“หมูเถื่อน”กดดันเกษตรกร ปมราคาต่ำกว่าต้นทุนห่วงเลิกกิจการ

“หมูเถื่อน”กดดันเกษตรกร    ปมราคาต่ำกว่าต้นทุนห่วงเลิกกิจการ

ก่อนหน้านี้ “เนื้อหมู”มีราคาสูงจากปัญหาโรคระบาด กระทั่งสถานการณ์เริ่มคลี่คลายจนราคาเข้าสู่ภาวะสมดุลมาได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่ต่อตอนนี้ราคาเนื้อหมูถูกซัพพลายเถื่อนจากต่างประเทศทำให้สมดุลราคาอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง

นายสัตวแพทย์วรวุฒิ ศิริปุณย์ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 84-88 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) แต่ราคาขายจริงถูกกดราคาต่ำสุดไปถึงราว 70 กว่าบาทต่อกก. ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 100.07 บาทต่อกก. ทำให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุนและเกษตรกรรายย่อยต้องทยอยเลิกเลี้ยง

สาเหตุหลักยังมาจากกองทัพหมูเถื่อน ที่ยังเข้ามาในประเทศจากทุกทิศทาง ล่าสุด กรมศุลการ ประกาศเปิดตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างกว่า 1,000 ตู้ในโครงการท่าเรือสีขาว คาดว่าจะมีเนื้อหมูอยู่ในนั้น เกษตรกรจึงยืนยันพร้อมร่วมตรวจสอบเพื่อดูสิ่งของผิดกฎหมาย ซึ่งนับเป็นโครงการที่ช่วยป้องปรามไม่ให้หมูเถื่อนทะลักเข้าสู่ตลาดได้ 

“คาดว่าการเปิดตู้เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2566 ที่จะเริ่มต้นเปิดตู้ตกค้างนั้น ขอให้กรมศุลกากรเร่งเปิด “ตู้ที่เก็บความเย็น” ซึ่งมักจะเป็นแหล่งเก็บซ่อนหมูเถื่อนได้นานนับปี และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะพบหมูเถื่อนอยู่ในจำนวนตู้ที่ตกค้างนี้แน่นอน”

ทั้งนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดไม่ให้หมูเถื่อนเข้าสู่ประเทศไทย คือดักตั้งแต่ทางเข้า ณ ท่าเรือแหลมฉบัง อีกทั้งรัฐบาลควรวางมาตรกรป้องกัน ซึ่งจะดีกว่าเมื่อเทียบกับการตามจับ ขณะเดียวกันลดข้อกังลต่อสุขภาพผู้บริโภคด้วย เพราะหมูเถี่ยงมีความเสี่ยงเพราะเป็นเนื้อสุกรที่ไม่ผ่านการตรวจโรค นอกจากนี้ ยังเป็นต้นเหตุที่มาเบียดตลาดในประเทศจนเกิดการกดราคาสุกรของเกษตรกรไทย ถึงขั้นขาดทุน ดังนั้น หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรของไทยต้องสูญพันธุ์แน่

ราคาขายหมูหน้าฟาร์มที่ตกต่ำอย่างหนักในขณะนี้ สะท้อนชัดเจนถึงปริมาณหมูเถื่อนที่ระบาดอยู่ในตลาด ทั้งๆที่มีการส่งสัญญาณถึงรัฐมาโดยตลอดว่าหมูเถื่อนยังคงเกลื่อนเมืองอยู่ แม้ปีที่แล้วจะจับหมูเถื่อนได้ราว 1 ล้านกก. ก็เป็นเพียง 5% ของที่ระบาดอยู่ในตลาดเท่านั้น"

 

“หมูเถื่อน”กดดันเกษตรกร    ปมราคาต่ำกว่าต้นทุนห่วงเลิกกิจการ

“หมูเถื่อน”กดดันเกษตรกร    ปมราคาต่ำกว่าต้นทุนห่วงเลิกกิจการ “หมูเถื่อน”กดดันเกษตรกร    ปมราคาต่ำกว่าต้นทุนห่วงเลิกกิจการ

