Sideways Up หุ้นเก็งกำไรรายวันแนะนำ JMT BDMS EA

Sideways Up หุ้นเก็งกำไรรายวันแนะนำ JMT BDMS EA

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,646 / 1,652 จุด (EMA 75 วัน) แนวรับ 1,630 / 1,627 จุด (EMA 200 / 10 วัน) ทางเทคนิคจะเกิดสัญญาณขาย หากไม่สามารถทะลุแนวต้านสำคัญที่ 1,652 จุด ขึ้นไปได้

โดยมีแนวรับหลักที่ 1,622 จุด แนะนำ Sell into rally ปัจจัยบวก คือ สัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณเงินเฟ้อ Peak Out ส่วนหุ้นเก็งกำไรรายวันแนะนำ JMT BDMS EA ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้ คือ MSCI Rebalance จะมีผลต่อราคาปิดวันนี้ (ส่งผลบวกและลบต่อหุ้นที่ถูกเพิ่มหรือถอดออกจากการคำนวณ) การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (EU) จนถึงวันที่ 31 พ.ค. (มาตรการแซงก์ชั่นน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มเติม เป็นโมเมนตัมบวกต่อกลุ่ม Commodities) รายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของเยอรมนี (ยังคงไม่ Peak out)

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

        +KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS DOD MC RS SIS SAT (ซื้อ TMT SMT TOG) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ AWC BEC JMART TCAP JMT CENTEL BH AOT EA MEGA MINT KTB PLANB (ขาย BDMS) +Short Term/Tactical Play: Trading Buy

        +กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรลดลง: กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ GULF GPSC KTC AEONTS MTC SAWAD TIDLOR THANI ORI LH

        +กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของ USD: กลุ่ม Commodities Play PTTEP TOP ESSO BCP KSL

       +/-MSCI Rebalance: +JMT BDMS EA OSP BGRIM –STGT CPALL PTT RATCH AOT SCC SAWAD ADVANC PTTEP GULF

       -ฝีดาษลิง: กลุ่มท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบ หากพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย

 

 

ปัจจัยบวก

+ USA: กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนี PCE ทั่วไปเดือน เม.ย. ชะลอตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2020 +6.3% YoY (Vs เดือน มี.ค. 6.6% YoY สูงสุดรอบ 40 ปี) ส่วนรายเดือนปรับลดลงเหลือ +0.2% MoM (Vs เดือน มี.ค. +0.9% MoM) ขณะที่ดัชนี Core PCE เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น +4.9% YoY (เท่ากับคาดการณ์ของตลาด) แต่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2020 ส่วนรายเดือนเพิ่มขึ้น +0.3% MoM (เท่ากับคาดการณ์ของตลาด และเท่ากับการเติบโตในเดือน มี.ค.)

+ USA: ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือน เม.ย. +0.9% MoM ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคาดการณ์ +0.7% MoM (แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. ที่+1.4% MoM) ช่วย ผ่อนคลายความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และทำให้คาดว่า 2Q22E GDP USA จะกลับมาเติบโตในแดนบวก

 

ประเด็นสำคัญ

        - MSCI Rebalance: มีผลต่อราคาปิดของหุ้นที่มีการถูกเพิ่มหรือถอดออกจากการคำนวณวันนี้

        - Opportunity Day: SHR PIN MEGA TRT MOONG DMT APCO WINMED S AMATAV DITTO TM BE8 PTT

        - Germany: รายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ค. คาด +7.6% YoY, +0.5% MoM (Vs เดือน เม.ย. 7.4% YoY, 0.8% MoM )

        - USA: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวัน Memorial Day

        - EU: การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป จนถึงวันที่ 31 พ.ค. (จับตา มาตรการ แซงก์ชั่นน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มเติม)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทย ปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 2: ดัชนีฯ ปรับขึ้นสูงสุดที่ 1,646.37 จุด ในช่วงเปิดตลาด ก่อนอ่อนตัวลง และปิดตลาดที่ 1,638.75 จุด +5.02 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.6 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มเหล็ก +3.2% พลังงานและสาธารณูปโภค +1.08% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +1.06% ธนาคาร +0.92% หุ้นบวก >4% KCE THG SEAOIL RAM BKD LHK CPH VARO AFC CRD D SANKO INOX หุ้นลบ >4% TTA DITTO PSL BIOTEC KASET HL

 

+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกแรง: DJIA +1.76% S&P500 +2.47% Nasdaq +3.3% หุ้นทั้ง 11 กลุ่มอุตสาหกรรมปรับขึ้นพร้อมกัน นำโดยกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย +3.47% เทคโนโลยี +3.44% โดยได้แรงหนุนจาก 1. ตลาดคลายความกังวลต่อเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟด หลังกระทรวงแรงงานรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ มีสัญญาณผ่านพ้นจุดสูงสุด (Peak Out) โดยดัชนี PCE เดือน เม.ย. ชะลอตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2020 +6.3% YoY (Vs เดือน มี.ค. 6.6% YoY สูงสุดรอบ 40 ปี) 2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจไม่รุนแรง หลังตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือน เม.ย. +0.9% MoM ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคาดการณ์ +0.7% MoM (แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. ที่ +1.4% MoM) 3. รายงานผลกำไรที่ดีกว่าคาดของ Dell, Autodesk ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเป็นวันที่ 3 DAX +1.62% CAC40 +1.64% FTSE +0.27% นำขึ้นโดยกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย หลังสหรัฐฯ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลง และตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อบริโภคที่แข็งแกร่ง

