ธปท.ชี้ปรับดอกเบี้ยต้อง ‘ค่อยเป็นค่อยไป’

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ระบุ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น คาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะหากดูทิศทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี2565 คาดว่ามีทิศทางฟื้นตัวดีต่อเนื่อง โดยคาดขยายตัวที่เกินระดับ 3%

ทั้งนี้จากอุปสงค์ภายในประเทศ ที่กลับมาฟื้นตัว การบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว โดย ธปท.คาดปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะอยู่ที่ 6 ล้านคน แต่คาดว่าน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ระดับ 3.3% และปีหน้า 4.2% 

ส่วนสถานการณ์เงินเฟ้อ มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันอยู่ที่ระดับกว่า 7% และคาดการณ์ว่าจะเห็นจุดพีคได้ ในไตรมา 3 ปีนี้ที่ 7.5% ซึ่งสูงกว่ากรอบนโยบายการเงินของธปท.ที่คาดการณ์ไว้ที่ 1-3% และเห็นราคาสินทค้าที่ขยายวงที่ราคาปรับเพิ่มขั้น และอาจเป็นตัวส่งให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด ซึ่งอาจกระทบต่อด้านเสถียรภาพด้านราคาตามมา 

เมื่อสมดุลความเสี่ยงเปลี่ยน การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยชัดเจนมากขึ้น นโยบายการเงิน จึงต้องให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อมากขึ้น และทำอย่างไรให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบไม่สะดุด คือการ Smoot take off ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ต้องมี2ส่วนหลัก คือ
การคุมเงินเฟ้อให้อยู่ระดับต่ำ ไม่ผันผวน แต่หากยิ่งปล่อยให้เงินเฟ้อสูงต่อเนื่องนาน จะคนคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงต่อไปเรื่อย ๆ ผู้ประกอบการปรับราคาสินค้า ปรับค่าจ้างขึ้น เหล่านี้จะส่งผลให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด
 

ทั้งนี้ก็อาจกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ กระทบกำลังซื้อการบริโภคต่างๆได้ ดังนั้น วิธีดูแลไม่ให้คาดการณ์เงินเฟ้อ หรือเครื่องยนต์เงินเฟ้อติด คือการปรับนโยบายการเงินไปสู่ภาวะปกติ โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยต้องขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการขึ้นดอกเบี้ยที่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจสะดุด คือ ต้องทำแต่เนิ่นๆ หากช้าเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด และต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงขึ้นเพื่อดูแลภายหลัง ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจและประชาชนมากขึ้น 
    
การขึ้นดอกเบี้ย จะช่วยทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อลดลงหรืออยู่ในกรอบ ส่วนหนึ่งที่ผ่านมาที่เงินเฟ้อไม่หลุดกรอบเพราะคนเชื่อว่าแบงก์ชาติใส่ใจ และ commit ที่จะรักษาเงินเฟ้อไม่ให้สูง ซึ่งจะช่วยดึงการคาดการณ์เงินเฟ้อคงอยู่ในกรอบ

แม้เงินเฟ้อระยะยาว จะอยู่ในกรอบ ที่3% แต่ชะล่าใจไม่ได้ เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่าง ที่อาจทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท การขึ้นค่าแรง ดังนั้นหน้าที่ของธนาคารกลางคือ ดึงเงินเฟ้อกลับเข้าในกรอบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบตลอดเวลา แม้ระยะสั้นอาจเห็นหลุดกรอบ แต่ระยะปานกลาง ระยะยาวเงินเฟ้อจะยังอยู่ในกรอบ ทั้งนี้มองว่าปีหน้าเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ในกรอบได้

สำหรับการที่จะให้เงินเฟ้อกลับเข้ามาอยู่ในกรอบได้ ธนาคารกลางต้อง take action ต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้ขึ้นครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องค่อยๆปรับไปสู่สภาวะปกติ 
     
อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยของไทย ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับต่างประเทศ เพราะบริบทเศรษฐกิจการเงินช่วงนี้ต่างกันกับสหรัฐชัดเจน ที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวร้อนแรง เงินเฟ้อสูงขึ้นจากอุปสงค์ จึงต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงและเกิด soft landing ซึ่งแตกต่างกับไทย ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว การขึ้นดอกเบี้ยจึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เป็น smooth takeoff