ผึ้งเอเชีย-ซินเจนทา ดันชาวสวน ผู้เลี้ยงผึ้ง รับมือ GAP

ผึ้งเอเชีย-ซินเจนทา ดันชาวสวน ผู้เลี้ยงผึ้ง รับมือ GAP

สมาคมผึ้งเอเชียจับมือซินเจนทา ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และผู้เลี้ยงผึ้งทั่วประเทศ เตรียมรับมือ GAP พัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ น้ำผึ้งกัญชา สร้างมูลค่าเพิ่ม ไร้คู่แข่งในตลาดโลก

ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร. สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ นายกสมาคมผึ้งเอเชีย เปิดเผยว่า  จากผลการศึกษาสมาคมฯ พบว่าชันผึ้ง (Propolis) และเหล็กในผึ้ง มีสรรพคุณทางยาในการต่อต้านไวรัสโดยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้กับร่างกาย สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของผึ้งเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่ช่วยผสมเกสร ยังเป็นตัวช่วยสำคัญให้เกิดความยั่งยืนในระบบนิเวศ พันธุ์พืช ผลไม้ ลูกไม้ป่า ที่เป็นอาหารของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กล้วนได้อาหารจากพืชที่เกิดจากการผสมเกสรของผึ้ง และผลพลอยได้จากน้ำผึ้งยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย สมดังคำกล่าวที่ว่า โลกนี้ต้องมีผึ้ง

ผึ้งเอเชีย-ซินเจนทา ดันชาวสวน ผู้เลี้ยงผึ้ง รับมือ GAP

ผึ้งเอเชีย-ซินเจนทา ดันชาวสวน ผู้เลี้ยงผึ้ง รับมือ GAP

ขณะเดียวกัน โครงการรักษ์ผึ้ง (Bee Love Project) เป็นโครงการระยะยาวที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้แต่ละคนตระหนึกถึงความสำคัญของผึ้ง ในการช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งในประเทศไทยผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมสำคัญ เสริมเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้ง อีกไม่นาน จะมีพืชเศรษฐกิจใหม่ เช่น กัญชา จะช่วยให้มีผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งจากดอกกัญชา เปิดโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้เป็นอย่างดี”

“ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา โครงการรักษ์ผึ้ง ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องการให้ความรู้กับผู้เลี้ยงผึ้งและชาวสวนผลไม้ รวมถึงการสร้างแหล่งอาหารให้ผึ้งผ่านทางมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ ศูนย์ส่งเสริมอาชีพ (ศูนย์ผึ้ง) จังหวัดจันทบุรี และโรงเรียนมะขามสรรเสริญ

เป้าหมายสำคัญต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้า ซินเจนทาจะร่วมกับสมาคมผึ้งเอเชีย และพันธมิตรทุกฝ่าย ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) ทั้งน้ำผึ้ง และผลไม้ มีการดูแลสุขภาพผึ้ง แนะนำการใช้สารเคมีทางเกษตรอย่างถูกต้อง หยุดใช้สารเคมีช่วงไม้ผลออกดอก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผึ้งและแมลงผสมเกสร มีระบบการสื่อสารและแจ้งเตือนในพื้นที่การวางรังผึ้ง 

 

ปี พ.ศ. 2565 ซินเจนทา ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานผู้เลี้ยงผึ้งและชาวสวนผลไม้อำเภอสอยดาว เพื่อเป็นจุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกร โดยปีที่ผ่านมาซินเจนทาร่วมกับภาครัฐให้คำแนะนำชาวสวนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราดไปกว่า 600 ราย และมีแผนจะขยายศูนย์ประสานงานไปยังอำเภออื่นๆ เพิ่มเติม

ผึ้งเอเชีย-ซินเจนทา ดันชาวสวน ผู้เลี้ยงผึ้ง รับมือ GAP

นอกจากนี้เรายังได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียนมะขามสรรเสริญ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน “รักษ์ผึ้ง” และสร้างแหล่งอาหารให้ผึ้ง เป้าหมายใหญ่ของซินเจนทา ต้องการส่งเสริมให้เจ้าของสวนผลไม้หันมาเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปด้วย สุดท้าย เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มทั้งจากไม้ผลและผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง

อีกทั้งช่วยเสริมสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน” นางสาววัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ Value Chain and Stewardship Lead, Thailand บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา กล่าว

ดร.สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ นักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารโครงการ “รักษ์ผึ้ง” กล่าวว่า “หัวใจสำคัญของความสำเร็จของโครงการ คือ การพัฒนาแหล่งอาหารสำหรับผึ้งได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากหลายพื้นที่ในประเทศไทย อาจมีบางแห่งแห้งแล้งเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบางพื้นที่อาจมีการใช้สารเคมีที่กระทบต่อระบบนิเวศน์ของผึ้ง

จึงได้ศึกษาวิจัยและจัดทำศูนย์เรียนรู้บนพื้นที่กว่า 20 ไร่ ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน กำลังศึกษาการใช้ผึ้งชันโรงเพิ่มผลผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพ วิจัยสมุนไพรไทยช่วยเหลือและฟื้นฟูสุขภาพผึ้ง รวมทั้งได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นแจ้งเตือนการฉีดพ่นสารเคมีเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงผึ้งทั่วประเทศ เมื่อสำเร็จคาดว่าจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและคุณภาพ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่ได้วางไว้”

 

สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจโครงการรักษ์ผึ้งพื้นที่ภาคตะวันออก สามารถติดต่ออบรมและดูงานได้ผ่านศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี โทร. 039-389-244 นายอานพ วนามี ประธานศูนย์ประสานงานผู้เลี้ยงผึ้งและชาวสวนไม้ผลอำเภอสอยดาว โทร. 084-725-2533 หรือ หลักสูตรต้นแบบวิชาผึ้งและกิจกรรมเสริมอาชีพ ได้ที่ อาจารย์สุพร พงศ์วิฑูรย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมะขามสรรเสริญ จังหวัดจันทบุรี โทร. 039-389-025 หรือชมคลิปแนะนำโครงการได้ที่ โลกนี้ ต้องมีผึ้ง 

 

“ความร่วมมือและการดำเนินโครงการรักษ์ผึ้งนี้ สอดคล้องกับแผนการฟื้นฟูขององค์การสหประชาชาติที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะในปีนี้ที่มุ่งเน้นในเรื่อง “การสร้างอนาคตร่วมกันเพื่อทุกชีวิต” (Building a shared future for all life) เพราะความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตที่สามารถสร้างกลับมาให้ดีขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของทุกคน และสนองต่อนโยบายภาครัฐด้านกลยุทธ์ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร สนับสนุนทั้งมูลค่าการค้าและส่งออกอีกด้วย”