Sideways Down แนะซื้อ ASIAN PRINC JWD (4 ก.ค. 65)

Sideways Down แนะซื้อ ASIAN PRINC JWD (4 ก.ค. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways Down แนวต้าน 1,578 / 1,590 จุด แนวรับ 1,563 / 1,557 จุด แนะนำซื้อ ASIAN PRINC JWD ทางเทคนิคเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบขาลง 1,544-1,596 จุด ในลักษณะ Zig-Zag Down โดยจะมีสัญญาณขายเพิ่มหากหลุดแนวรับ 1,544 จุด

โมเมนตัมลบวันนี้ คือ รายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. ของประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ปรับลดลง และมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในเดือน ก.ค. ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Technical Recession (Fed สาขาแอตแลนต้าคาด 2Q22E US GDP เติบโตติดลบ -2.1% QoQ Vs 1Q21 GDP -1.6% QoQ) ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ EU รายงาน PPI เดือน พ.ค. คาดเติบโตลดลง (Vs เดือน เม.ย. +37.2% YoY, +1.2% MoM); Germany รายงานดุลการค้าเดือน พ.ค. คาดลดลง (Vs เดือน เม.ย. +1.3 พันล้านยูโร) ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯวันนี้ปิดทำการเนื่องในวันชาติ

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT CPN MINT KTB MAJOR (ซื้อ BDMS ขำย MEGA) และพอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS SAT PORT TOG (ซื้อ DOHOME ASK ขาย AH)

+ 2Q22E Earnings Play: กำไรเติบโตสูง > 15% YoY, 20% QoQ และมี % Upside ต่อราคาเป้าหมาย > 10% แนะนำPTT PLANB TOP CPALL VGI KCE MINT SPRC MAJOR BEM ธนาคารกำไรเติบโตดี TTB SCB BBL

+ จีนเปิดประเทศ: ท่องเที่ยวและสันทนาการ ขนส่งและโลจิสติกส์ พลังงานและสาธารณูปโภค AOT AAV ERW SHR SPA EKH WICE JWD PSL RCL KCE IVL PTTGC AGE

+/- หุ้นกลุ่มเช่าซื้อ / ลิสซิ่ง (รับสคบ. ประกาศเพดานดอกเบี้ย): +KKP TTB TISCO MTC TIDLOR SINGER –SAWAD BFIT S11 NCAP

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: TFG GFPT ASIAN TWPC NER SAPPE KCE BDMS BH

+ เงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด: กลุ่ม Anti-Commodities Play: SCC SCGP TASCO GULF GPSC

 

 

ปัจจัยลบ

- USA: ความเสี่ยง Recession สูงขึ้น โดย GDPNow ของเฟด สาขาแอตแลนต้า ปรับลดคาดการณ์ 2Q22E ลงเป็น -2% QoQ (Vs วันพฤหัสบดี -1% QoQ และสัปดาห์ก่อน 0% QoQ) เนื่องจากรายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. ต่ำสุดรอบเกือบสองปี โดยสถาบัน ISM อยู่ที่ 53 (Vs เดือน พ.ค. 56.1 และคาด 54.9) และสถาบัน S&P Global อยู่ที่ 52.7 (Vs เดือน พ.ค. 57) แต่ดีกว่าประเมินครั้งแรกที่ 52.4 2 เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่ชะลอตัว จากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลง และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2020

- Global Performance: สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นโลกส่วนใหญ่ปิดลบ ยกเว้น HSKI SET เพราะกังวลเศรษฐกิจเข้าสู่ Recession โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ นำลงโดย Nasdaq -4.13% WoW ตลาดหุ้นยุโรป CAC40 -2.34% WoW ตลาดหุ้นเอเชีย นำลงโดย JKSE-3.5% WoW, KOSPI-2.59% WoW

 

ปัจจัยบวก

+ Fund Flow: WTD นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 2.49 พันล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า ขาย -1.1 หมื่นล้านบาท) และกองทุนฯ ซื้อสุทธิต่อ +2.23 พันล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +8.04 พันล้านบาท) ส่วนสะสม เดือน มิ.ย. ต่างชาติ -2.93 หมื่นล้านบาท กองทุนฯ +1.87 พันล้านบาท

+ US Bond Yields 10 ปี Vs ไทย ลดลงต่อเนื่อง: ยิลด์สหรัฐฯ อยู่ที่ 2.95% (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า 3.19%, Peak 3.5% 14/6) ส่วนยิลด์ไทย 2.82% Vs สัปดาห์ก่อนหน้า 2.87% , Peak 3.41% 12/5 ) เป็นบวกต่อ Valuation หุ้นกลุ่ม High Growth (+กลุ่มอิงดอกเบี้ยขาขึ้น เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โรงไฟฟ้า)

 

ประเด็นสำคัญ

        - USA: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการ เนื่องในวันชาติ

        - EU: PPI เดือน พ.ค. คาดเติบโตลดลง (Vs เดือน เม.ย. +37.2% YoY, +1.2% MoM)

        - Germany: ดุลการค้าเดือน พ.ค. คาดลดลง (Vs เดือน เม.ย. +1.3 พันล้านยูโร)

 

 

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดบวก หลังร่วง 2 วัน: ดัชนีฯ แกว่งตัว Sideways กรอบแคบ 1,563.39-1,575.77 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,572.67 จุด +4.34 จุด วอลุ่มซื้อขาย 4.94 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +1.15% พาณิชย์ +0.74% พลังงานและสาธารณูปโภค +0.58% การแพทย์ +0.5% หุ้นบวก >4% SELIC MBK JAS CPH CPL PRINC K KASET TTCL SUTHA JWD VIH หุ้นลบ >4% DOHOME JTS BWG IMH HL CMO STP ONEE

