Sideways Up เก็งกำไร PSL PTTEP SMT (9 พ.ค. 65)

Sideways Up เก็งกำไร PSL PTTEP SMT (9 พ.ค. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,633 จุด (EMA 200 วัน) / 1,643 จุด แนวรับ 1,617 / 1,610 จุด ทางเทคนิค อยู่ในทิศทางขาลงทดสอบแนวรับของกรอบ Up Channel 1,595-1,735 จุด แต่เริ่มมีแนวโน้มเกิดรีบาวนด์สั้น ๆ

เนื่องจากการเริ่มเข้าเขต Oversold ของสัญญาณ Oscillator แนะนำ เก็งกำไร PSL PTTEP SMT ประเด็นวันนี้ จับตารายงานดุลการค้าเดือน เม.ย. ของจีน (คาดเกินดุลสูงขึ้นเป็น +USD50.65bn. จากนำเข้าลดลง) ญี่ปุ่นรายงานภาคบริการเดือน เม.ย. (คาดดีขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์) สหรัฐฯ รายงาน Consumer Inflation Expectation เดือน เม.ย. (คาดเพิ่มขึ้นเป็น 6.8% YoY Vs เดือน มี.ค. +6.6% YoY)

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS MC TACC TFG SAT TMT (แนะนำขาย DOD SMT ซื้อ TOG) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC TCAP JMT BH AOT EA SPRC KKP MINT KTB MAJOR BLA (ขาย JMART ซื้อ TTB)

+กลุ่ม Earnings Play (ดูรายงาน Tactical Play): BE8 CPW PYLON ESSO SISB -HENG HTC STGT AEONTS SCCC

+/-กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากยิลด์พันธบัตรขาขึ้น: +BBL KBANK KKP BLA TIPH –กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า เงินทุนและหลักทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

+กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: KCE HANA SMT SAPPE TWPC NER SABINA

+/-MSCI Rebalance: +JMT COM7 –STGT BGRIM

 

ปัจจัยลบ

- Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติ กลับมาขายสุทธิเป็นสัปดาห์แรก -2,543 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +3,493 ล้านบาท) หลังจากซื้อสุทธิสะสม 14 สัปดาห์ รวม +1129,631 ล้านบาท ส่วนตลาดอนุพันธ์ พบว่า นักลงทุนต่างชาติกลับมาเปิด Short SET50 Index Future จำนวน -28,485 สัญญา (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +5,847 สัญญา) ส่งผลให้การเปิด Short สะสม 5 สัปดาห์ สูงถึง -97,126 สัญญา

 

 

ประเด็นสำคัญ

- China: ดุลการค้าเดือน เม.ย. คาดเกินดุล +USD50.65bn. (Vs เดือน มี.ค. +USD47.38bn.) ส่งออกเติบโต +3.2% YoY นำเข้า -3% YoY (Vs เดือน มี.ค. ส่งออก +14.7% YoY นำเข้า -0.1% YoY)

- Indonesia: รายงาน 1Q22E GDP คาดเติบโต +5% YoY -0.89% QoQ (Vs 4Q21 +5.02% YoY +1.06% QoQ)

- Japan: รายงานภาคบริการเดือน เม.ย. คาดดีขึ้นเป็น 50.5 (Vs เดือน มี.ค. 49.4)

- USA: Wholesale Inventories เดือน มี.ค. คาด +2.3% MoM (Vs เดือน ก.พ. +2.6% MoM) Consumer Inflation Expectation เดือน เม.ย. คาด +6.8% YoY (Vs เดือน มี.ค. 6.6% YoY)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบเป็นวันที่สี่: ดัชนีฯ ร่วงไปต่ำสุดที่ 1,617.94 จุด ในช่วงเปิดตลาด และ รีบาวนด์มาแกว่งตัวในกรอบแคบ 1,625-1,634 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,629.58 จุด -13.72 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.26 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มบรรจุภัณฑ์ -3.4% ธุรกิจการเกษตรฯ -2.9% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -2.85% อาหารและเครื่องดื่ม -1.34% พาณิชย์ -1.12% หุ้นบวก >4% BIS THG SEAOIL BFIT QLT CM UMS TKT MSC CMO CFRESH JTS SMT หุ้นลบ >4% KCC CEYE SCGP STGT STA SABUY SMK TEAMG ASAP

+ น้ำมันดิบและทองคำปิดบวก: WTI +USD1.51 ปิดที่ USD109.77/บาร์เรล Brent +USD1.49 ปิดที่ USD112.39/บาร์เรล โดยตลาดยังคงกังวลต่อปัญหาอุปทาน ขาดแคลน หลังจากมีข่าวสภาอียูเสนอให้ยกเลิกนำเข้าน้ำมันดิบใน 6 เดือนข้างหน้า ส่วนทองคำปิดเพิ่มขึ้น USD7.10 ปิดที่ USD1,882.80/ออนซ์ จากการกลับมาอ่อนค่าของเงิน USD -0.09% แตะ 103.6 และแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

 

