Sideways Up เก็งกำไร TOP IRPC PSL (23 พ.ค. 65)

Sideways Up เก็งกำไร TOP IRPC PSL (23 พ.ค. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,630 / 1,638 จุด (EMA 200 / 25 วัน) แนวรับ 1,611 / 1,607 จุด ทางเทคนิค จะเกิดสัญญาณซื้อเพิ่ม หากสามารถทะลุแนวต้านเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน โดยมีแนวต้านต่อไปที่ 1,650 จุด

แนะนำ เก็งกำไร TOP IRPC PSL ปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ รายงานดุลการค้าไทยเดือน เม.ย. สัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟด จากสุนทรพจน์ Fed Atlanta Bostic, Fed Kansas George (มีสิทธิ์โหวต) แนวโน้มเศรษฐกิจโลก จากงาน World Economic Forum

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

     +KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS MC PM RS SIS (เพิ่ม ซื้อ TACC PORT) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ AWC BEC TCAP JMT BH AOT MEGA KKP MINT KTB BDMS PLANB (เพิ่ม ซื้อ CRC CENTEL) +Short Term/Tactical Play: Trading Buy ที่แนวรับ

     +/-กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรขาขึ้น: +BBL KBANK KKP BLA TIPH –กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

     +กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: SMT SAPPE TWPC NER SABINA

     +กลุ่ม Commodities Play: PTTEP TOP ESSO BCP SPRC IRPC

     +กลุ่มอิงการบริโภคในประเทศ: MAKRO ICHI SAPPE CENTEL ERW

 

ปัจจัยบวก

+ ศบค.: ที่ประชุมวันศุกร์ มีมติตามคาด โดยปรับลดพื้นที่โซนควบคุมเหลือเพียง เขียว ฟ้า เหลือง และผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. รวมถึงปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศได้เร็วขึ้น (เป็นบวกต่อกลุ่มค้าปลีก เครื่องดื่ม และท่องเที่ยว)

+ China: ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 5 ปี ครั้งใหญ่สุดรอบ 3 ปี และสูงกว่าคาดการณ์ของตลาด โดยปรับลดลง 0.15% เป็น 4.45% (Vs คาดลด 0.1%)

 

 

 

 

 

ประเด็นสำคัญ

      - ไทย: ดุลการค้าเดือน เม.ย. คาด USD0bn. (Vs เดือน มี.ค. เกินดุล +USD1.46bn. ส่งออก 19.5% YoY, นำเข้า +18% YoY)

      - Germany: รายงานดัชนีวัดความเชื่อมั่น Ifo Business Climate เดือน พ.ค. คาด 92.1 (Vs เดือน เม.ย. 91.8) และ Ifo Expectations เดือน พ.ค. คาด 87.3 (Vs เดือน เม.ย. 86.7)

      - การสัมมนาทางเศรษฐกิจ งาน World Economic Forum ระหว่างวันที่ 22-26 พ.ค. ที่เมืองดาวอส

      - Japan: ประธานาธิบดีไบเดน เยือนญี่ปุ่นต่อจากเกาหลีใต้ เมื่อวันอาทิตย์

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวกต่อเนื่อง: ดัชนีฯ เปิดกระโดดขึ้นตั้งแต่เปิดตลาด และเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways Up ขึ้นไปสูงสุดที่ 1,626.16 จุด ก่อนอ่อนตัวมาปิดตลาดที่ 1,622.95 จุด +16.97 จุด แต่ด้วยวอลุ่มลดลงเหลือ 6.62 หมื่นล้านบาท (รวมหุ้น IPO ใหม่ PLUS วอลุ่ม 4.35 พันล้านบาท) นำขึ้นโดยกลุ่มบรรจุภัณฑ์ +2.15% ธนาคาร +1.66% พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ +1.48% เงินทุนและหลักทรัพย์ +1.28% หุ้นบวก >4% PLUS CBG FSMART TTA FORTH JAS SFLEX SABUY DITTO CPH ASAP D ETC IP STARK หุ้นลบ >4% FTI CEYE ALL KCC KASET MONO CAZ

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดผสม ส่วนตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดบวก: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ หลังจากเคลื่อนไหวระหว่างวันอย่างผันผวน DJIA +0.03% S&P500 +0.01% Nasdaq -0.3% โดยหุ้น 6 ใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น นำขึ้นโดยกลุ่มการแพทย์ +1.26% และนำลงโดยกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย-1.5% ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกต่อเนื่อง DAX +0.72% CAC40 +0.2% FTSE +1.19% นำขึ้นโดยกลุ่ม Defensive (การแพทย์ สาธารณูปโภค) และข่าวดีจากจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