+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกรับเปิดฤดูกาลไตรมาส 3 DJIA +1.05% S&P500 +1.06% Nasdaq +0.9% ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง นำขึ้นโดยหุ้นทั้ง 11 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อลุ้นผลกำไรบจ. 2Q22E (Reuter คาด +5.6% YoY แต่ลดจากช่วงต้นไตรมาสที่ +6.8% YoY) แต่กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ -3.8% หลัง Micron ผู้ผลิตชิปฯ รายงานกำไรแย่กว่าคาดและคาดการณ์ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ยังคงประสบปัญหาอุปทาน คอขวด ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ DAX +0.23% CAC40 +0.14% FTSE -0.01% นำขึ้นโดยหุ้นกลุ่ม Defensive (สาธารณูปโภค Health Care) และนำลงโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จากการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของ ECB ปลายเดือน ก.ค.

+ น้ำมันกลับมาปิดบวกแต่ทองปิดลบ: WTI +USD2.67 ปิดที่ USD108.43/บาร์เรล Brent +2.60 ปิดที่ USD111.63/บาร์เรล วิตกอุปทานตึงตัว หลังจากลิเบีย ประกาศต้องระงับการผลิตน้ำมันชั่วคราว เนื่องจากมีการประท้วงและการปิดล้อมท่าเรือ แต่ทองคำปิดลบ -USD5.80 ปิดที่ USD1,801.50/ออนซ์ เนื่องจากการแข็งค่าต่อเนื่องของสกุลเงิน USD +0.43% เป็น 105.14

 

ประเด็นสำคัญ

- Global Commodities: สัปดาห์ที่ผ่านมา CRB Index ร่วงต่อเป็นสัปดาห์ที่ 3 -2.22% WoW, -9.6% MoM นำลงโดยกลุ่มโลหะ (LME Index -14% MoM) และกลุ่มสินค้าเกษตร โดยราคา Copper -20.5% MoM อยู่ที่ USD3.5/ปอนด์ ต่ำสุดรอบ 17 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2021 เพราะกลัว Recession ส่วนราคา Palm Oil ใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 6 เดือน ที่ MYR4,500/ตัน เพราะ Indonesia ประกาศเพิ่มการส่งออกอีกอย่างน้อย 1 ล้านตัน และลดภาษีส่งออกเป็น USD488/ตัน จาก USD575/ตัน

- USA: รายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. ของ ISM พบว่าแย่กว่าคาดและต่ำสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2020 ที่ 53.0 (Vs คาด 54.9 และเดือน พ.ค. 56.1) เนื่องจาก 1. คำสั่งซื้อใหม่หดตัวครั้งแรกรอบ 2 ปี (49.2 Vs เดือน พ.ค. 55.1) เพราะดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 2. การจ้างงานลดลงต่อเนื่อง (47.3 Vs เดือน พ.ค. 49.6) แม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปทานคอขวดระยะกลางแล้ว

- EU: รายงานเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ +8.6% YoY (Vs คาด 8.4% YoY, เดือน พ.ค. 8.1% YoY) จากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นของ France, Spain, Italy หมวดพลังงานปรับขึ้น +41.9% YoY (Vs เดือน พ.ค. +39.1% YoY) หมวดอาหาร แอลกอฮอล์ ยาสูบ +8.9% YoY (Vs เดือน พ.ค. +7.5% YoY) ส่วนเทียบรายเดือนเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาด +0.8% MoM (เท่ากับเดือน พ.ค. แต่สูงกว่าคาดที่ +0.5% MoM) ขณะที่ภาคเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ โดยรายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. ลดลงเป็น 52.1 (Vs เดือน พ.ค. 54.6) ต่ำสุดรอบ 22 เดือน จากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง ทั้งนี้ ประธานอีซีบี Lagarde ส่งสัญญาณล่วงหน้าว่าจะไม่พบอัตราเงินเฟ้อต่ำเหมือนในอดีต และเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกรอบ 11 ปี ในการประชุม ECB ปลายเดือน ก.ค. ขณะที่ความเห็นของกรรมการอีซีบีคนอื่น ต้องการให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่า 0.25%

- UK: รายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. ต่ำสุดรอบ 2 ปี ที่ 52.8 (Vs เดือน พ.ค. 54.6) และต่ำกว่าประเมินครั้งแรกที่ 53.4 เพราะคำสั่งซื้อใหม่ลดลงเป็นครั้งแรกรอบ 17 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิงการบริโภค แต่ยังคงดีอยู่สำหรับสินค้าประเภทลงทุน

- Thailand: รายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 50.7 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ที่ 51.9 และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2021 เป็นผลจากคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกที่ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย แต่เริ่มมีสัญญาณลบจากคำสั่งซื้อใหม่ที่หดตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2021 และการจ้างงานเริ่มลดลง เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิต

+ China: สถาบัน Caixin รายงานภาคการผลิตเดือน มิ.ย. สู่ระดับขยายตัว 51.7 หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยดีกว่าคาดการณ์ที่ 50.1 และเพิ่มขึ้นสูงสุดรอบ 13 เดือน อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงกังวลต่อนโยบายคุมเข้มทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะ Recession

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: ASIAN TOP MTC KKP

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: ASIAN PRINC JWD

Derivatives: แนะเปิด Long S50U22 หลัง 10:30 น.