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงต่อ แต่ในกรอบจำกัด DJIA -0.3% S&P500 -0.57% Nasdaq -1.4% นำลงโดย 9 จาก 11 อุตสาหกรรม กลุ่ม Materials -1.36%, Consumer Discretionary -1.31% ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้น คือ Energy +2.91% และ Utilities +0.8% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุด (DJ ลดช่วงลบ หลังร่วงแรงกว่า 450 จุด) รับข่าวการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน เม.ย. ที่ดีกว่าคาด 428k (Vs คาด 400k) ด้วยอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงเพิ่มขึ้นในอัตราลดลง +0.3% MoM (Vs คาด +0.4% MoM) สะท้อนอัตราดอกเบี้ยที่สูงไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานอย่างที่กังวล ส่วนตลาดหุ้นยุโรปร่วงต่อเนื่อง DAX -1.64% CAC40 -1.72% FTSE -1.54% นำลงโดยกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มค้าปลีก เป็นผลจาก ผลกระทบจากธนาคารกลางโลก นำโดยเฟดเร่งคุมเข้มทางการเงิน เพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะเพิ่มโอกาสเศรษฐกิจเกิดภาวะ Stagflation สูงขึ้น และรายงานกำไรที่แย่กว่าคาดของ ING IAG รวมถึง Adidas ส่งสัญญาณรายได้ปีนี้จะอยู่ที่กรอบล่างของประมาณการ

 

ประเด็นสำคัญ

+/- USA: รายงานจ้างงานเดือน เม.ย. ที่ดีขึ้น อาจส่งผลให้เฟดเร่งคุมเข้มนโยบายการเงินมากขึ้น โดยการจ้างงานเดือน เม.ย. สูงกว่าคาดการณ์ของตลาด โดยเพิ่มขึ้น 428k (Vs คาดการณ์ของตลาดอยู่ที่ 391k-400k แต่เท่ากับเดือน มี.ค. และลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. ที่ 714k) ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง +0.3% MoM (Vs คาด +0.4% MoM และเดือน มี.ค. +0.5% MoM) +5.5% YoY (Vs เดือน มี.ค. 5.6% YoY และเท่ากับคาดการณ์) ส่วนอัตราว่างงานเดือน เม.ย. คงที่ที่ 3.6% (แย่กว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 3.5%)

- Australia: รายงานผลประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย ที่ผ่านมาส่งสัญญาณเงินเฟ้อปีนี้จะสูงกว่าคาดการณ์ ทำให้ผลประชุมล่าสุดปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps เป็น 0.35% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 0.25% และปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2010 พร้อมส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผล 2022-23E GDP เติบโต 4.25% และ 2% เงินเฟ้อ เติบโต 6% เงินเฟ้อพื้นฐาน 4.75% ก่อนที่จะลดลงเหลือ 3% ภายในกลางปี 2024

- China / COVID-19: รัฐบาลเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีนประกาศเมื่อวันที่ 7 พ.ค. ว่า การจัดสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลายและวิทยาลัยของเมืองจะถูกเลื่อนออกไปเป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบล่าสุด

- ไทย / ดอกเบี้ยเฟด: ธปท. เผยว่า ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ครั้งล่าสุดเป็นไปตามความคาดหมายของผู้ร่วมตลาด และมีความชัดเจนขึ้นว่าธนาคารกลางให้ความสำคัญกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยในจังหวะที่ไม่เร็วและแรงกว่าที่ตลาดจะรับได้ ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายในภูมิภาคเอเชียและไทยเป็นไปตามปกติ สำหรับตลาดไทยวานนี้มีเงินทุนไหลออกเล็กน้อย โดยออกจากตลาดหุ้น 181 ล้านบาท และตลาดพันธบัตร 2,001 ล้านบาท

+ ไทย / ท่องเที่ยว: ททท. ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2022E จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยประมาณ 5-15 ล้านคน สร้างรายได้ทั้งสิ้น 0.63-1.2 ล้านล้านบาท สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 160 ล้านคน/ครั้ง สร้างรายได้รวม 0.66 ล้านล้านบาท ส่งผลให้รายได้รวมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมอยู่ที่ประมาณ 1.3-1.8 ล้านล้านบาท ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรก เผยอัตราการเข้าพักในเดือน เม.ย. 2022 เฉลี่ยอยู่ที่ 34% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ 32.7% และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่ 18% ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการเข้าพักเดือน พ.ค. 2022 จะลดลง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30% ส่วนรายได้ของโรงแรมที่เปิดกิจการ ยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับเดือนก่อน ครึ่งหนึ่งรายได้ยังกลับมาไม่ถึง 30% สอดคล้องกับสภาพคล่องที่ยังต่ำกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงยังเข้าประเทศไม่มากนัก ในส่วนของปัจจัยหลักที่กระทบธุรกิจโรงแรมในปัจจุบัน พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะที่ปรับเพิ่มราคาห้องพักได้ยาก และประชาชนบางส่วนยังลดกิจกรรมท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นมีไม่มากนัก

+ ไทย / คนละครึ่งเฟส 5: หอการค้าฯ เสนอให้พิจารณาวงเงิน 1,000-1,500 บาท/คน (30 ล้านคน) ก็จะช่วยให้มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะใช้งบประมาณราว 30,000-45,000 ล้านบาท แต่จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและมีเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ 60,000-90,000 ล้านบาท เมื่อคำนวณแล้วจะทำให้จีดีพีมีตัวเลขดีขึ้นได้ถึง 0.63-0.65%

+ Japan / ท่องเที่ยว: ญี่ปุ่นเตรียมทดลองเปิดพรมแดนเดือน มิ.ย. เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเล็กที่ฉีดวัคซีนแล้ว 3 เข็ม และมีแพ็คเกจทัวร์ที่มีแผนการเดินทางชัดเจน โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวขาเข้าอย่างจำกัดจะอยู่ในขั้นทดลอง และหากไม่เกิดการแพร่ระบาดเกิดขึ้น โครงการดังกล่าวก็จะขยายต่อไป

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT SMT BE8

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: PSL PTTEP SMT

Derivatives: รอเปิด Short S50M22 เมื่อหลุด 957 จุด