Sideway Down เก็งกำไร BLA PTTEP SPRC (12 พ.ค. 2565)

Sideway Down เก็งกำไร BLA PTTEP SPRC (12 พ.ค. 2565)

คาดดัชนีฯ Sideway Down แนวต้าน 1,622 / 1,637 จุด (EMA 200 วัน) แนวรับ 1,604 / 1,592 จุด ทางเทคนิค ดัชนีฯ จะเกิดสัญญาณยืนยันรูปแบบ Reversal Pattern พลิกเป็นขาขึ้น ต่อเมื่อดัชนีฯ ยืนเหนือ 1,637 จุด

ปัจจัยถ่วงตลาดวันนี้ มาจากตัวเลข CPI เดือน เม.ย. ของสหรัฐฯ แม้จะปรับลดลง แต่ยังสูงกว่าคาดการณ์ โดยขยายตัว 8.30% YoY Vs คาด 8.10% YoY และเ ดือน มี.ค. 8.5% YoY ส่งผลให้ตลาดยังมีความกังวลต่อการเร่งคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด เพื่อสกัดเงินเฟ้อ (-กลุ่มเทคโนโลยี เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ผลิตไฟฟ้า) ขณะที่หุ้นกลุ่มอิงน้ำมันดิบโลกวันนี้ คาดปรับขึ้นรับการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบโลก แนะนำ เก็งกำไร BLA PTTEP SPRC ส่วนประเด็นวันนี้ จับตารายงานตัวเลข GDP Growth 1Q22 ครั้งที่ 1 ของ UK และตัวเลข PPI เดือน เม.ย. ของสหรัฐฯ รวมถึงการประกาศงบการเงิน 1Q22E ของบจ.ไทย

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS MC TACC SAT TMT SMT TOG (แนะนำขาย TFG) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ CRC AWC BEC TCAP JMT BH AOT SPRC KKP MINT KTB TTB MAJOR BLA

+กลุ่ม Earnings Play (ดูรายงาน Tactical Play): BE8 CPW PYLON ESSO SISB - HENG HTC STGT AEONTS SCCC

+/-กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรขาขึ้น: +BBL KBANK KKP BLA TIPH –กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

+กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: KCE HANA SMT SAPPE TWPC NER SABINA 

+/-MSCI Rebalance: +JMT COM7 –STGT BGRIM

 

ปัจจัยบวก

+Oil Price: ราคาน้ำมัน WTI กลับปิดบวก หลังจากยูเครนระงับท่อส่งพลังงานบางส่วน ส่งผลให้ปริมาณแก๊สจากรัสเซียที่ลำเลียงผ่านต่อดังกล่าวสูงสู่ทวีปยุโรปลดลง 1 ใน 4 ของปริมาณทั้งหมด

 

 

ปัจจัยลบ

-Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย โดยวานนี้ขายสุทธิในตลาดหุ้น-2,928.07 ล้านบาท และเปิด Short สุทธิใน SET50 Index Futures -3,811 สัญญา

-US Inflation: CPI เดือน เม.ย. ของสหรัฐฯ ยังคงทรงตัวในระดับสูง แม้จะเริ่มปรับลดลงเป็นเดือนแรกรอบปีนี้ +8.30% YoY (Vs คาด 8.10% YoY และเดือน มี.ค. 8.5% YoY) และ Core CPI +0.6% MoM (คาด +0.4% MoM และเดือน มี.ค. +0.3% MoM) ส่งผลให้ตลาดยังคงมีความกังวลต่อการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดสูงกว่า ที่คาด รวมถึงอาจจะมีการเร่งคุมเข้มนโยบายการเงินเพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ระดับเงินเฟ้อปรับตัวลดลง

 

ประเด็นสำคัญ

        - ผู้นำอาเซียนประชุมนัดพิเศษกับประธานาธิบดีไบเดน ที่สหรัฐฯ

        - รมว.ตปท.กลุ่ม G-7 ประชุมจนถึงวันที่ 15 พ.ค.

        - UK: ราย GDP Growth 1Q22 ครั้งที่ 1 โดย Consensus คาด 1% QoQ Vs 4Q21 +1.3% QoQ

        - USA: PPI เดือน เม.ย. คาด 1.4% MoM (Vs เดือน มี.ค. +0.5% MoM)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดลบ: ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน จากแรงขายลดความเสี่ยงระหว่างรอการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ก่อนปิดตลาดที่ 1,613.34 จุด -9.44 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.1 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มพาณิชย์ -1.91% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ -1.88% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -0.90% กลุ่มธนาคาร -0.64% หุ้นบวก >4% OR CAZ TAKUNI SEAOIL GSC SFLEX CMAN ALL SONIC CSS ACC D BBIK MSC หุ้นลบ >4% JMT IRPC COM7 MAKRO JMART WICE SABUY CEYE RCL THANI FSMART KCC BFIT BGT 7UP THANA J AMANAH AS KAMART WORK NCAP THREL
 

 

 

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: DJIA -1.02% S&P500 -1.65% NASDAQ -3.18% หลังรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย. สูงกว่าคาด ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก CAC40 +2.50% DAX +2.17% FTSE +1.44% หลังได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน และหุ้นที่อ่อนไหวต่อเศรษฐกิจพุ่งขึ้นขานรับสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ชะลอลง

+ น้ำมันดิบและทองคำกลับมาปิดบวก: WTI +USD5.95 ปิดที่ USD105.71/บาร์เรล Brent +USD5.05 ปิดที่ 107.51/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าการขนส่งก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรปโดยผ่านทางยูเครนนั้นมีปริมาณลดลงไป 1/4 เนื่องจากยูเครนปิดเส้นทางหลักในการลำเลียงขนส่ง ส่วนราคาทองคำปรับสูงขึ้น +USD12.70 ปิดที่ USD1,853.70/ออนซ์ จากความกังวลต่อข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่สูงเกินคาด ผลักดันให้นักลงทุนหันถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

- Thailand: กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2022 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-4% ตามเดิม หากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอยู่ ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งคงประมาณการการส่งออกจะยังขยายตัวในกรอบ 3-5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5% แต่เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะเงินเฟ้อและต้นทุนพุ่งสูงขึ้นแม้แนวโน้มการท่องเที่ยวจะดีขึ้นกว่าประมาณการเดิม

- Malasia: ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 2% อย่างเหนือความคาดหมาย จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.75% เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ขณะที่ประเทศเดินหน้าฟื้นตัวจาก COVID-19 อย่างต่อเนื่อง

- USA: กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้น 8.3% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.1% แต่ต่ำกว่าระดับ 8.5% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 1981 นอกจากนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.2% แต่ต่ำกว่าระดับ 1.2% ในเดือน มี.ค. ขณะเดียวกันดัชนี CPI พื้นฐาน พุ่งขึ้น 6.2% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.0% แต่ต่ำกว่าระดับ 6.5% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 1982

+ USA: ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ เผยรัฐบาลสหรัฐฯ จะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าผู้บริโภคในสหรัฐฯ

+ Ukrain: ยูเครนเตรียมระงับการขนส่งก๊าซของรัสเซียไปยังยุโรปผ่านเส้นทางสำคัญในวันพุธนี้ (11 พ.ค.) โดยอ้างว่ามีชัยชนะเหนือกองกำลังของรัสเซีย รวมถึงได้ทำการยึดคืนหมู่บ้าน 4 แห่ง รอบเมืองคาร์คิฟ

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT SMT BE8

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: BLA PTTEP SPRC

Derivatives: แนะรอเข้า Short ช่วงบ่าย หากต่ำกว่า 955 จุด