โลกเบนเข็มสู่“การเงินสีเขียว” ฐานทุนใหม่เป้าหมายNet Zero

โลกเบนเข็มสู่“การเงินสีเขียว” ฐานทุนใหม่เป้าหมายNet Zero

การเงินสีเขียว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความพยายามในระดับโลกเพื่อลดคาร์บอนกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาคธุรกิจและการลงทุนมีส่วนอย่างมีนัยสำคัญ

 ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเช่น ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง และน้ำท่าม ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงทางการเงินต่อธุรกิจต่างๆเช่น ช่วงปี 2550-2552   ภัยพิบัตทางธรรมชาติจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าถึง 600 พันล้านดอลลาร์  

จากรายงาน WORLD INVESTMENT REPORT2022 (WIR) : INTERNATIONAL TAX REFORMS AND SUSTAINABLE INVESTMENT จัดทำโดย การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) สาระสำคัญส่วนหนึ่งระบุว่า ในปี 2564 ผู้นำโลกได้ประชุมร่วมกันที่กลาสโกว์ สก็อตแลนด์ ในโอกาสการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยโลกร้อน หรือ COP 26 ซึ่งมีเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ผลจากการประชุมครั้งนั้นได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวที่สำคัญได้แก่ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ออกหุ้นกู้ที่คำนึงถึงการการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Greenhouse Gas: GHG)แม้จะพบว่าในกลุ่มประเทศG20 ผู้นำทางเศรษฐกิจอย่างตลาดหุ้นแนสแด็กของสหรัฐ และ เซิ่นเจิ้น ของจีน จะมีการออกหุ้นในลักษณะนี้ค่อนข้างต่ำ แต่ในทางตรงกันข้ามพบว่า อินเดีย และอินโดนีเซีย มีการออกหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในสัดส่วนที่สูง 

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวเพื่อเป้าหมาย ลดโลกร้อนคือ การขับเคลื่อนสู่ Net Zero  ได้เกิดการแข่งขันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Zero หรือ “Race to Zero” เกิดขึ้น โดยพันธมิตรจาก 1,049 เมืองใหญ่ ,67 ท้องถิ่น ,5,235ธุรกิจ ,441 นักลงทุนขนาดใหญ่ และ 1,039 สถาบันการศึกษาชั้นนำ จาก 120ประเทศ ร่วมกันมุ่งสู่เป้าหมายนี้ 

โลกเบนเข็มสู่“การเงินสีเขียว” ฐานทุนใหม่เป้าหมายNet Zero

“พันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังมุ่งไปยังเป้าหมายคาร์บอนศูนย์ ในปี 2050 ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรที่มีสัดส่วน 25% ของผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก และคิดเป็น 50% ของจีดีพีโลก”

  ทั้งนี้ ความพยายามดังกล่าวรวมถึงการก่อตั้งพันธมิตรทางการเงินแห่งกลาสโกว์ Glasgow Financial Alliance for Net Zero (GFANZ) และยังมีกลุ่ม  Net Zero Financial Service Providers Alliance (NZFSPA) ประกอบด้วยผู้ให้บริการทางการเงินที่จะรวมกลุ่มองค์กรทางการเงิน 23แห่ง รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ 6 แห่ง เป็นต้น 

สำหรับหน่วยทางการเงินที่จะเข้ามามีบทบาทการผลักดันการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนศูนย์อีกหน่วยหนึ่งคือ กลุ่มเจ้าของเงินอย่างกองทุนบำเน็จบำนาญและกองทุนความมั่งคั่งเเห่งชาติต่างๆ ที่เริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงการกำหนดนโยบายเพื่อความมั่นคงด้านอาหารด้วย 

โดยกลุ่มกองทุนต่างๆได้กำหนดกรอบการลงทุนไว้ 5 ด้าน ได้แก่ การจำกัดความเสี่ยงจากสภาพอากาศ การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด การปรับทิศทางและยุทธศาตร์ การปรับรูปแบบการปฎิบัติการ และการกำหนดการโหวตและการบริหารงานที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมด้วย

โลกเบนเข็มสู่“การเงินสีเขียว” ฐานทุนใหม่เป้าหมายNet Zero

“จากรายงานการลงทุนที่เผยแพร่สู่สาธารณะของธุรกิจต่างๆจะพบว่าส่วนใหญ่ส่งสัญญาณว่า สองในสามของรายงานให้ความสำคัญกับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงแม้ว่าบางส่วนจะรวมไปกับรายงานประจำปีหรือแยกเป็นกลุ่มรายงานเพื่อความยั่งยืนเป็นการเฉพาะก็ตาม”

กลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญอีกอย่างคือ กลยุทธ์การใช้ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าเมื่อไตรมาสสุดท้ายปี 2564 และครึ่งปีแรกของปี 2565 มากกว่า มีหุ้นถึง20 ตัวในตลาดกำหนดแผนอบรมเพื่อการลดโลกร้อน

จากความพยายามภาคการเงินเพื่อให้เป้าหมายการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ ซึ่งความพยายามนี้ไม่ใช่เพื่อลดโลกร้อนเท่านั้นแต่ยังเพื่อให้ธุรกิจได้รับโอกาสใหม่ๆ ซึ่งในรายงาน ประเมินไว้ว่าศักยภาพทางธุรกิจจากการแก้ไขClimate  Change จะมีสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ ในอีกไม่กี่ปีจากนี้