สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ

สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ

เกษตรฯ ลุยต่อเนื่อง เดินหน้าโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี 66 ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรเพิ่มอีก 586 กลุ่ม ทั่วประเทศ

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ภายใต้แผนงานพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก  ซึ่งมี 3 หน่วยงานร่วมบูรณาการร่วมกัน โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ กรมหม่อนไหม และกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ สศก.วางเป้า ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรปี 66 อีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ

จากการติดตามผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา สศก. พบว่า สามารถส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรโดยอบรมถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับกลุ่มเกษตรกร  559 กลุ่ม และ 25 ชุมชน ตามเป้าหมาย ประกอบด้วย

กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 20 กลุ่ม กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 154 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 231 กลุ่ม กลุ่มยุวเกษตรกร 154 กลุ่ม และชุมชนที่อาศัยในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในความรับผิดชอบและดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25 ชุมชน โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่ม/ชุมชน สนับสนุนปัจจัยการผลิต/วัสดุอุปกรณ์การผลิตตามความต้องการของกลุ่ม เช่น ท่อนพันธุ์หม่อน อุปกรณ์สำหรับแปรรูปผลผลิต เส้นไหม วัสดุสำหรับทำสบู่ เป็นต้น

 โดยผลสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สามารถผลิตสบู่และแชมพูจากโปรตีนไหม พวงกุญแจ กระเป๋าจากเศษผ้าไหม สร้างรายได้เฉลี่ย 10,695 บาท/เดือน/ราย  เพิ่มขึ้นจากเดิมก่อนเข้าโครงการฯ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 10,086 บาท/เดือน/ราย  (เพิ่มขึ้น 609 บาท/เดือน/ราย หรือร้อยละ 6)  กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สามารถผลิตสินค้า อาทิ กล้วยฉาบแปรรูป น้ำพริก  สร้างรายได้เฉลี่ย 15,429 บาท/เดือน/ราย เพิ่มขึ้นจากเดิมก่อนเข้าโครงการฯ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 14,097 บาท/เดือน/ราย (เพิ่มขึ้น 1,332 บาท/เดือน/ราย หรือร้อยละ 10)

 อย่างไรก็ตาม กลุ่มยุวเกษตรกรถึงแม้จะไม่ได้ทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในเชิงธุรกิจ แต่ได้มีการทำการเกษตรจำหน่ายให้กับโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งทำให้กลุ่มยุวเกษตรกรมีความรู้ในด้านการเกษตร และสามารถทำการเกษตรในเบื้องต้น และนำไปใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือนได้ต่อไป

 

ขณะที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการ โดยมีการจัดประชุมกับชุมชนเครือข่าย เน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เกิดความรู้และประสบการณ์ เพิ่มพูนศักยภาพในด้านการผลิตสินค้าและบริการ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

นอกจากนี้ ได้ให้ชุมชนที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงาน เช่น โครงการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าแปรรูปผลผลิตกาแฟในพื้นที่อนุรักษ์ โครงการผลิตจานชามใบไม้ โครงการโรงเพาะชำกล้าไม้ชุมชน โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว โครงการพัฒนาสินค้า โครงการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานสินค้าชุมชน และอาคารโซลาร์เซลล์ เป็นต้น ซึ่ง สพภ. จะดำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชน เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ เครื่องมือ

 

สำหรับปีงบประมาณ 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บูรณาการขับเคลื่อนต่อเนื่อง กำหนดเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มใหม่เพิ่มเติม 586 กลุ่ม 25 ชุมชน ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ  ซึ่งจากการติดตามโครงการฯ ของ สศก. ในช่วงไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม - ธันวาคม 2565) พบว่า

ได้ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่ม    โดยการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรเรียบร้อยแล้วจำนวน 110 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 19 ของเป้าหมาย 586 กลุ่ม แบ่งเป็น กรมหม่อนไหม ดำเนินการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้ว 7 กลุ่ม (ร้อยละ 23 ของเป้าหมาย 30 กลุ่ม) กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการพัฒนาศักยภาพกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 34 กลุ่ม (ร้อยละ 22 ของเป้าหมาย 154 กลุ่ม) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 40 กลุ่ม (ร้อยละ 17 ของเป้าหมาย 231 กลุ่ม) 

กลุ่มยุวเกษตรกรและเยาวชนเกษตรในระดับอุดมศึกษา 29 กลุ่ม (ร้อยละ 17 ของเป้าหมาย 171 กลุ่ม)  ขณะที่มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและวัสดุอุปกรณ์การผลิตให้กลุ่มเกษตรกร 15 กลุ่ม (ร้อยละ 3 ของเป้าหมายทั้งหมด 586 กลุ่ม) โดย สพภ. ดำเนินการคัดเลือกชุมชนเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการในปี 2566 แล้วจำนวน 25 ชุมชนตามเป้าหมาย มีการจัดประชุมใหญ่ชุมชนในเครือข่ายระดับประเทศ เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการของชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของแต่ละชุมชนเรียบร้อยแล้ว

 

“เห็นได้ว่า ที่ผ่านมา โครงการฯ สามารถพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลง   ทั้งเรื่องของรายได้และช่องทางการตลาด เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ ซึ่ง สศก. มีแผนจะลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการฯ ช่วงไตรมาส 2 ในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566 และจะได้รายงานผลการสำรวจให้ทราบในโอกาสต่อไป”