นายสัตวแพทย์วรวุฒิ กล่าวอีกว่า  ในวงจรการค้าสุกรเกษตรกรไม่สามารถขายหมูหน้าฟาร์มได้ตามราคาที่สมาคมฯประกาศ เพราะเกิดการกดราคากันขึ้น เป็นการบังคับทางอ้อมให้เกษตรกรจำใจต้องขายขาดทุน เนื่องจากหากไม่ขายก็จำเป็นต้องเลี้ยงต่อไป ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูงขึ้นมาก เท่ากับต้นทุนการเลี้ยงจะเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องตัดใจขาย นับเป็นสถานการณ์ที่น่าเห็นใจที่สุด จึงต้องขอวอนเจ้าหน้าที่รัฐเร่งกวาดล้างจับกุม พร้อมๆกับป้องกันหมูเถื่อนล๊อตใหม่ อย่าให้เข้ามาทำลายตลาดหมูไทยมากไปกว่านี้

สำหรับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รายงานราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ประจำวันพระที่ 19 ก.พ. 2566 เปรียบเทียบกับ ราคาวันพระก่อนหน้า (13 ก.พ. 2566) พบว่ามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยระบุสาเหตุสำคัญว่า เกิดจากปัญหาหมูเถื่อนที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้องประกาศปรับลดราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มลงในทุกภาค ดังนี้ ภาคตะวันออก ปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มเหลือ 84-86 บาต่อกก. ลดลง 6 บาทต่อกก. ภาคอีสาน ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มเหลือ 86-88 บาทต่อกก. ลดลง 8-10 บาทต่อกก. ภาคเหนือ ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มเหลือ 88 บาทต่อกก.ลดลง 6 บาทต่อกก. และ ภาคใต้ ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มเหลือ 86 บาทต่อกก. ลดลง 4 บาทต่อกก.

รายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ระบุว่า ปี 2566 คาดว่าการผลิตสุกรมีปริมาณ 17.47 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 15.51 ล้านตัว หรือ 12.66 % เมื่อเทียบกับปี 2565 เนื่องจากจำนวนแม่พันธุ์สุกรที่เพิ่มขึ้นจะสามารถขยายการผลิตสุกรได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังคงมีความกังวลจากความเสี่ยงของโรคระบาดในสุกร และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการกลับมาเลี้ยงสุกร

ในขณะที่ ความต้องการบริโภคจะมีปริมาณ 1.30 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.15 ล้านตัน หรือ 12.58 % เมื่อเทียบกับปี 2565 เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

      ด้านการส่งออกปี 2566 คาดว่าการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็งและเนื้อสุกรแปรรูป จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือใกล้เคียงกับปี 2565 เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศคู่ค้าในขณะที่การส่งออกสุกรมีชีวิตคาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการนำเข้าสุกรมีชีวิตไม่มากนักเนื่องจากมีการฟื้นตัวของผลผลิตหลังสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา ( ASF)

สำหรับผลผลิตสุกรที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะส่งผลให้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้จะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2565 ส่วนราคาส่งออกเนื้อสุกรชำแหละและเนื้อสุกรแปรรูปคาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2565 และยังมี ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการผลิตหรือการส่งออก เช่นโรคระบาด ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนค่าอาหารสัตว์ ค่าพลังงาน และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในขณะที่เนื้อสุกรเป็นสินค้าที่มีมาตรการควบคุมราคา จึงอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการกลับมาเลี้ยงสุกร 

สมดุลราคาเนื้่อหมูแม้ไม่สามารถกำหนดได้ตายตัวแต่การดูแลไม่ให้ซัพพลายเกินกว่าดีมานด์เป็นกฎการค้าปกติที่ควรดูแลไม่ให้เสียสมดุล และหากเป็นซัพพลายจากต่างประเทศในรูปแบบ“ของเถื่อน”หากเข้มงวดอย่างจริงจังจะช่วยรักษาสมดุลราคาเนื้อหมูได้ในที่สุด