ผันผวน เก็งกำไร KKP JMART JMT (11 พ.ค. 2565)

ผันผวน เก็งกำไร KKP JMART JMT (11 พ.ค. 2565)

คาดดัชนีฯ ผันผวน แนวต้าน 1,632 / 1,637 จุด (EMA 200 วัน) แนวรับ 1,610 / 1,593 จุด ทางเทคนิค ดัชนีฯ จะเกิดสัญญาณยืนยันรูปแบบ Reversal Pattern พลิกเป็นขาขึ้น

หากดัชนีฯ วันนี้สามารถยืนเหนือ 1,637 จุด และเป็นสัญญาณซื้อคืน เพื่อเก็งกำไร แนะนำ เก็งกำไร KKP JMART JMT ส่วนประเด็นวันนี้ จับตารายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ของสหรัฐฯ (หากปรับตัวลดลง Peak Out จะช่วยลดความกังวลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และเป็นโมเมนตัมบวกต่อหุ้นกลุ่มอิงดอกเบี้ย ได้แก่ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โรงไฟฟ้า) และการประกาศงบการเงิน 1Q22E ของบจ.ไทย อาทิ TOP SPRC INTUCH OR (จะส่งผลต่อราคาหุ้นรายตัว หากออกมาดีหรือแย่กว่าคาด)

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

      +KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS MC TACC TFG SAT TMT SMT TOG ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ CRC AWC BEC TCAP JMT BH AOT SPRC KKP MINT KTB TTB MAJOR BLA (แนะนำขาย GULF BA)

      +กลุ่ม Earnings Play (ดูรายงาน Tactical Play): BE8 CPW PYLON ESSO SISB -HENG HTC STGT AEONTS SCCC

      +/-กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรขาขึ้น: +BBL KBANK KKP BLA TIPH –กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

      +กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: KCE HANA SMT SAPPE TWPC NER SABINA

      +/-MSCI Rebalance: +JMT COM7 –STGT BGRIM

 

ปัจจัยบวก

     +Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 2,430.39 ล้านบาท โดยยอดซื้อสุทธิ NVDR บ่งชี้ว่ามีการเข้าซื้อสะสมในหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวลงแรงก่อนหน้านี้ เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มยางพารา กลุ่มวัสดุก่อสร้าง

    +US Inflation: ตลาดคาดการณ์เงินเฟ้อเดือน เม.ย. ที่ 8.10% YoY ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +8.5% YoY หากออกมาลดลงตามคาด จะทำให้ระยะสั้นตลาดคลายความกังวลต่อการเร่งคุมเข้มนโยบายการเงิน และทำให้สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว

 

 

 

ปัจจัยลบ

      -Oil Price: ราคาน้ำมัน WTI ปิดลบต่อเนื่อง จากความกังวลอุปสงค์ชะลอตัว จากผลกระทบนโยบาย Zero Covid-19 ในจีน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจ เช่น ตัวเลขการส่งออกเดือน เม.ย. ขยำยตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า

 

ประเด็นสำคัญ

       จีน: เงินเฟ้อเดือน เม.ย. คาด 1.8% (Vs เดือน มี.ค. 1.5%)

       เยอรมนี: เงินเฟ้อเดือน เม.ย. คาด 7.4% (Vs เดือน มี.ค. 7.3%)

       USA: เงินเฟ้อเดือน เม.ย. คาด 8.1% (Vs เดือน มี.ค. 8.5%)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวปิดบวก: ดัชนีฯ ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังลงไปต่ำสุดที่ 1,592.64 จุด ใน 15 นาทีแรกของการซื้อขาย ก่อนปิดตลาดที่ 1,622.78 จุด +18.29 จุด วอลุ่มซื้อขาย 8.3 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ +2.52% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +2.09% กลุ่มพาณิชย์ +1.69% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ +1.38 หุ้นบวก >4% JMART MTC STA CEYE BGRIM SINGER CFRESH FSMART CKP FORTH CAZ AMATA หุ้นลบ >4% FNS KAMART SA BCH THE ALLA STI

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: DJIA -0.26% S&P500 +0.25% NASDAQ +0.98% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวผันผวน ก่อนปิดผสมผสาน โดยได้แรงหนุนจากแรงซื้อเก็งกำไร หลังดิ่งลงหนักหนึ่งวันก่อนหน้า นำขึ้นโดยกลุ่มอสังหาฯ สาธารณูปโภค เทคโนโลยี และนำลงโดยกลุ่มธนาคารฯ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก CAC40 +0.51% DAX +1.15% FTSE +0.37% ฟื้นตัว จากระดับต่ำสุดรอบ 2 เดือน เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าช้อนซื้อหุ้น ซึ่งร่วงลงแรงจากแรงเทขายก่อนหน้านี้ ท่ามกลางความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง

 

 

 

- น้ำมันดิบและทองคำ ปิดลบต่อเนื่อง: WTI -USD3.33 ปิดที่ USD99.76/บาร์เรล Brent -USD3.48 ปิดที่ USD102.46/บาร์เรล จากแนวโน้มอุปสงค์อ่อนแอจากเหตุล็อกดาวน์สกัด COVID-19 ในจีนและดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น เช่นเดียวกับราคาทองคำร่วงต่อ -USD17.60 ปิดที่ USD1,841.00/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง (Dollar Index ปิดที่ 103.92 +0.26%)

 

ประเด็นสำคัญ

+ Thailand: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติในการทำงำนของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ และมีเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบ จะได้ใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

- Thailand: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. 2022 อยู่ที่ระดับ 40.7 ลดลงจากเดือน มี.ค. 2022 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 8 เดือน สัญญาณความเชื่อมั่นไม่ค่อยดี และยังไม่เห็นแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งความเชื่อมั่นที่ลดลงนี้มีผลจากปัญหาค่าครองชีพเป็นหลัก และราคาน้ำมัน ตลอดจนราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจยังไม่มีภาพของการฟื้นตัว และเมื่อมองไปในอนาคตผู้บริโภคมองว่าเศรษฐกิจจะยังซึมตัวต่อเนื่อง

- ASEAN: นักเศรษฐศำสตร์ BofA Securities เปิดเผยว่า ภูมิภำคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดควมวุ่นวายในสังคม หากราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากจำนวนเงินที่คนในประเทศต่าง ๆ เช่น ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และเวียดนาม ใช้จ่ายไปกับค่าอาหารมีสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

- USA: ประธานเฟด สาขานิวยอร์กและแอตแลนตา กล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ย FED Fund Rate 0.5% ในการประชุม 2-3 ครั้งข้างหน้า เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT SMT BE8

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: KKP JMART JMT

Derivatives: Wait & see