5 หุ้นน้ำมันปาล์มขาขึ้น ขาดแคลน-ราคาพุ่ง ปี 65

5 หุ้นน้ำมันปาล์มขาขึ้น  ขาดแคลน-ราคาพุ่ง ปี 65

ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคพาเหรดขึ้นราคากันไม่ได้หยุด  หลังต้นทุนด้านพลังงาน อย่าง “ดีเซล” ดีเดย์ขยับขึ้นมากกว่า 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565   รวมไปถึงต้นทุนสินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่นราคาโลกขึ้นมามากกว่า 50 % ในช่วงปี 2564-2565 อย่างน้ำมันปาล์ม

            น้ำมันปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าในชีวิตประจำวันทางตรงคือน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหารปรุงสุกและแปรรูป อย่างสินค้ายอดฮิตช่วงปลายเดือน “มาม่า” ที่ต้องใช้ในการผลิตเป็นหลัก  ส่วนทางอ้อมการนำน้ำมันปาล์มไปผสมในน้ำมันกลายไบโอดีเซล กลุ่ม B10 - B7 - B 5 เป็นต้น

            ภาวะราคาน้ำมันปาล์มปรับตัวสูงขึ้นมีสัญญาณในปี 2564 รายงานราคาปาล์มทะลายแตะระดั บ 8.90 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบแตะระดับ 49.25 บาทต่อกิโลกรัม ถือเป็นราคาสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา  จากราคาต้นปี 2564  อยู่เริ่มต้นที่ 6.91 บาทต่อกิโลกรัม

ปี 2565 สัญญาการซื้อขายน้ำมันปาล์มส่งมอบเดือนพ.ค. ในตลาดอนุพันธ์มาเลเซีย 6,622 ริงกิต/ตัน (1,583 ดอลลาร์ )  ปัจจุบันเป็นราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% นับจากต้นปีนี้  

        ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบเริ่มต้นที่ 39.13 บาทต่อกิโลกรัม ณ ต้นปี 2564  มีระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือยกมาประมาณ   209,000 ตัน ซึ่งถือเป็นระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบที่ต่ำ สุดในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา ในช่วงไตรมาสแรกผลผลิตยังคงออกมาน้อย

        สถานการณ์น้ำมันปาล์มรุนแรงเมื่ออินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม ตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 2565  เพื่อควบคุมราคาภายในประเทศ เกิดผลกระทบทันทีเพราะอินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลกถึง 61 %  

         ขณะที่ข้อมูลกรมการค้าภายในประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออก  ซึ่งมียอดส่งออกเพียง 4 % ปี 2564  ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อบริโภค  1.25 ล้านตัน  และผลิตไบโอดีเซล  1.14  ล้านตัน  มีผลผลิตเป็นอันดับ 3 ของโลก รองอินโดนีเซีย อันดับ 1 และมาเลเซียอันดับ 2 มีพื้นที่ปลูกจำนวนมาก

ทางบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซียไซรัส ประเมินผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก  เนื่องจากน้้ามันปาล์มถือเป็นน้ำมันพืชที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก และมีการใช้ในการผลิตสินค้าหลายอย่าง เช่น บิสกิต มาร์การีน ช็อกโกแลต และน้ำยาซักผ้า ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียเคยประกาศระงับส่งออกน้้ามันปาล์มในเดือนม.ค. ก่อนที่จะยกเลิกประกาศดังกล่าวในเดือนมี.ค.

         หลังอินโดนีเซียประกาศระงับการส่งออกท้าให้ราคาน้ำมันปาล์มปรับตัวขึ้น 9% ส่งผลบวกต่อผู้ผลิตน้้ามันปาล์มในไทยส่งผลให้ราคาขายและอัตราการทำกำไรปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตใช้ในประเทศและผู้ส่งออก

        หุ้นที่ได้ประโยชน์ประกอบไปด้วย บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ CPI  เป็นผู้ผลิตน้ำมันยี่ห้อ “ลีลา” เป็นผู้เพาะปลูกกว่า 20,000 ไร่ และสกัดน้ำมันปาล์ม  ในกลุ่มจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง

         บริษัทสามารถสกัดน้ำมันปาล์ม ประมาณ 756,000 ตันต่อปี  โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่มีความต้องการน้ำมันปาล์มดิบประมาณ 180,000 ตันต่อปี และโรงงานสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบที่ต้องการเมล็ดในปาล์มประมาณ 36,000 ตันต่อปี ผลผลิตส่วนใหญ่รับซื้อจากเกษตรกรและ 87 % และจากสวนปาล์มของบริษัท 13 %  

         หุ้นน้ำมันปาล์ม บริษัท  วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ VPO มีโรงงาน 2 แห่ง กำลังการผลิตรวม 180 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ และมีธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า  ซึ่งรายได้หลักบริษัทมาจากการขายน้ำมันปาล์มดิบและเมล็ดในปาล์ม 92 -95 %  

         ด้านผู้ประกอบการรายใหญ่อีกราย บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ  LST มีสินค้าน้ำมันยี่ห้อ  “หยก”   และมีบริษัทลูก บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ UPOIC  มีธุรกิจหลักกลุ่มปาล์มที่มีสัดส่วนรายได้ 80 % มีกำลังการผลิตของโรงกลั่น ที่ 700 ตันต่อวัน หรือ 255,500 ตันต่อปี

         นอกจากน้ำมันพืชแล้ว LST ยังเป็นผู้ผลิตกลุ่มเนยเทียมและไขมันพืชผสม –กลุ่มเครื่องดื่ม- กลุ่มผักและผลไม้บรรจุกระป๋อง –ซอสและเครื่องปรุงรส และกลุ่มแป้งและส่วนผสมเบเกอรี่

            สุดท้าย บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ  UVAN  โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ 5 แห่ง และโรงงานสกัดน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ 2 แห่ง ตั้งอยู่ที่จังหวัดกระบี่ พังงา และพัทลุง พื้นที่เพราะปลูกจำนวน 37,008 ไร่

             โดย 5 โรงงาน มีกำลังการผลิตรวมกันเ 240 ตันปาล์มต่อชั่วโมง และบริษัทมีโรงงานบีบน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ 2 โรง กำลังการผลิตรวมกันเท่ากับ 340 ตัน