริ่มสตาร์ทเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้อีกครั้ง และถือว่าส่งมอบเศรษฐกิจที่ยังยืนและมีความสามารถในการแข่งขันไปสู่รัฐบาลหน้าได้

“ทุกเรื่องที่รัฐบาลได้ผลักดันมาโดยตลอด และทำให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลได้ทำมาจนถึงจุดนี้ จนประเทศผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากมาได้ และพร้อมจะส่งต่อไปยังรัฐบาลหน้า เมื่อเข้ามาแล้วประเทศก็มีโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็ง และมีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนแน่นอน”นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ในส่วนของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาที่รัฐบาลได้ทำแล้วและเห็นผลได้แก่

1.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ในช่วงแปดปีที่ผ่านมาได้ผลักดันการทำโครงสร้างพื้นฐานฝให้กับประเทศ จนปัจจุบันเราได้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นรากฐานที่จะพัฒนาไปสู่อนาคตและไปสู่ความยั่งยืนซึ่งประเทศไทยทั้งการคมนาคมและการสื่อสารซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่เพียงแต่กรุงเทพมหานครแต่เป็นการพัฒนาไปทั่วประเทศไทย รวมทั้งเมืองรองในเมืองภูมิภาคต่างๆมีการพัฒนาอย่างมากมายทั้งถนนและระบบรางที่มีการก่อสร้างและมีแผนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อโอกาสในการเดินทางและส่งออกสินค้าของไทย

 

2.ด้านการดึงดูดการลงทุน โดยที่ผ่านมายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากในช่วงเกิดวิกฤตโควิดที่มีมูลค่า 4.5 แสนล้านบาท ก่อนขยับขึ้นมาแตะ 7 แสนล้านบาทในปี 2565 และอุตสาหกรรมที่ดึงเข้ามาลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ทั้ง ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หรืออาหารแห่งอนาคต สะท้อนกระแสความเชื่อมั่นที่ปรับตัวขึ้นมาดีต่อเนื่อง และในช่วงสัปดาห์หน้า จะมีคณะนักธุรกิจ นักลงทุนจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นกลุ่มใหญ่เข้ามาดูช่องทางลงทุนในประเทศไทยและความร่วมมือที่จะมีร่วมกัน

ทั้งนี้ในการดึงการลงทุนรัฐบาลมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยในส่วนของรถอีวีที่มีการดึงการลงทุนได้เกินเป้าหมายมียอดการจองรถเข้ามามากทำให้ค่ายรถหลายค่ายสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆนี้คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี)  เตรียมที่จะนำเสนอชุดมาตรการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยเพิ่มเติมโดยเรียกว่า “มาตรการ EV 3.5” โดยปรับโครงสร้างเพิ่มเติมจากมาตรการ EV 3 ที่ประเทศไทยได้มีการออกมาส่งเสริมการผลิตรถอีวีในประเทศตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้เนื่องจากมาตรการ EV3 จะสิ้นสุดอายุมาตรการในปี 2566 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และรัฐบาลมั่นใจว่าในปี 2030 หรืออีกประมาณ 7-8 ปีข้างหน้าไทยจะมีการผลิตรถ EV ประมาณ 7.5 แสนคันต่อปี ซึ่งขณะนี้มีค่ายรถอีกหลายค่ายที่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนแต่สมัครเข้าร่วมขอรับการส่งเสริมตามแพคเกจ EV 3 ไม่ทัน รัฐบาลจึงพิจารณาชุดมาตรการใหม่ เพื่อให้ค่ายรถที่สนใจเข้ามาสมัครโดยเรียกว่ามาตรการEV 3.5 ครอบคลุมระยะเวลาได้รับการส่งเสริมในปี 67-68

 

‘สุพัฒนพงษ์’ โชว์ผลงานฝ่าวิกฤติ – ดึงลงทุน ส่งไม้ต่อเศรษฐกิจให้รัฐบาลหน้า

โดยจะมีการสนับสนุนให้ค่ายรถที่เข้ามาสมัครเพื่อให้มีส่วนลดให้ประชาชนในการขายรถไฟฟ้าให้กับประชาชนได้ แต่ในส่วนของค่ายรถที่เข้ามาขอมาตรการส่งเสริมที่จะออกมาใหม่นี้จะได้รับการสนับสนุนน้อยกว่าค่ายรถที่เข้ามาก่อนนี้ซึ่งได้รับการสนับสนุน 70,000 - 1.5 แสนบาทต่อคัน เพราะค่ายที่เข้ามาก่อนมีต้นทุนที่สูงกว่าค่ายที่จะเข้ามาขอรับการสนับสนุนใหม่ ซึ่งชุดมาตรการนี้จะช่วยให้เกิดการลงทุนผลิตรถอีวีในประเทศไทยมากขึ้น

3.การดึงชาวต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศผ่านมาตรการวีซ่าเพื่อการอยู่อาศัยระยะยาว (Long-Term Resident Visa) หรือ “LTR Visa” ซึ่งขณะนี้มีการยื่นเข้ามา 3 – 4 พันราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยเพิ่มรายได้จากชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้จ่ายในประเทศ และช่วยเพิ่มรายได้จากชาวต่างชาติได้นอกเหนือจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งประเทศไทยมีการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวมากถึง 10 – 20% ของจีดีพี หากมีรายได้จากชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม

4. ด้านการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  โดยในส่วนสำคัญคือการฟื้น ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียในรอบ 30 ปี ซึ่งส่งผลดีต่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอีกหลายอย่างตามมา โดยเฉพาะการเป็นตลาดใหม่ในการส่งออกสินค้าไปยังตะวันออกกลาง รวมทั้งภูมิภาคอื่นๆซึ่งเป็นการสร้างโอกาสที่จะเปิดการส่งออกที่จะทำให้เห็นในปี 2566 เป็นต้นไป โดยสินค้าที่ได้ประโยชน์มีทั้งการส่งออกอาหารฮาลาล และสินค้าอื่นๆ

5.ด้านการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG  ที่ไทยได้ผลักดันแนวคิดนี้ในการประชุมเขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปีที่ผ่านมา ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นนอกจากทำให้เกิดการและในการประชุมรอบต่อไปสหรัฐฯ ก็พร้อมยกเรื่องนี้เป็นวาระหลักต่อเนื่องในการประชุมเอเปคที่สหรัฐฯจะเป็นเจ้าภาพ ภายใต้หัวข้อ “BCG in Actions” เพื่อให้ชาติสมาชิกของเอเปคหาทางนำแนวคิด BCG ไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

และ 6.การแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยรัฐบาลพยายามผลักดันแนวทากงารแก้ไขปัญหาหนี้ให้ครบทุกกลุ่ม ทั้งหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) การแก้หนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา หนี้สหกรร์ออมทรัพย์ หนี้เช่าซื้อ และหนี้สินภาคครัวเรือน เพื่อไม่ให้ประชาชนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ได้รับผลกระทบมากเกินไป เช่น ครูต้องไม่โดนหักเงินเพื่อใช้หนี้เกินกว่า 70% ของรายได้ เป็นต้น