ผ่าแผน “สิงห์” เคลื่อนธุรกิจปี 66 ต่อยอดผนึกพันธมิตรแกร่ง สร้างการโต

ผ่าแผน “สิงห์” เคลื่อนธุรกิจปี 66 ต่อยอดผนึกพันธมิตรแกร่ง สร้างการโต

ธุรกิจผ่านจุดฟื้นตัวแล้ว ปี 2566 จึงเห็นเกมรุกจากองค์กรยักษ์ใหญ่มากมาย "สิงห์" พร้อมลุยตลาดเต็มสูบ เสิร์ฟ "สิงห์ เลมอน โซดา" เขย่าเครื่องดื่มอัดลมต่อ จัดเต็มกลยุทธ์ความร่วมมือพันธมิตรเสริมแกร่ง ควงคู่การเติบโต

ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ระบาด กินเวลานาน หลายธุรกิจเผชิญความยากลำบาก แต่มีไม่น้อย ที่สร้างผลงาน ปรากฏารณ์ที่โดดเด่นได้

อย่าง “สิงห์” ค่ายเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ “แสนล้านบาท” และขับเคลื่อนองค์กรสู่ปีที่ 89 ในศักราชที่ผ่านมา เมื่อผลิตภัณฑ์ “สิงห์ เลมอน โซดา” แจ้งเกิดในตลาดเครื่องดื่มอัดก๊าซหรือน้ำอัดลม สร้างการเติบโต

ส่วนแผนธุรกิจปี 2566 สิงห์ จะเคลื่อนทัพการตลาดในทิศทางอย่างไร ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล Chief Marketing Officer บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ฉายแนวทางภาพรวมตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยังส่งสัญญาณเติบโต เพราะหากวิเคราะห์สถานการณ์ ถือว่าผ่านจุดฟื้นตัวเรียบร้อยแล้ว

สำหรับหมวดสินค้าที่น่าจับตามอง คือ เครื่องดื่มน้ำอัดลมปราศจากน้ำตาล และแคลอรี 0% เพราะการเติบโตเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 70% แต่คาดการณ์ทั้งปี อัตราการโตทะลุ 100% มีให้เห็นแน่นอน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องดื่ม “สิงห์ เลมอน โซดา” เป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนของตลาดเครื่องดื่มอัดก๊าซ ที่นอกจากจะเกาะกระแสสุขภาพ ไม่มีน้ำตาล และแคลอรีแล้ว “รสชาติ” เป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้อง “กินดื่ม” เข้าสู่ร่างกาย หากแบรนด์ตอบโจทย์ “อร่อย” ได้ ย่อมได้การยอมรับจากกลุ่มเป้าหมาย

“สิงห์ เลมอน โซดา เป็นผลิตภัณฑ์ที่เติบโตอย่างโดดเด่น ตั้งแต่บริษัทพัฒนาออกสู่ตลาดกว่า 2 ปี สะท้อนให้เห็นว่าการเครื่องดื่มซีโร่แคลอรี น้ำตาล 0% หากทำให้รสชาติอร่อยได้ ผู้บริโภคเลือกจะดื่ม แต่ที่ผ่านมายอมรับว่าเรื่องรสชาติยังเป็นโจทย์ของตลาด และน้ำอัดลมมีแค่กลุ่มน้ำดำที่ลุยหมวดน้ำตาล 0% แต่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลากหลายมากขึ้น”

ผ่าแผน “สิงห์” เคลื่อนธุรกิจปี 66 ต่อยอดผนึกพันธมิตรแกร่ง สร้างการโต ทั้งนี้ สิงห์ เลมอน โซดา ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในรอบหลายปีที่บริษัทใช้แบรนด์ “สิงห์” ต่อยอดความแข็งแกร่ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

“ภายใต้แบรนด์สิงห์ ไม่ได้ออกสินค้าใหม่มานานร่วมสิบปี เมื่อบริษัทมีแบรนด์ที่เป็นสินทรัพย์ และมั่นใจผลิตภัณฑ์ดี มีคุณภาพ ขนาดตลาดมีศักยภาพเติบโต แบรนด์รุกตลาดจึงจุดติดได้ง่าย เพราะผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น”

