เศรษฐกิจโลก ยานยนต์ การบินฟื้น หนุนใช้ อีวี ดันแนวโน้ม ราคายางปี 66เพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจโลก ยานยนต์ การบินฟื้น หนุนใช้ อีวี ดันแนวโน้ม ราคายางปี 66เพิ่มขึ้น

การขับเคลื่อน Big Data ภาคเกษตร สศก. ได้บูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดการและเชื่อมโยงในระดับแปลง เกษตรกร และพื้นที่ โดยในส่วนของยางพาราพบว่าในปี2566 คาดว่าจะมีเนื้อที่กรีด 21.98 ล้านไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)    กล่าวว่าในส่วนของยางพารา  ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตยางพาราโลกภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 13.744 ล้านตัน ในปี 2561 เป็น 14.376 ล้านตัน ในปี 2565 จากการขยายพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่องทั้งประเทศผู้ผลิตหลักและรายใหม่   ประเทศผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย  ในปี 2565 มีผลผลิตยางพารารวม 14.376 ล้านตัน

 โดยไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ผลผลิตลดลงจาก 4.849 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ 4.799 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี  อินโดนีเซียและมาเลเซียมีผลผลิตลดลงเช่นเดียวกัน ขณะที่เวียดนามที่มีผลผลิตเป็นอันดับ 3 ของโลกมีผลผลิต เพิ่มจาก 1.138 ล้านตัน ในปี 2561 เป็น 1.255 ล้านตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 ต่อปี 

ปริมาณการใช้ยางพาราของโลกในช่วง  5 ปี ที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 13.917 ล้านตันในปี 2561 เป็น 14.786 ล้านตันในปี 2565   ส่วนใหญ่จีน ในปี 2561 - 2565 การใช้ยางเพิ่มขึ้นจาก 5.692 ล้านตัน ในปี 2561 เป็น 5.880 ล้านตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 ต่อปี เนื่องจากมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยางล้อ อุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีมาตรการ สนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยางพารา เช่น ยานยนต์ การบิน เป็นต้น ทำให้จีนมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น      

เศรษฐกิจโลก ยานยนต์ การบินฟื้น หนุนใช้ อีวี ดันแนวโน้ม ราคายางปี 66เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโลก ยานยนต์ การบินฟื้น หนุนใช้ อีวี ดันแนวโน้ม ราคายางปี 66เพิ่มขึ้น

      

สหภาพยุโรป มีใช้ยางพาราลดลงจาก 1.231 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ 1.091 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 2.62 ต่อปี เนื่องจากจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ และจากวิกฤติพลังงานที่รุนแรง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ทำให้ภาคการผลิที่ใช้ยางพาราเพื่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ลดลง

 สหรัฐอเมริกา มีการใช้ยางพาราลดลงจาก 0.987 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ 0.951 ล้านตัน ในปี 2565 เนื่องจากจากภาวะเศรษฐกิจและความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง  ญี่ปุ่น มีความต้องการใช้ยางพาราลดลงจาก 0.706 ล้านตัน ในปี 2561 ลดลงเหลือ 0.670 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงอัตราร้อยละ 1.55 ต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรม แปรรูปลดลง

 การส่งออก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมการส่งออกยางพาราโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 โดยเพิ่มจาก 10.636 ล้านตันในปี 2561 เป็น 10.57 ล้านตันในปี 2565 โดยประเทศผู้ส่งออก มีอินโดนีเซีย  ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย โดยการส่งออกลดลงจาก 2.954 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ 2.2 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 6.47 ต่อปี  เวียดนาม ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 1.50 ล้านตัน ในปี 2561 เป็น 1.981 ล้านตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 ต่อปี

 มาเลเซีย ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 4 ของโลก มีปริมาณการส่งออกลดลงจาก 1.121 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ 1.113 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 0.09 ต่อปี  

โดย ราคา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกชนิด แต่ในปี 2565 ราคายางพาราในตลาดโลกปรับตัวลดลง

ด้านการผลิตของไทยในช่วง  5 ปีที่ผ่านมา  ประเทศไทยมีเนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นจาก 20.02 ล้านไร่ ในปี 2561 เป็น 21.93 ล้านไร่ ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 ต่อปี และผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 4.74 ล้านตันยางแห้ง ในปี 2561 เป็น 4.76 ล้านตันยางแห้ง ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.19 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก 240 กิโลกรัมต่อไร่ (ยางดิบ) ในปี 2561 เหลือ 220 กิโลกรัมต่อไร่ (ยางดิบ) ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 2.32 ต่อปี โดยเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกใหม่เริ่มให้ผลผลิตได้ ส่วนผลผลิตต่อไร่ภาพรวมลดลงยางพารา

                เนื่องจากจากการระบาดของโรคใบร่วง และมีฝนตกชุกในพื้นที่ปลูกทำให้จำนวนวันกรีดลดลง อีกทั้งเป็นพื้นที่เปิดกรีดใหม่ ทำให้ผลผลิตได้น้อย ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงด้วย  ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้ยางพาราของไทยเพิ่มขึ้นจาก 631,635 ตัน ในปี 2561 เป็น 955,324 ตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.31 ต่อปี

โดย ยางแผ่นรมควัน มีการใช้ในประเทศลดลงจาก 125,490 ตัน ในปี 2561 เหลือ 75,973 ตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 3.13 ต่อปี  ยางแท่ง มีการใช้ในประเทศลดลงจาก 274,373 ตัน ในปี 2561 เหลือ 230,214 ตัน ในปี 2563 และเพิ่มเป็น 303,481 ตัน ในปี 2564 โดยภาพรวมการใช้ยางแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.00 ต่อปี  น้ำยางข้น มีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 188,241 ตัน ในปี 2561 เป็น 290,331 ตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.09 ต่อปี

