Sideways Up เก็งกำไร PTTEP AAV BDMS (5 พ.ค. 65)

Sideways Up เก็งกำไร PTTEP AAV BDMS (5 พ.ค. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,660 / 1,669 จุด (EMA 10 วัน) แนวรับ 1,642 / 1,637 จุด (EMA 200 วัน) แนะนำ เก็งกำไร PTTEP AAV BDMS ทางเทคนิค ดัชนีฯ ปิดต่ำกว่า แนวรับสำคัญที่ 1,658 จุด เป็นสัญญาณลบทางเทคนิค

แต่อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบวกจาก ผลการประชุม FOMC ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ตามที่ตลาดคาด อีกทั้งยังมีการประกาศทำ QT แบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ระยะสั้นดัชนีฯ ยังมีโอกาสฟื้นตัวตาม Positive Sentiment ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไฮไลท์วันนี้ จับตารายงานเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ของไทย ผลประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และรายงานผลการดำเนินงาน 1Q22 ของบจ. ไทยและสหรัฐฯ

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ BAFS DOD MC TACC TFG UTP SAT TMT PORT SMT (แนะนำขาย AH XO UTP; ซื้อ TACC TMT) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC JMART TCAP JMT BH AOT EA SPRC KKP MINT KTB BLA

+กลุ่มเปิดประเทศ: AOT BA AAV BAFS MINT CENTEL BH BDMS CPALL CRC M SPA SHR

+กลุ่ม Earnings Play: BCH SPRC TOP BDMS SINGER LPN IVL DELTA AP DCC GLOBAL PR9 เติบโต เพราะฐานต่ำ GFPT MAJOR SMD HANA เติบโต เพราะขาดทุนลดลง BAFS AOT 

+กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น: BBL KBANK KKP BLA TIPH

+กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: KCE HANA SMT SAPPE TWPC NER SABINA 

+การลอยตัวน้ำมันดีเซล: +กลุ่มโรงกลั่นและสถานีบริการน้ำมัน ESSO BCP SPRC OR TOP

 

ปัจจัยบวก

+FOMC Meeting: ผลประชุม FOMC มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% (ตามคาดการณ์ของตลาด) ขณะที่การลดขนาดงบดุล พบว่า เป็นไปอย่างแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. จำนวนเริ่มต้นที่ 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน ใน 3 เดือนแรก ก่อนที่จะขยับเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน ขณะเดียวกันประธานเฟดปฏิเสธแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงถึง 0.75% ทำให้ตลาดคลายความกังวลต่อการเร่งคุมเข้มนโยบายทางการเงินของเฟด

 

 

 

 

ปัจจัยลบ

- Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในวันทำการแรกของสัปดาห์ที่ -1,834.45 ล้านบาท ขณะที่ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่า ทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีการขายสุทธิออกมาเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยง FX loss ของนักลงทุนต่างชาติ

 

ประเด็นสำคัญ

      - ไทย รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย. โดย Consensus คาด +4.81% YoY (Vs เดือน มี.ค. 5.73% YoY)

      - UK การประชุมธนาคารกลาง (BoE) โดย Consensus คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% เป็น 1%

      - USA ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ โดย Consensus คาดอยู่ที่ 1.82 แสนราย (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า 1.80 แสนราย)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบ: ดัชนีฯ เผชิญแรงเทขาย เพื่อลดความเสี่ยงก่อนทราบผลประชุม FOMC โดยเคลื่อนไหวในกรอบขาลง 1,668.54-1,649.50 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,652.29 จุด -15.15 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -1.55% เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -1.33% พาณิชย์ -0.94% พลังงานและสาธารณูปโภค -0.85% หุ้นบวก >4% TSR CMAN INSURE MATI ASAP M-PAT MCS UMS ALL RP หุ้นลบ >4% AQ SMK SNNP BYD SVOA WIN FORTH CFRESH TNPC SISB TPA KSL CM RSP PRAKIT SCN JUTHA

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก ส่วนหุ้นยุโรปปิดลบ: DJIA +2.81% S&P500 +2.99% NASDAQ +3.19% รับข่าวผลประชุม FOMC มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด และประธานเฟดส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงถึง 0.75% ในการประชุมครั้งหน้า รวมถึงมาตรการ QT แบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ CAC40 -1.24% DAX -0.49% FTSE -0.90% จากความกังวลต่อผลการประชุม FOMC และผลประกอบการบจ. ออกมต่ำกว่คาด
 

 

+/- น้ำมันดิบปิดบวก ส่วนราคาทองคำอ่อนตัวเล็กน้อย: WTI +USD5.40 ปิดที่ USD107.81/บาร์เรล Brent +5.17 ปิดที่ USD110.14/บาร์เรล รับข่าวประธาน EC เสนอให้ประเทศสมาชิก EU ระงับการการนำเข้าน้ำมันดิบภายใน 6 เดือนและผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่นจากรัสเซียภายในสิ้นปีนี้ แม้มีปัจจัยลบ EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ก่อนสูงกว่าคาด โดยเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล (Vs คาดลดลง 829,000 บาร์เรล) ส่วนราคาทองคำปิดลบเล็กน้อย -USD1.8 ปิดที่ USD1,868.8/ออนซ์ โดยนักลงทุนชะลอลงทุน เพื่อรอลุ้นผลประชุมเฟด

 

ประเด็นสำคัญ

+ USA: FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 0.75-1.00% นอกจากนี้ เฟดยังเปิดเผยแผนทยอยปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening: QT) จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. โดยจะลดขนาดงบดุลในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน โดยจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 1.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ครบอายุในแต่ละเดือน โดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม และหลังจากนั้น 3 เดือน เฟดจะเพิ่มการลดขนาดงบดุลเป็น 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตราสารหนี้ MBS วงเงิน 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

+ Russia: นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย จะประกาศสงครามต่อยูเครนอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พ.ค. ซึ่งเป็น "วันแห่งชัยชนะ" ของรัสเซีย นอกจากนี้ โฆษกทำเนียบเครมลินยังปฏิเสธข่าวที่ว่ารัฐบาลรัสเซียจะทำการระดมกำลังทหารสำรองในวันดังกล่าว เพื่อเข้าไปทำสงครามในยูเครน หลังจากที่เผชิญกำรต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพยูเครน

- India: ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (repo rate) 0.40% สู่ระดับ 4.40% ในการประชุมวานนี้ โดยระบุว่าเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องได้สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจของประเทศ

- China: ฟิทช์ คาดว่า GDP ปี 2022 ของจีนจะขยายตัวเพียง 4.3% ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.8% โดยระบุว่ามาตรกำรล็อกดาวน์เมืองสำคัญ ซึ่งรวมถึงเมืองเซี่ยงไฮ้ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินของจีน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนหดตัวลงอย่างมากในเดือน เม.ย. และมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากจีนยังคงเดินหน้าปิดโรงงานและควบคุมการเดินทาง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานย่ำแย่ลงไปอีก

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: BLA ICHI SMT

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: PTTEP AAV BDMS

Derivatives: ปิด Short S50M22 ออกมาก่อน