อ่อนตัว แนะซื้อ DOHOME MEGA CBG (1 ก.ค. 65)

อ่อนตัว แนะซื้อ DOHOME MEGA CBG (1 ก.ค. 65)

คาดดัชนีฯ อ่อนตัว แนวต้าน 1,579 / 1,591 จุด แนวรับ 1,556 / 1,542 จุด แนะนำซื้อ DOHOME MEGA CBG ทางเทคนิค ดัชนีฯ เกิด Reversal Pattern โดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการยืนยันการจบรอบการรีบาวนด์ โดยมีเป้าหมายการปรับลงที่ 1,542 จุด ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญ (จุดต่ำสุดวันที่ 17 มิ.ย. 2022)

หากหลุดบริเวณดังกล่าวจะเป็นสัญญาณขายเพิ่มเติม โมเมนตัมลบ คือ การกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังสหรัฐฯ รายงานตัวเลขการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือน พ.ค. ชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 3 (+0.2% MoM Vs เดือน เม.ย. +0.6% MoM, เดือน มี.ค. +1.2% MoM) ขณะที่เงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูง (Core PCE Price เดือน พ.ค. +4.7% YoY ดีขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก +4.9% YoY ในเดือน เม.ย.) สำหรับประเด็นที่ต้องติตตามวันนี้ ได้แก่ ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของประเทศญี่ปุ่น ไทย EU UK และ USA; รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือน มิ.ย. ของ EU ส่วนหุ้นใหม่คำนวณดัชนี SET50 / SET100 Index ช่วง 2H22 เริ่มต้นเป็นวันแรก

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT MEGA MINT KTB MAJOR (ขำย GULF และ JMART) และพอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS SAT DRT PORT TOG (ขำย WICE)

+ 2Q22E Earnings Play: TIDLOR PTT TOP CPALL CRC BEC KCE MINT BDMS VGI SPRC BEM MAJOR PTTEP และ OSP

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: TFG GFPT ASIAN TWPC NER SAPPE KCE

+/- เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด: -กลุ่ม Inflation Hedging (Commodities): PTTEP TOP BANPU AGE KSL +กลุ่ม Anti-Commodities Play: SCC SCGP TASCO GULF GPSC KCE DELTA

+/- COVID-19 สายพันธุ์ BA.4, BA.5: +กลุ่มการแพทย์ กลุ่มฉีดวัคซีนและเครื่องมือแพทย์: BCH CHG IMH STGT -กลุ่มเปิดเมืองเปิดประเทศ: CRC CPALL MAKRO HMPRO BH BDMS SHR SPA MINT ERW AOT

+/- SET50 / SET100 Index (มีผลวันที่ 1 ก.ค.-30 ธ.ค. 2022): +JMART JMT BLA (SET50) FORTH ONEE PSL TIPH (SET100) –RATCH STGT COM7 (SET50) BPP RS SIRI TVO (SET100)

 

 

 

ปัจจัยลบ

- USA: สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ +0.2% MoM ในเดือน พ.ค. (Vs เดือน เม.ย. ที่ +0.6% MoM) ชะลอตัวติดกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จนกระทบกาใช้จ่ายของประชาชน เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิด Recession เนื่อง GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาสมากยิ่งขึ้น

- USA: เฟด สาขาแอตแลนตา เปิดเผย GDPNow tracker คาดว่า GDP ใน 2Q22E จะเติบโตติดลบ 1.0% QoQ (Vs 0.3% QoQ ในวันที่ 27 มิ.ย. 2022 )

 

ประเด็นสำคัญ

- China: ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. คาดอยู่ที่ 50.1 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ที่ 48.1

- EU: ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. คาดอยู่ที่ 52 ลดลงจากเดือน พ.ค. ที่ 54.6

- EU: ประมาณการเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือน มิ.ย คาดที่ 8.40% YoY เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. ที่ 8.10% YoY

- USA: ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มิ.ย. คาดที่ 54.9 ลดลงจากเดือน พ.ค. ที่ 56.1

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยร่วงต่อเป็นวันที่ 2: ดัชนีฯ เผชิญแรงเทขายกดดันตลอดทั้งวัน ก่อนปิดตลาดที่ 1,568.33 จุด -17.85 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.1 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -2.55% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค -1.79% กลุ่มพาณิชย์ -1.44% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ -0.56% หุ้นบวก >4% WPH CM ASAP D SVH TFI EMC หุ้นลบ >4% JMART ICN SELIC SINGER KEX PSL WICE TMI BWG ITD JTS BABA80 CPH CMR

 

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปปิดลบ: DJIA -0.82% S&P500 -0.88% NASDAQ -1.33% หุ้น 8 จาก 11 กลุ่มอุตสาหกรรมปรับลดลง นำโดยกลุ่มพลังงาน เทคโนโลยี เนื่องจากกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังเฟดส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ CAC40 -1.80% DAX -1.69% FTSE -1.96% (ดัชนี STOXX600 -10.7% QoQ ใน 2Q22 แย่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2020) นำลงโดยกลุ่มธนาคาร -3.3% (ECB ให้ธนาคารประเมินความเสี่ยง หากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย) หลังจากธนาคารกลางต่าง ๆ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และฝรั่งเศสรายงานเงินเฟ้อสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน มิ.ย. +6.5% YoY

- น้ำมันและทองคำปิดลบ: WTI -USD4.02 ปิดที่ USD105.76/บาร์เรล Brent –USD1.45 ปิดที่ USD114.81/บาร์เรล หลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ยืนยันว่าเขาจะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียในเดือน ก.ค. เพื่อกดดันชาติรอบอ่าวเปอร์เซียเพิ่มผลิตน้ำมัน ขณะที่โอเปคพลัสมีมติเพิ่มกำลังการผลิตตามคาด 648,000 บาร์เรล/วัน ในเดือน ส.ค. ส่วนราคาทองคำร่วง -USD10.20 ปิดที่ USD1,807.30/ออนซ์ กังวลว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 6.3% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากดีดตัวขึ้น 6.3% ในเดือน เม.ย. เช่นกัน แต่ต่ำกว่าระดับ 6.6% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 1982

+ USA: กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 231,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 230,000 ราย นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับ 215,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิด การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐฯ

+ OPEC+: โอเปคพลัส ได้เสร็จสิ้นการประชุมในวันนี้แล้ว โดยที่ประชุมมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วัน ในเดือน ส.ค. โดยการเพิ่มกำลังการผลิตดังกล่าวสอดคล้องกับมติเดิมในการประชุมเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ซึ่งที่ประชุมในวันดังกล่าวตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วัน ทั้งในเดือน ก.ค. และ ส.ค. หลังจากที่เพิ่มกำลังการผลิต 432,000 บาร์เรล/วัน ในเดือน มิ.ย.

+ Thailand: ธปท. เห็นควรปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแล โดยยกเลิกการจำกัดอัตราจ่ายเงินปันผล จากเดิมที่จำกัดอัตราการจ่ายไม่เกิน 50% เนื่องผล stress test ชี้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่ง ขณะที่ปรับเงินนำส่ง FIDF กลับมาอยู่ที่ 0.46% ต่อปี ตั้งแต่ต้นปี 2023 เป็นต้นไป จากที่เคยปรับลดลงเหลือ 0.23% ต่อปี

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT JMART KCE BCH

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: DOHOME MEGA CBG

Derivatives: แนะ Wait&see หลัง basis risk พุ่ง