+ น้ำมันและทองคำปิดบวก: WTI +USD0.98 ปิดที่ USD115.07/บาร์เรล Brent +USD2.03 ปิดที่ USD119.43/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มอุปทานตึงตัวเนื่องจากสภายุโรปเตรียมมีมติคว่ำบาตรน้ำมันจากรัสเซียในการประชุมต้นสัปดาห์นี้และแนวโน้มอุปสงค์เพิ่มขึ้นช่วงเทศกาลขับรถท่องเที่ยวของสหรัฐฯ ช่วงสิ้นเดือน พ.ค.-ก.ย. ส่วนทองคำปิดบวกเล็กน้อย +USD3.40 ปิดที่ USD1,857.30/ออนซ์ จากการอ่อนค่าของสกุลเงิน USD และแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

+ Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 +6,870 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +9,362 ล้านบาท) หลังจากขายสุทธิ 2 สัปดาห์สะสม -5,429 ล้านบาท ส่งผล MTD เดือน พ.ค. ซื้อสะสม 10,803 ล้านบาท และ YTD ซื้อสะสม 1.32 แสนล้านบาท ส่วนตลาดอนุพันธ์ พบว่า นักลงทุนต่างชาติเปิด Long Set 50 Index Future ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ด้วยปริมาณสูง +43,576 สัญญา (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +67,365 สัญญา) รวม 2 สัปดาห์เปิด Long สะสม 110,941 สัญญา โดยเป็นการซื้อคืน หลังจากเปิด Short SET50 Index Future สะสม -112,7636 สัญญา ในช่วง 6 สัปดาห์ก่อนหน้า 

+ UK: รัฐบาลออกแพ็คเกจ Cost of Living Support ใหม่ อีกมูลค่า 15 พันล้านปอนด์ (ทั้งปีสะสมเป็น 37 พันล้านปอนด์) เน้นกลุ่มครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ เพื่อสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน โดยมีการใช้เงินจากการเก็บภาษีลาภลอย 25% จากกลุ่มพลังงานมาสนับสนุน โดยคาดว่าจะได้เงินสนับสนุนประมาณ 5 พันล้านปอนด์ ในช่วง 12 เดือน

- Thailand: ดุลการค้าเดือน เม.ย. พบว่า ขาดดุลครั้งแรกรอบ 3 เดือน -USD1,908.4mn. ส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 +9.9% YoY เป็น USD23,521.4mn. นำเข้า +21.5% YoY เป็น USD25,429.8mn. (Vs คาดการณ์ +USD0bn. ส่งออก +14.6% YoY นำเข้า+16.4% YoY และเดือน มี.ค. เกินดุล +USD1.46bn. ส่งออก +19.5% YoY นำเข้า +18% YoY) โดยการนำเข้าปรับสูงขึ้น เนื่องจาก Domestic Demand ที่ฟื้นตัว หลังผ่อนคลายมาตรการ ล็อกดาวน์ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น ส่วนการส่งออกมีการเติบโตต่ำสุดรอบ 3 เดือน เป็นผลจากผลกระทบของปัญหาอุปทานคอขวด เนื่องจากสงครามยูเครนและรัสเซีย ส่วน 4M22 พบว่า ส่งออก เติบโต 13.7% YoY เป็น USD 97,122.8mn. แต่ยังคงได้รับผลบวก จากความต้องการสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลบวกต่อสินค้าเกษตรและอาหาร การนำเข้าเติบโต 19.2% YoY เป็น USD99,975.1mn.

- China: UBS ปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจปี 2022E ลงเป็นครั้งที่ 3 เหลือ 3% จากเดิม 4.2% และเป็นกรอบต่ำสุดของประมาณการ CNBC ส่วน JP Morgan หั่นเป้าเป็น 3.7% จากเดิม 4.3% เพราะการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 จะไม่รวดเร็วเหมือนในปี 2020

- China: Industrial Profits เดือน ม.ค.-เม.ย. 2022 ขยายตัว +3.5% YoY เป็น CNY 26.58trn. ลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วง 3M22 ที่เติบโต +8.5% YoY เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นและปัญหาอุปทานคอขวดจากสงครามยูเครน

- กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน: Toyota Motors ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 27 พ.ค. ว่า บริษัทจะปรับลดการผลิตรถยนต์ทั่วโลกลงอีก 50,000 คัน สู่ระดับ 800,000 คัน ในเดือน มิ.ย. นับเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในสัปดาห์นี้

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนา Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: SHR BE8 GFPT MEGA

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: JMT BDMS EA

Derivatives: แนะเปิด Long S50M22 เมื่อย่อตัว