ภัยเงียบ "หลอดเลือดสมอง" กับศาสตร์ฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น

ภัยเงียบ "หลอดเลือดสมอง" กับศาสตร์ฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น

ภัยเงียบ "หลอดเลือดสมอง" ตีบ แตก ตัน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในระยะยาว หาก รู้ เร็ว รอด ปลอดอัมพาต กับการฟื้นฟูตามศาสตร์ฉบับญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ไคโกโดะ Kaigo-do

จากข้อมูลอัตราการเสียชีวิตด้วย โรคหลอดเลือดสมอง ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญจาก ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยอาการเตือนสำคัญ ได้แก่ พูดลำบาก ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง มึนงง ทรงตัวไม่อยู่ ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด โรคหลอดเลือดสมอง "รู้ เร็ว รอด ปลอดอัมพาต"

รอ.นพ.สุรชา ลีลายุทธการ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ในฐานะ Co-Ordinator ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care ในเครือ พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง ที่ประสบภาวะ ตีบ แตก ตัน ถือเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในระยะยาว หรืออาจเป็นผลให้เกิดการเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ดังนั้น การเรียนรู้และสังเกตอาการที่อาจบ่งบอกถึงสัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือบุคคลทั่วไปที่จำเป็นต้องดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากหลัก BE FAST ที่เป็นหลักที่เข้าใจง่าย ได้แก่

  • B–BALANCE: สูญเสียการทรงตัว
  • E–EYE: มองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ หรือสูญเสียการมองเห็น
  • F–FACE: ใบหน้าอ่อนแรง มีอาการชา หรือปากเบี้ยว
  • A–ARM: แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก
  • S–SPEECH: พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ
  • T–TIME: เวลาเป็นสิ่งสำคัญ

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือโทรเรียกรถฉุกเฉิน 1669 ทันที เพื่อลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวโรคได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ประสบภาวะ โรคหลอดเลือดในสมอง มีความจำเป็นที่จะต้องทำการฟื้นฟูร่างกาย โดยเฉพาะในระยะฟื้นฟูในช่วงแรกถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการออกกำลังกายเพื้อสร้างความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อ การฝึกฝนการรับรู้ความเข้าใจ การดูแลภาวะโภชนาการและการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วย ตลอดจนการปรับใช้ความสามารถที่มีต่อกิจวัตรประจำวันพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยฟื้นฟูตนเองได้อย่างรวดเร็วถือด้วยออกแบบแผนการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ

ภัยเงียบ \"หลอดเลือดสมอง\" กับศาสตร์ฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น

ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care ตั้งอยู่ที่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลใน เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ (PRINC) และ Nihon Keiei Group (NK Group) ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขแบบครบวงจรจากประเทศญี่ปุ่น ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่ต้องการให้บริการด้านการฟื้นฟูอย่างเข้มข้นตามศาสตร์ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ไคโกโดะ Kaigo-do ด้วยมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์ของเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ (PRINC) ให้แก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย เช่น โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดในสมอง ภาวะความจำเสื่อม ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ เป็นต้น

กระบวนการดูแลโดย ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติพร้อมทั้งภูมิหลังของผู้ป่วย ก่อนจะทำการตรวจประเมินอย่างละเอียด สรุปปัญหาและออกแบบแผนการฟื้นฟูเป็นรายบุคคล ตั้งเป้าหมายการรักษาตามความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว พร้อมทั้งประเมินติดตามผลการฟื้นฟูตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระยะเวลาการฟื้นฟูอาจแตกต่างกันออกไปภายในระยะ 1-3 เดือน ด้วยความร่วมมือจากทีมแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการฟื้นฟูจากประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งความเอาใจใส่ ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด พึ่งพาตนเองได้มากที่สุด ตามความสามารถของผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับความต้องการ และความรุนแรงของโรคเป็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาความสำเร็จในการฟื้นฟูอยู่ที่ 95% ขึ้นไป

นอกเหนือจากการให้การดูแลผู้เข้ารับบริการแบบองค์รวม คือ ได้รับความใส่ใจ และกำลังใจ ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูแล้ว รอ.นพ.สุรชา ลีลายุทธการ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ในฐานะ Co-Ordinator ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ กล่าวว่า ทางศูนย์ยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาไปเป็น Academy Center ซึ่งเป็นศูนย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด และมีแผนที่จะขยายเครือข่ายของศูนย์ไปตามโรงพยาบาลในเครือตามจังหวัดต่างๆ เช่น โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์, โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก, โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ ฯลฯ เพื่อตอบสนองสังคมสูงวัยในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด

ยิ่งไปกว่านั้น ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care ยังมีการจัดสัมมนาให้ความรู้ผ่านทางช่องทางออนไลน์แก่บุคคลทั่วไป เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัวโรค และเทคนิคการฟื้นฟูต่างๆ โดยงานสัมมนาครั้งถัดไป มาในประเด็น "รู้เร็วรอด ปลอดอัมพาต" ซึ่งจะเป็นงานสัมมนาออนไลน์ที่ว่าด้วยเรื่องของ สาเหตุ การป้องกัน การรักษา วิธีการดูแลฟื้นฟู ตลอดจนเทคนิคในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยอัมพาต ให้สามารถทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกายด้วยตนเองอีกด้วย โดยกำหนดจัดงานมีขึ้นผ่านระบบออนไลน์ วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565 เวลา 10:00-11:00 น. สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่นี่ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) 

ภัยเงียบ \"หลอดเลือดสมอง\" กับศาสตร์ฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น ภัยเงียบ \"หลอดเลือดสมอง\" กับศาสตร์ฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น