บล.เอเซีย พลัส คาดเครดิตสเปรดบ.ไทย-สหรัฐ ติดลบหนัก กดดันฟันด์โฟลว์ไหลออก

บล.เอเซีย พลัส คาดเครดิตสเปรดบ.ไทย-สหรัฐ ติดลบหนัก กดดันฟันด์โฟลว์ไหลออก

บล.เอเซีย พลัส ชี้ตลาดหุ้นไทยไตรมาส3นี้ยังไซด์เวย์ดาวน์ สาระพัดปัจจัยลบนอกประเทศกดดัน เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถดถอย เงินเเฟ้อสูงกดดันเฟดขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง คาดกนง.ขึ้น 3 ครั้ง เพิ่มส่วนต่างเครดิตสเปรดสหรัฐ-ไทย ติดลบหนัก 2.25% กดดันฟันด์โฟลว์ไหลออก 1-2 พันล้านบาทต่อวัน 

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยไตรมาส 3  ปี 2565  ยังมีแนวโน้มไซด์เวย์ดาวน์  แม้ว่าการปรับตัวลงจะลดลงน้อยกว่าตลาดอื่น และเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังไม่มีความกังวลเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (จีดีพีติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน)  เนื่องจากครึ่งปีหลัง 2565 การเปิดเมืองและเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  น่าจะช่วยฟื้นการท่องที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยได้ดีขึ้น   

แต่ยังระวังมีความเปราะบาง  จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังล่าช้าประเทศอื่น  กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีโอกาสปรับลดลงทั้งไตรมาสต่อไตรมาสและปีต่อปี  

และระยะถัดไปยังหลายปัจจัยความเสี่ยงต่างประเทศ ที่กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกและหุ้นไทยผันผวน ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสค่อนข้างมากที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย  จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวล  และมีความกังวลจีดีพีสหรัฐไตรมาส2 ปี 2565 ติดลบต่อเนื่องตากไตรมาส 1 ที่ผ่านมา 

อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากแรงกดดันเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง  ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาสมากที่จะปรับขึ้นดอกบี้ยต่อเนื่องในช่วงที่เหลือปีนี้ ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวได้ ในช่วงครึ่งปีหลัง  และการที่เฟดทยอยลดขนาดงบดุล 4.75 หมื่นล้านดดอลลาร์ต่อเดือน ดูสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบ 

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัย ประเมินในช่วงที่เหลือปีนี้ คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย4  ครั้ง  ทำให้สิ้นปีนี้ ดอกเบี้ยสหรัฐจะอยู่ที่ 3.5% และคาด กนง. ขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง (ครั้งละ 0.25%)  ทำให้สิ้นปีนี้ ดอกเบี้ยนโยบายของไทย อยู่ที่ 1.25% 

ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐกับไทย(เครดิตสเปรด) ติดลบมากขึ้นมาอยู่ที่ 2.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.25% หรือทะลุ 1% สะท้อนกระแสเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์)  ยังไหลออกได้ต่อเนื่อง คาดว่าไหลออกเฉลี่ย 1,000-2,000 ล้านบาทต่อวัน  เทียบช่วงวิกกติแฮมเบอร์เกอร์ ดอกเบี้ยสหรัฐกับไทย มีเครดิตสเปรดต่างกัน ติดลบ 1%  และมีเงินไหลออก 2 พันล้านบาทต่อวัน 

นอกจากนี้  ทิศทางค่าเงินบาท เทียบดอลลาร์ ใยระยะสั้นแข็งค่าและระยะยาวอ่อนค่า หลังเงินบาทอ่อนค่าผ่านแนวต้านสำคัญที่  35.5  บาทต่อดอลลาร์ จนทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์ไปแล้ว และคาดว่า ยังมีโอกาสอ่อนค่าแตะ 36.5ได้  ทำให้กดดันฟันด์โฟลว์ยังไหลออกมากขึนได้ต่อเนื่องในระยะข้างหน้า           

นายเทิดศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทย ภายใต้มุมมอง กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยไทย 3 ครั้ง  แนวต้านสิ้นปีนี้ 1,750 จุด และแนวรับบวกลบ 1,500 จุด  โดยในไตรมาส 3 ปีนี้  มองแนวต้านสำคัญ 1,620 แนวรับ และปรับตัวลงต่อได้ หากดัชนีต่ำกว่า 1,570  เป็นจุดเหมาะสมเข้าซื้อ ทยอยสะสม ที่แนวรับแรก 1,540  จุด และถัดไป  1,515  จุด และ1,500 จุดบวกลบ  กลุ่มหุ้นน่าลงทุน มี 3 ธีม ได้แก่ 1.ธีม หุ้นเปิดเมือง (หุ้นเทิร์นอะราวด์) เช่น CRC BEM CPN CENTEL  2.ธีม เงินบาทอ่อนค่า เช่น  CPF   3. ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และสินเชื่อเติบโต กลุ่มแบงก์ เช่น  KTB  ส่วนในกลุ่มสื่อสาร อย่าง TRUE  ที่ยังมีอัพไซต์จากแผนการควบรวมใกล้เสร็จสิ้น