+ น้ำมันและทองคำปิดบวก: WTI +USD1.02 ปิดที่ USD113.23/บาร์เรล Brent +USD0.51 ปิดที่ USD112.55/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากการวิตกต่อปัญหาอุปทานตึงตัวในตลาดโลก หลังจากสหภาพยุโรปเริ่มมีสมาชิกสนับสนุนเพิ่มขึ้นต่อการแซงก์ชั่นน้ำมันนำเข้าจากรัสเซีย และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีของจีนช่วยเพิ่มอุปสงค์น้ำมันดิบโลก ส่วนทองคำปิดขึ้นเล็กน้อย +USD0.90 ปิดที่ USD1,842.10/ออนซ์ จากแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

+ China: ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 5 ปี ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของภาคครัวเรือนจีนลดลง 0.15% เป็น 4.45% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 0.1% เป็น 4.5% (เดิม 4.6%) และเป็นการปรับลดครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 เพื่อช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายครัวเรือน หลังจากรับผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุม COVID-19 ส่วนอัตราดอกเบี้ยประเภท 1 ปี ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคเอกชนคงไว้ที่ระดับเดิม 3.7%

+ Fund Flow: การลงทุนในตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อสุทธิ +9,362 ล้านบาท หลังจากขายสุทธิ 2 สัปดาห์สะสม -5,429 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิเป็นสัปดาห์ที่ 15 ในรอบ 17 สัปดาห์ (YTD สะสม +1.25 แสนล้านบาท) ส่วนตลาดอนุพันธ์ พบว่า นักลงทุนต่างชาติกลับมาเปิด Long Set 50 Index Future สูงถึง +67,365 สัญญา หลังจากเปิด Short SET50 Index Future สะสม 5 จาก 6 สัปดาห์ จำนวน -112,7636 สัญญา (Vs สัปดำห์ก่อนหน้า -15,510 สัญญา)

+ นักลงทุนสถาบันในประเทศ: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 จำนวน +1,678 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า + 4,491 ล้านบาท) โดยเป็นการซื้อเป็นสัปดาห์ที่ 3 ในรอบ 15 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี YTD ยังคงขายสะสมสูงถึง -8.93 หมื่นล้านบาท

+ กลุ่มโรงกลั่น / ปิโตรเคมี: ผลจากเกิดเหตุระเบิดที่โรงกลั่นน้ำมันของบริษัท เอส-ออยล์ ในเมืองอุลซาน ทางใต้ของประเทศเกาหลีใต้ เมื่อคืนวันพฤหัสบดี (19 พ.ค.) มีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 669,000 บาร์เรล/วัน (ขนาดใหญ่กว่าโรงกลั่นที่ใหญ่สุดในไทยกว่า 2 เท่า ในเบื้องต้นคาดว่าจะส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหา Supply ตึงตัวอยู่แล้ว รองลงมาเป็นบวกต่อปิโตรเคมี สาย PX, BZ, PP ที่ปัจจุบันมีภาวะ Oversupply อยู่ และเป็นลบต่ออุปสงค์น้ำมันดิบลดลง โดยหากประเมินจากการกลั่นกำลังการผลิต 669 KBD คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.8% ของการใช้น้ำมันดิบทั่วโลก และคิดเป็น 0.7% ของกำลังการผลิตโรงกลั่นโลก ส่วนปิโตรเคมีมีสัดส่วน PX 2.5% BZ 0.9% และ PP 0.4% ของกำลังการผลิตโลก (คาดหุ้น TOP จะได้ประโยชน์สูงสุด จากทั้งค่าการกลั่น และปิโตรเคมี PX BZ ขณะที่ IRPC ได้จากสาย BZ PP)

+ กลุ่มโลจิสติกส์: ผลกระทบจากการเกิดปัญหา Supply Disruption รอบใหม่ คาดว่าจะส่งผลบวกต่อความต้องการสินค้าเกษตรต้นน้ำเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลบวกต่อกลุ่มโลจิสติกส์ เรือเทกอง เรือคอนเทนเนอร์ จากการเร่งสำรองสินค้า เพื่อรองรับความต้องการ

- ค่าเงินเยน: อดีตรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น ซากากิบาระ เจ้าของฉายา มิสเตอร์เยน คาดว่าเงินเยนมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องไปที่ 140-150 เยน/USD ใกล้เคียงกับระดับเดียวกันในปี 1990 เนื่องจากความแตกต่างของการดำเนินนโยบายการเงิน

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดำห์: TOP RCL PSL CHAYO

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: TOP IRPC PSL

Derivatives: แนะรอเปิด Long S50M22 เมื่ออ่อนตัว