ในขณะที่ อุตสาหกรรมยางล้อ มีความต้องการใช้ยางพารามากที่สุด ใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 416,049 ตัน ในปี 2561 เป็น 578,515 ตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.60 ต่อปี  อุตสาหกรรมถุงมือยาง มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 51,537 ตัน ในปี 2561 เป็น 117,193 ตัน ในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.57 ต่อปี  อุตสาหกรรมยางยืด มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 113,850 ตัน ในปี 2561 เป็น 155,659 ตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 ต่อปี  อุตสาหกรรมยางรัดของ มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 4,723 ตัน ในปี 2561 เป็น 13,582 ตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.85 ต่อปี  อุตสาหกรรมอื่น ๆ มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 45,476 ตัน ในปี 2561 เป็น 89,177 ตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.77 ต่อปี

ด้านการส่งออกในช่วง 5 ปีที่ผานมา ไทยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ต่อปี เนื่องจากอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับยางพารากลับมาดำเนินกิจกรรมได้เกือบปกติ รวมทั้งปัญหาจากการขาดแคลนตู้คอนเทอนเนอร์ที่ส่งผลต่อระบบโซ่อุปทานเริ่มคลี่คลาย ทำให้การส่งออกยางของไทย ในประเภท ยางแท่งและน้ำยางข้น มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.44 และร้อยละ 1.08 ต่อปี ตามลำดับ  คู่ค้าที่สำคัญของไทย ได้แก่จีน มีการนำเข้ายางพาราจากไทย 2.68 ล้านตัน ในปี 2561 ลดลงเหลือ 2.30 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 3.32 ต่อปี  

มาเลเซีย มีแนวโน้มนำเข้ายางพาราจากไทยเพิ่มขึ้นจาก 0.38 ล้านตัน ในปี 2561 เป็น 0.40 ล้านตัน ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29 ต่อปี ญี่ปุ่น มีแนวโน้มนำเข้ายางพาราจากไทยลดลงจาก 0.21 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ 0.19 ล้านตัน ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 1.98 ต่อปี  สหรัฐอเมริกา นำเข้ายางพาราจากไทยเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.19 ล้านตัน ในปี 2561เป็น 0.20 ล้านตัน ในปี 2565 ทำให้ในภาพรวมการส่งออกยางไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33 ต่อปี

ด้านราคาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมายังมีความผันผวนแต่อยู่ในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการยางพาราเพื่อส่งมอบของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมยางพาราที่เกี่ยวเนื่อง และนอกจากนี้ยัง มีการคาดการณ์ความต้องการยางพาราที่มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

ทำให้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ประเภทยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ยางก้อนคละ และน้ำยางสดที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงปี 2561 - ตุลาคม 2565เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.79 ร้อยละ 6.28 และร้อยละ 8.84 ต่อปี ตามลำดับ

สำหรับปี 2566   การผลิตยางพาราโลกจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกของกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางพาราใหม่ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นคาดว่าความต้องการใช้ยางพาราของโลกจะปรับตัวสูงขึ้นจากปี 2565 จากความ ต้องการใช้ของอตุสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับยางพารา และการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมาตรการ สนับสนุนการใช้อย่างแพร่หลาย

 คาดว่าปริมาณการส่งออกยางพาราในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นจากปีผ่านมา โดย สัมพันธ์กับการใช้ยางโลก เนื่องจากสถานการณ์ของวิกฤติของโรคระบาดโควิด 19 ที่ส่งผลต่อระบบโลจิสติกส์และ ห่วงโซ่อุปทานที่รุนแรงลดลง ซึ่งส่งผลให้การส่งออกขยายตัว และคล่องตัวมากขึ้น  ราคา ในปี 2566 คาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เช่นกัน เนื่องจากมีปัจจัย บวกจากการคาดการณ์แนวโน้มดีขึ้นจากการผ่อนคลายของวิกฤติโรคระบาด ขณะที่ปัจจัยลบ ได้แก่ การคาดการณ์ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และวิกฤติพลังงานที่อาจส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกชะลอตัวลง

สำหรับสถานการณ์ของยางพาราไทยในปี 66  คาดว่าจะมีเนื้อที่กรีด 21.98 ล้านไร่เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 58,072 ไร่ หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกใหม่เมื่อปี 2560 เริ่มให้ผลผลิตแต่ในภาคกลาง และภาคใต้ เนื้อที่กรีดได้คาดว่าลดลง เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นยางอายุมากที่ให้ผลผลิตน้อย  คาดว่าจะมีเนื้อที่กรีดได้ประมาณ 225 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.27 เนื่องจากต้นยางพาราที่กรีดได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง

ประกอบกับ ปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอต้นยางสมบูรณ์ดี และผลกระทบจากโรคใบร่วงในพื้นที่ปลูกยางพาราความรุนแรงลดลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น  โดยคาดว่าการใช้ยางพาราจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความต้องการใช้จาก อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ และถุงมือยาง รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมและสนับสนุน

การใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากขึ้น และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับยางพาราภายในประเทศกลับมาดำเนินธุรกิจ ได้ปกติ  คาดว่าการส่งออกยางพาราของไทยจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มฟื้นตัว และยังมีแนวโน้มการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

โดยปี 2566 คาดว่าราคายางพาราในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการคาดการณ์ความต้องการยางพาราในตลาดโลก ซึ่งส่งผลต่อราคาตลาดล่วงหน้า และตลาดภายในประเทศ แต่อาจจะมีปัจจัยลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลต่อความต้องการใช้ยางพารา