เปิดแผน“ซีพีเอฟ”ลดโลกร้อน ชูเทคโนฯ หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

เปิดแผน“ซีพีเอฟ”ลดโลกร้อน  ชูเทคโนฯ หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ซีพีเอฟ ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการผลิตรักษ์โลก ลดโลกร้อน ผลิตอาหารอย่างยั่งยืน เม.ย. “Earth Day” ซีพีเอฟ ร่วมขับเคลื่อนกระบวนการผลิตรักษ์โลก ลดโลกร้อน ผลิตอาหารอย่างยั่งยืน

วันที่ 22 เม.ย.ของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ซึ่งประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Program : UNEP) โดยปี ค.ศ.2022 ดำเนินการในแนวคิด Invest in our planet ลงทุนให้โลกของเราไปด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภาคธุรกิจทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่ข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต และร่วมปกป้องทะเลโลก โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดจากปัจจุบันอยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ยกเลิกการใช้ถ่านหินสำหรับกิจการในไทยภายในปี 2565

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งเน้นสร้างสมดุลระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action โดยมีเป้าหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิตลง 25% ในปี 2568 เทียบปีฐาน 2558

เปิดแผน“ซีพีเอฟ”ลดโลกร้อน  ชูเทคโนฯ หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ปัจจุบัน ซีพีเอฟ มีสัดส่วนใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ อยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากต้นไม้ 60 ล้านต้น (300,000 ไร่) และปี 2565 มีแผนเลิกใช้ถ่านหินสำหรับกิจการในไทย โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลแทนทำให้ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

“การใช้พลังงานและการจัดการของเสียเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีพีเอฟจึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย และการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนเพี่อลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)”

โรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ 37 แห่ง ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตทั้งหมด 20 เมกะวัตต์ ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 13,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่มากกว่า 100 แห่ง ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพแทนไฟฟ้าจากสายส่งได้ 69 ล้านหน่วย ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 492,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และปี 2565 จะลดใช้ถ่านหินเป็นศูนย์ ซึ่งกำลังดำเนินการใน 3 โรงงาน จะทดแทนด้วยพลังงานชีวมวล ทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกได้จากเดิมอีกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เปิดแผน“ซีพีเอฟ”ลดโลกร้อน  ชูเทคโนฯ หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดการก๊าซเรือนกระจกและส่งผลดีต่อธุรกิจ คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในกระบวนการผลิตและขนส่ง เพื่อใช้วัตถุดิบ น้ำ พลังงาน มีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งทำให้ผลิตอาหารพอความต้องการผู้บริโภคในราคาเข้าถึงได้ สร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างระบบผลิตอาหารที่ยั่งยืน และประกาศนโยบายลดปริมาณขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟเป็นศูนย์ในปี 2573

รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ที่ได้รับรอง “ฉลากลดโลกร้อน” จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.ประกอบด้วย อาหารไก่เนื้อ ไก่มีชีวิต เป็ดมีชีวิต สุกรขุน เนื้อไก่สด เนื้อเป็ดสดและเนื้อหมูสด ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.48 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยปี 2564 มีสัดส่วนรายได้จาก “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” 33 % และปี 2573 จะมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียว 40% สำหรับกิจการในไทย

ซีพีเอฟ ประกาศความมุ่งมั่นว่าด้วย “ความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า” ร่วมกับคู่ค้า และกำหนดเป้าหมายซื้อวัตถุดิบเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ปลาป่น น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง โดย 100% ของการจัดหาทั่วโลกของซีพีเอฟต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ และมาจากพื้นที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2573 เปิดแผน“ซีพีเอฟ”ลดโลกร้อน  ชูเทคโนฯ หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ด้านการมีส่วนร่วมรักษาสมดุลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียว 20,000 ไร่ ผ่านโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ คือ โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี และโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ซึ่งช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม 200,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

ส่วนธุรกิจสัตว์น้ำได้ปกป้องทะเลโลกผ่านการดำเนินโครงการขยะทะเล (Ocean Trash Project) ต่อยอดโครงการ “ขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา” นำโดยกรมประมงและสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ที่ส่งเสริมชาวประมงลดทิ้งขยะลงทะเล โดยปี 2564 ร่วมกับโรงงานปลาป่นเจดีพี จ.ตรัง และชาวประมง ต่อยอดด้วยการนำขยะขวด PET ที่เก็บจากทะเลไปแปรรูปเป็นเส้นใยพลาสติก ผลิตเสื้อโปโลรีไซเคิลแจกพนักงานซีพีเอฟ และปี 2565 จะผลิตเพิ่มอีก 

ภายใต้ยุทธศาสตร์ป่าชายเลนมีโครงการกับดักขยะทะเล (Trap The Sea Trash Project) นำร่องที่ ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร เพื่อลดขยะลงสู่ทะเล สร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคม สร้างมูลค่าเพิ่มของขยะทะเลและปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศ