“กอบศักดิ์” เตือนวิกฤติถล่มเศรษฐกิจ - อาเซียนที่หลบมรสุมสวรรค์นักลงทุน

“กอบศักดิ์” เตือนวิกฤติถล่มเศรษฐกิจ - อาเซียนที่หลบมรสุมสวรรค์นักลงทุน

“กอบศักดิ์” เตือนพายุวิกฤติถล่มเศรษฐกิจ - อาเซียนที่หลบมรสุมสวรรค์นักลงทุน "ณัฐพงศ์" ระบุต้องขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำในกลุ่มเอสเอ็มอี

วันนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ไทยแลนด์ 66 พลิกโฉมสู่ความยั่งยืน” รับมือความท้าทายของไทยปี 2566 โดย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธานสภาตลาดทุนไทย กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566:  วิกฤติและโอกาส สู่ความยั่งยืน ว่ามองจากพัฒนาการของวิกฤตินับจากเวลาการสุกงอมของปัญหา และกลไกตลาด ในปี 2566 จะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เกิด Recession มาแน่ๆ ขณะเดียวกัน ก็อาจจะเริ่มต้นของ EM Crises 

ซึ่งเมื่อดูแล้วเป็นเรื่องยากที่เงินเฟ้อจะลงมาทั้งหมด จะเข้าเป้าก็น่าจะปี 2567-2568 ไปแล้ว Fed ก็ยังต้องต่อสู้ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ ถึงจะเข้ามาสู่ช่วงสาม และกว่าคิดถึงในช่วงของการลงดอกเบี้ยอีกรอบ น่าจะเป็นช่วงปลายปี 2567 ฉะนั้น เมื่อถามว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2566 เป็นเช่นใด ก็จะอยู่ในช่วงสอง ขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อ เงินเฟ้อเริ่มลดลง นี่คือวิกฤติที่จะหมุนไป
 

“ยังมีข่าวที่ประเทศไทยจะได้อานิสงส์จากวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบนี้ เนื่องจากทำเลที่ตั้ง เพราะปีหน้าภาวะเศรษฐกิจอาเซียนเติบโตดี คาดว่าจะเป็นที่นิยมของนักลงทุน เป็นทั้งแหล่งหลบภัย และลงทุนเพิ่มอย่างคึกคักแห่งหนึ่งของโลก”
 

นายณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และยาเสพติด และที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร กล่าวถึง การขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ พันธนาการของเอสเอ็มอี โดยระบุว่า ความเหลื่อมล้ำกับเอสเอ็มอี มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ยิ่งความเหลื่อมล้ำมากก็จะเกิดปัญหาต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีมาก ความเหลื่อมล้ำต่ำ เอสเอ็มอี จะสามารถเจริญรุ่งเรืองได้มาก ในเวทีโลกจึงให้ความสำคัญกับเอสเอ็มอีมากขึ้น มีเครือข่ายของเอสเอ็มอี ให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย

ในปี 2566 ปัญหาที่ เอสเอ็มอี ต้องเผชิญ ได้แก่ การยกเลิกกิจการ ข้อมูล ม.ค. – มิ.ย. 2565 จำนวนกว่า 6,006 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 22% ภาระต้นทุนทางการเงิน และวัตถุดิบสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ สภาพแวดล้อมในการประกอบการไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของเอสเอ็มอี (ถ้าไม่ทำอะไรในวันนี้) และผู้นำที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำกับเอสเอ็มอี ในระบบเศรษฐกิจ สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อ เอสเอ็มอี และระดม 4 ส่วนที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกัน หากไม่มีความเหลื่อมล้ำจะมากขึ้นโดยเฉพาะหลังจบโควิด-19 รายใหญ่จะกดทับรายกลาง และรายเล็กรุนแรงขึ้น เกิดปัญหาเศรษฐกิจภายในไม่ว่าจะเติบโตหรือถดถอยก็ตาม  

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์