"Climate Change" จากวิสัยทัศน์สู่การปฎิบัติ รัฐ-ธุรกิจเปิดแผนลดโลกร้อน

"Climate Change" จากวิสัยทัศน์สู่การปฎิบัติ รัฐ-ธุรกิจเปิดแผนลดโลกร้อน

เวที TCAC ระดมภาครัฐ-ธุรกิจ เปิดแผนปฎิบัติการเพื่อเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหวังแก้Climate Change อย่างยั่งยืน

ในการประชุม”ภาคีการขับเคลื่อนการปฎิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย” (Thailand Climate Action Conference: TCAC)  จัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในส่วนเวทีงานเสวนา “เสริมพลังไทยสู่ความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ (Powering Thailand for Climate Resilience and Sustainability)” 
นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวถึงเส้นทางสู่ๆความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศ
(Road to Net Zero Emission and Climate-Resilient Thailand) ว่าต้องเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาศ ในหลายๆประเทศ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากขึ้น เหลืออีก 500 กิกะตันเท่านั้นอุณหภูมิโลกจะสูงเพิ่มขึ้น 1.5 องศา ซึ่งเป็นที่มาที่โลกต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทั้งน้ำท่วมในหลายพื้นที่ในทั่วโลก น้ำแข็งละลาย คลื่นความร้อนในทวีปยุโรป การขาดแคลนน้ำจืด สายพันธุ์สัตว์ต่างๆเริ่มลดลง 

"ไทยต้องปรับเป้าหมาย และมีการสนับสนุนทางการเงิน ทางโครงการ cop 26 มีการใช้ framework วางเป้าหมาย โดยเฉพาะภาคการเกษตรต้องลดลง 23% "
สำหรับแนวทางการลดก๊าซคาร์บอนดังนี้ 1.เรื่องพลังงานและการขนส่ง การใช้พลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงาน รวมถึงการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 2. มาตราการทดแทนเม็ดปูน เปลี่ยนสารทดแทนความเย็น และการใช้ ccus ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ 3.การจัดการของเสีย กำจัดขยะและน้ำเสียชุมชน รวมถึงน้ำเสียในอุตสาหกรรม 4.การเกษตร ปรับปรุงการทำนาข้าวเพื่อลดการปล่อยมีเทน และผลิตก๊าซชีวะภาพจากมูลสัตว์ 5.ส่งเสริมการปลูกป่าไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและชนบทและป้องกันการบุกรุกทำลายป่า  และยังใช้กลไกขับเคลื่อน บีโอไอ คือ ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการคาร์บอนเครดิตอีกด้วย

ดึงนวัตกรรมทางแก้โลกร้อน
ด้านนายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวในหัวข้อ สภาพภูมิอากาศไทยกับโมเดลเศรษฐกิจBCG (Climate Change Pathway on Bio-Circular-Green (BCG) Economy) ว่า เน้นย้ำในเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในเรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ การสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตและบริการบนพื้นฐานทรัพย์กรชีวภาพ ต่อมาคือเศรษฐกิจสีเขียว การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
"กรอบพัฒนายุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียน 2030 คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 30 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียน 3 % ของ จีดีพี  โดยเชื่อมโยงกับกลุ่มธนาคารในรูปแบบของทุนให้เปล่าและเงินกูดอกเบี้ยต่ำ"
ขณะที่นายวิจารย์ สิมาฉายา ผู้อํานวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และประธานกรรมการองค์การบริหารจัด การก๊าซเรือนกระจก กล่าวในหัวข้อพลังแห่งนวัตกรรมเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ (The Power of Innovation for Climate Protection) ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ภายในปี 2065 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ 40% (Nationally Determined Contribution) ภายในปี 2030 หากได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาศักยภาพ การเงิน และเทคโนโลยีอย่างเต็มที่โดยมีกลยุทธ์ Mitigation คือ การลด การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือ การต่าง ๆ อาทิ การใช้พลังงานทดแทน การลดการใช้พลังงาน ฟอสซิล การทำกิจกรรมป้องกันการ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่าน  และยังมีมาตราการขับเคลื่อนประเทศคือ 1.พลังงานและการขนส่ง 2.IPPU 3.ของเสีย 4.การเกษตร 5.ป่าไม้ โดยดูดคาร์บอนกลับ 120mtco2 เพื่อทดแทนการปล่อยคาร์บอนจากภาคอุตสาหกรรม
ด้านแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบ ต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน เช่น EV infrastructure Clean/Green/ Renewable Energy: Solar Farm ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก ภายในประเทศ นําเทคโนโลยีด้านการกักเก็บคาร์บอน มาใช้ประโยชน์ (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS) เร่งพัฒนาเพิ่มจํานวนการใช้ ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles (EV), Hydrogen Vehicles  พัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) หรือเมืองคาร์บอนต่ำ (Low carbon cities)
ปลี่ยนผ่านพลังงานลดผลิตคาร์บอน
นายบญุญนิตย์วงศ์รักมติรผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวในหัวข้อ ความมั่นคงด้านพลงังานvs.ความเป็นกลางทางคารบ์อน–ความสมดุลที่ยั่งยืน (Energy Security vs. Carbon Neutrality) ว่าการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี)มากขึ้นจะทำให้มีการลดการผลิตคาร์บอนให้มากขึ้น
" เทรนด์ ระดับ โลก สู่ " Net ZERO" , เป้าหมายสภาพพูมิอากาศของประเทศไทย ลดการปล่อยคาร์บอน 40% เป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 การ ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2065"
ทั้งนี้ ไทยมีแนวนโยบายแผนพลังงานชาติ  ว่าด้วยการเพิ่มสัดส่วน RE > 50% ส่งเสริมการใช้ EV เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มากกว่า 30% และแนวทาง 4DRE แบ่งเป็น 1. การแปลงดิจิตอล 2.การลดคาร์บอน 3.การกระจายอำนาจ 4. การยกเลิกกฎระเบียบไฟฟ้า
ขณะเดียวกันยังมี " Triple S" กลยุทธ์ 
1.Sources Transformation ปรับการผลิตและส่งไฟฟ้าเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก
2.Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน
3.Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก
ปตท.กางแผน3Pปรับองค์กรสู้โลกร้อน
นายอรรถพลฤกษ์พิบลูย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จดัการใหญ่บริษัททปตท.จํากัด(มหาชน)  กล่าวในหัวข้อ วิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติสร้างพลังงานแห่งอนาคตมมุ่งสู่เป้าหมายNetZero(From Vision to Action: Shaping up Future Energy & Beyond towards Net Zero) ว่าโลกกำลังบังคับให้ต้องมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero Eimission ท่ามกลางการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยต้อง ยุติการตัดไม้ทำลายป่าให้ได้ในปี 2030  รวมถึงการลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและ เลิกสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง 30% ในปี 2030 สนับสนุน เทคโนโลยีสีเขียว โดยสถาบันการเงิน 450 แห่ง 
 ทั้งนี้ ปตท.มีกลยุทธ์  3P ได้แก่ Pursuit แบ่งเป็น ccs การกักเก็บคาร์บอน , ccu การเอาคาร์บอนมาใช้ประโยชน์  Portfolio เปลี่ยนวิสัยทัศน์องค์กร ลดการใช้ถ่านหินน้ำมันใส่กาธรรมชาติเป็นพลังงานเปลี่ยนผ่านไปยังการใช้พลังงานไฟฟ้า Partnership การดูดซับก๊าซทำอะไรออกไซด์ 2.1 ล้านตันต่อปี ปล่อยออกซิเจน 2 ล้านตันต่อปี ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านพลังงานได้อย่างยั่งยืน