เปิดสถิติ “เงินเฟ้อ” 16 ปีย้อนหลัง น่าห่วงแค่ไหน?

เปิดสถิติ “เงินเฟ้อ” 16 ปีย้อนหลัง น่าห่วงแค่ไหน?

เปิดสถิติเงินเฟ้อ 16ปีย้อนหลัง ขึ้นมาน้อยแค่ไหน ชี้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น หลังซัพไพร์มดันเงินเฟ้อพุ่งปรี๊ดทะลุ5% ชี้วิกฤติที่ส่งผลเงินเฟ้อสูง พบเงินเฟ้อตกค้างต่อเนื่องไปอีก 2-3ปี จับตาเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่อง ส่งผ่านสู่ต้นทุนอาหาร ที่อยู่อาศัย ค่าขนส่งเพิ่ม

      ประเด็นความกังวล “เงินเฟ้อ”แม้จะเริ่มซาๆลงบ้าง แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ห่วงต่อเนื่อง เงินเงินเฟ้อ ยังทรงตัวระดับสูง เหนือ 4%

      ยิ่งเงินเฟ้อขึ้นมาก และกินระยะเวลามาก ก็ยิ่งกระทบต่อผู้บริโภคอย่างๆเราๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเงินเฟ้อยิ่งเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งส่งผ่านมาสู่ ต้นทุนราคาสินค้าต่างๆให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

      โดยเฉพาะเงินเฟ้อ ที่มาจากภายนอก หรือเงินเฟ้อที่มาจาก ปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน

    ล้วนส่งผลกระทบไปสู่ประชาชนโดยตรงให้ซื้อของแพงขึ้น ทั้งหมวดอาหาร น้ำมัน การขนส่งฯลฯ

     “นริศ สถาผลเดชา” หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า การเผชิญภาวะ “เงินเฟ้อสูง” อาจไม่ใช่เรื่องที่แปลกมากสำหรับประเทศไทย

      เพราะหากย้อนดูสถิติในช่วงที่ผ่านมา ไทยต้องเผชิญกับเงินเฟ้อสูงอยู่หลายระลอก โดยเฉพาะหากย้อนหลังไปถึง 16 ปี จนถึงปัจจุบัน พบว่าเงินเฟ้อได้ปรับขึ้นหลายระลอก
     โดยหากย้อนไปดูเงินเฟ้อเมื่อปี 2551 หลังจากทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจาก วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือซับไพรม์ ขณะนั้น น้ำมันวิ่งสูงใกล้เคียงปัจจุบันที่ 110-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้เงินเฟ้อไทยปรับตัวขึ้นไปสู่ 5.19%

      ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่างๆทั้งการบริโภค อุปโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งค่าไฟ น้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง อาหาร เนื้อสัตว์ต่างๆ 
      หรือตอนน้ำท่วม ที่สินค้าต่างๆขาดแคลนในปี 2554 ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกระลอกที่ระดับ 3.81%แต่ที่น่าสงเกตคือ แม้จะผ่านช่วงที่เงินเฟ้อสูงไปแล้ว แต่จากวิกฤติต่างๆแต่เงินเฟ้อ  ยังคงทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง หรือตกค้างต่อไปอีก 2-3 ปี ให้หลังได้
       ดังนั้นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่แปลก หรือน่าตกใจ เพราะอิทธิพลของเงินเฟ้อ หลังเพิ่มขึ้น มักไม่ได้ใช้เวลาลงอย่างรวดเร็ว 

      ส่วนแนวโน้มปี 2565 คาดการณ์ว่า มีโอกาสที่เงินเฟ้อ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5% ได้ จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา ที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4.72%

     ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นอีกมีโอกาสสูง และโอกาสที่เห็นเงินเฟ้อตกค้างต่อเนื่องในระยะข้างหน้าก็มีโอกาสเช่นกัน
    เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ส่งผ่านไปสู่อะไรบ้าง? หากดูทั้งหมวดอาหาร บ้าน และการขนส่ง เงินเฟ้อมีผลพวงสำคัญทำให้ต้นทุนเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
         อย่างปีที่เงินเฟ้อสูงๆปี 2551 เงินเฟ้อที่สูง ส่งผ่านไปสู่ต้นทุนอาหารให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 11.56% ขนส่ง 6.38% ปีช่วงปีนี้ ที่เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น

      เปิดสถิติ “เงินเฟ้อ” 16 ปีย้อนหลัง น่าห่วงแค่ไหน? ส่งผ่านไปสู่ต้นทุนอาหารให้เพิ่มขึ้นที่ 4.07%  ไปสู่ต้นทุนที่อยู่อาศัย 3.28% และที่มากที่สุด คือภาคขนส่ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 10.22% 
    ดังนั้นเงินเฟ้อ ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล และน่าห่วง เพราะเป็นปัจจัยส่งผ่านโดยตรงต่อผู้บริโภค ตราบใดที่เงินเฟ้อยังทรงตัวระดับสูง ผู้บริโภคก็อาจได้รับผลกระทบจากสินค้าแพงต่อเนื่อง