ตลาดน้ำอัดลมครึ่งปีแรก 2566 คาดการณ์ว่าจะเติบโตสูง เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนไทยเพิ่มขึ้น กระตุ้นอัตราการบริโภคสินค้า ผู้คนกลับมาทำงาน ใช้ชีวิตปกติ ส่งผลให้ตลาดมีความคึกคัก และยังรวมถึงเครื่องดื่มหมวดอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม น้ำแร่

แนวทางการทำตลาดเครื่องดื่มของสิงห์ นอกจากมีสิงห์ เลมอน โซดา เป็นหนึ่งในพระเอก ผลิตภัณฑ์หลักอื่น ยังเดิมเกมรุกต่อเนื่อง เช่น น้ำดื่มสิงห์ ปี 2566 จะมีการผนึกกับคาแร็กเตอร์ภาพยนตร์ดังระดับโลกอย่าง “ทอย สตอรี่”(Toy Story)นำฉลากมาอยู่บนน้ำดื่มขนาด 330 มิลลิลิตร เป็นต้น ต่อยอดกลยุทธ์ความร่วมมือ(Collaboration : X–Strategy)

ผ่าแผน “สิงห์” เคลื่อนธุรกิจปี 66 ต่อยอดผนึกพันธมิตรแกร่ง สร้างการโต

จากที่ผ่านมา บริษัทนำผลิตภัณฑ์หลายรายการ ร่วมมือกับคาแร็กเตอร์ ศิลปินดังฯ เช่น น้ำดื่มสิงห์ ออกฉลากดีไซน์ใหม่ “โดราเอมอน” โซดาสิงห์ x S.V.S.S. แบรนด์เสื้อผ้าสตรีทแฟชั่นไทย สิงห์ เลมอน โซดา ผนึกพลังไอคอนยิ้มระดับโลก ‘SMILEY WORLD’ มาชิตะ จับมือ “เชสเตอร์” เปิดตัวรสใหม่ “ข้าวไก่กรอบซอสน้ำปลา” น้ำแร่เพอร์ร่า ออกฉลากดีไซน์ใหม่ “My Everyday Natural Wonders”

รวมถึง บุญรอดฯ ผนึกกำลังกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์(OR) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มพร้อมดื่ม(RTD)ซึ่งจะเห็นเปิดตัวสู่ตลาดเร็วๆนี้

“ปี 2566 แนวทางการออกสินค้าใหม่ยังมีต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริโภคจะเห็นหมวดใหม่ออกสู่ตลาดด้วย โจทย์ปีนี้บริษัทยังหาวิธีการทำให้สินค้ามีสีสัน เปลี่ยนลูกเล่น สร้างความคึกคัก รวมถึงการคอลแล็บกับหลายแบรนด์ที่แข็งแกร่งอย่างการจับมือกับโออาร์ เป็นต้น ซึ่งเร็วๆนี้จะเห็นสินค้าตัวแรกที่ร่วมมือกับโออาร์เข้าทำตลาด”

ผ่าแผน “สิงห์” เคลื่อนธุรกิจปี 66 ต่อยอดผนึกพันธมิตรแกร่ง สร้างการโต อย่างไรก็ตาม ปี 2566 การทำธุรกิจการตลาดผลิตภัณฑ์ต่างๆ บริษัทรับนโนยบายจากซีอีโอของบุญรอดบริวเวอรี่ “ภูริต ภิรมย์ภักดี” ในการดูแลต้นทุนให้ดีที่สุด เพื่อไม่ต้องผลักภาระให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ

“การบ้านของซีอีโอ สินค้าที่จำหน่ายในตลาดอยู่แล้ว ซีอีโอบอกว่าหากไม่จำเป็นจริงๆไม่อยากให้ขึ้นราคาสินค้า อะไรที่เราช่วยได้ก็ช่วย ส่วนการออกสินค้าใหม่ต้องเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องเติมเต็ม Unmet need ของผู้บริโภค”