Sideways เก็งกำไร RCL STGT TOP (1 มิ.ย. 65)

Sideways เก็งกำไร RCL STGT TOP (1 มิ.ย. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways แนวต้าน 1,666 / 1,674 จุด แนวรับ 1,652 (EMA 75 วัน) / 1,646 จุด แนะนำ เก็งกำไร RCL STGT TOP ทางเทคนิค ดัชนีฯ เข้าใกล้แนวต้านสำคัญบริเวณ 1,666 จุด และมีแนวโน้มชะลอตัว จากแรงขายทำกำไรในหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมา

ทำให้ระยะสั้นดัชนีฯ จึงมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบใกล้เคียงแนวต้านดังกล่าว โดยตลาดหุ้นวันนี้มีปัจจัยกดดันจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของยูโรโซนที่สูงขึ้น สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามวันนี้ คือ รายงานตัวเลข Manufacturing PMI ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงสุนทรพจน์ของประธานเฟด สาขานิวยอร์กและเซนต์หลุยส์

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

       +KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS DOD PM RS SIS SAT TMT PORT SMT TOG ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ AWC BEC JMART TCAP JMT CENTEL BH AOT EA MEGA MINT KTB PLANB (แนะนำขาย MEGA ซื้อ MAJOR) +Short Term/Tactical Play: Trading Buy

       +กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรลดลง: กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ GULF GPSC KTC AEONTS MTC SAWAD TIDLOR THANI ORI LH

      +กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของUSD: กลุ่ม Commodities Play PTTEP TOP ESSO BCP KSL

      +/-MSCI Rebalance: +JMT BDMS EA OSP BGRIM –STGT CPALL PTT RATCH AOT SCC SAWAD ADVANC PTTEP GULF

     -ฝีดาษลิง: กลุ่มท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบ หากพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย

 

ปัจจัยบวก

+ China: จีนเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ โดยล่าสุดมีออกมาถึง 33 มาตรการที่ครอบคลุมนโยบายการคลังและการเงิน ตลอดจนนโยบายด้านการลงทุน การบริโภค ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนการดำรงชีวิตของประชาชน

+ Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทย +5,807.20 ล้านบาท ส่งผลให้ ยอดสะสมเดือน พ.ค. อยู่ที่ 20,283.51 ล้านบาท และ YTD สะสมไปแล้วถึง 142,016.85 ล้านบาท

 

 

 

 

ปัจจัยลบ

- EU: เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งในเดือน พ.ค. (8.1% YoY Vs คาด 7.7% YoY) ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลว่า ECB อาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาด เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

 

ประเด็นสำคัญ

        - Opportunity Day: SFT UTP WP SGP AH SCM

        - EU: Unemployment Rate เดือน เม.ย. โดย Consensus คาดที่ 6.7% ลดลงจาก 6.8%

        - USA: JOLTs Job Openings เดือน เม.ย. โดย Consensus ที่ 11.4 ล้านตำแหน่ง ลดลงจาก 11.54 ล้านตำแหน่ง

        - Manufacturing PMI ของหลายประเทศ อาทิ จีน เยอรมัน EU UK USA

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 4: ดัชนีฯ แกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนที่ปรับตัวขึ้นในช่วงบ่ายของการซื้อขายปิดไปที่จุดสูงสุดของวันที่ 1,663.41 จุด +9.80 จุด วอลุ่ม ซื้อขาย 9.7 หมื่นล้านบาท กลุ่มการแพทย์ +1.65% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค +1.07% กลุ่มพาณิชย์ +1.00% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ +0.77% หุ้นบวก >4% THG BYD MOONG PSL CPH ESSO TCJ PRINC AFC ACC BIOTEC VARO TNPC PG หุ้นลบ >4% PSG KCC TVD D 

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ: DJIA -0.67% S&P500 -0.63% NASDAQ -0.41% ตลาดถูกกดดันจากความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในประธานเฟด สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือน จนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ส่วนหุ้นยุโรป CAC40 -1.43% DAX -1.29% FTSE +0.10% ปิดลบเป็นส่วนใหญ่ หลังเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือน พ.ค. นั้น กระตุ้นให้ นักลงทุนคาดการณ์ว่า ECB อาจจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น

 

 

 

 

+/- น้ำมันดิบปิดคละ ส่วนทองคำปิดลบ: WTI ลดลง -40 เซนต์ ปิดที่ USD114.67/บาร์เรล Brent เพิ่มขึ้น +USD1.17 ปิดที่ USD122.84/บาร์เรล การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน หลังมีกระแสข่าวว่า OPEC+ อาจระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซียในข้อตกลงด้านการผลิตของโอเปคพลัส ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งสมาชิกรายอื่น ๆ ของโอเปคพลัส กันผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปของรัสเซีย ส่วนราคาทองคำลดลง -USD8.90 ปิดที่ USD1,848.40/ออนซ์ เพราะเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

- Thailand: ธปท. มองแนวโน้มค่าเงินบาทยังมีความผันผวน จากปัจจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น จึงอยากให้ประชาชนและภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการดูแลและป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินไว้ ขณะที่ในช่วงเดือน พ.ค. เงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่อง สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ท่ามกลางภาวะตลาดการเงินโลกผันผวน จากความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด

- India: อินเดีย รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอินเดียขยายตัว 4.1% ในไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยขยายตัวน้อยสุดในรอบปี หลังจากที่ขยายตัว 5.4% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และขยายตัว 8.4% ในไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว

- EU: เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.1% ในเดือน พ.ค. จาก 7.4% ในเดือน เม.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7.7% เนื่องจากราคาสินค้ายังคงขยายตัวในวงกว้าง ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงราคาพลังงานอีกต่อไป เป็นผลจากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดำห์: SHR BE8 GFPT MEGA

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: RCL STGT TOP

Derivatives: แนะถือ Long S50M22