Soft Power กับภาพยนตร์ไทย ล่าสุด วธ. กำลังทำอะไรบ้าง

Soft Power กับภาพยนตร์ไทย ล่าสุด วธ. กำลังทำอะไรบ้าง

ความคืบหน้า กรณีใช้การซอฟท์ พาวเวอร์ (Soft Power) กับภาพยนตร์ไทย ซึ่งล่าสุดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG และผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทยผ่านภาพยนตร์

การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่มุ่งใช้มิติวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย อีกทั้งปีนี้ วธ. มีวิสัยทัศน์ใหม่ คือ “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” และปรับเปลี่ยนบทบาทสู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ “วัฒนธรรมทำดี ทำงาน ทำเงิน” 

ดังนั้น ประเทศไทยภายใต้ คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ โดย วธ. บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติและภาคเอกชน ในนามทีมประเทศไทย ภายใต้ชื่อ "Content Thailand"  

เข้าร่วมงานตลาดภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาติฮ่องกง ประจำปี 2565 (Hong Kong International Film & TV Market (FILMART) 2022) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2565 ซึ่งปีนี้จัดงานในรูปแบบออนไลน์เช่นเดียวกับปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีกิจกรรมตลาดซื้อขายภาพยนตร์และโทรทัศน์ในพื้นที่คูหาประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์รูปแบบออนไลน์

งานตลาดภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาติฮ่องกง ประจำปี 2565 มีบริษัทผู้ผลิตจัดจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เกมและแอนิเมชัน รายการโทรทัศน์ ละครและโฆษณา ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เข้าร่วม 22 แห่ง ดังนี้

 บริษัทจีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด
 บริษัทฮอลลีวู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัทไร้ท์ บิยอนด์ จำกัด
บริษัทณ๊อบ โปรดักชั่นส์ จำกัด
บริษัทอาร์ท้อป มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทที แอนด์ บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ อะมอร์นิ่งพิคเจอร์ส
บริษัทเอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทโปรดักชั่น เซอร์วิส เอเชีย จำกัด
บริษัทเดอะ มั้ง สตูดิโอ จำกัด, บริษัทอิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัทกันตนา โพสท์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์)
บริษัทเรติน่า ฟิล์ม โปรดักชั่น จำกัด
บริษัทกันตนาซาวด์ สตูดิโอ จำกัด
บริษัทควอนตั้มพิกเจอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทเอ็มโฟลร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
บริษัทแฟลทไฟว์ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด(เวิร์คพอยท์ กรุ๊ป)
บริษัทวัน สามสิบเอ็ด จำกัด 
และบริษัทครีเอท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด  


       ได้นำภาพยนตร์ ละคร ซีรี่ย์และรายการโทรทัศน์มาจำหน่ายในงานเป็นจำนวนมาก อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง บุพเพสันนิวาส 2, FAST & FEEL LOVE, Love Stage, HAUNTED UNIVERSITIES 2 ,ปาฏิหาริย์ แก้วนาคราช (THE MIRACLE OF NAGA GEM),  แดงพระโขนง (Daeng), ใจฟู สตอรี่ (Happy Ending), ละคร เช่น  Coffee Melody เพลงที่รัก , คือเธอ, สร้อยสะบันงา, เกมปรารถนา, รักวุ่นวายเจ้าชายกบ (Frog prince), จันทร์กลางใจ (My Lucky star) ซีรี่ย์ ค่ายเฮี้ยนเรียนรัก 8 ตอน รายการร้องข้ามกำแพงและรายการหกฉากครับอาจารย์  เป็นต้น (ที่มา - ทำเนียบรัฐบาล)

มุมมองผู้เขียนเห็นว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ยังแอ็กชันงานตามแผนเดิม ดูเหมือนไม่มีเชิงรุกอะไรเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ การใช้ซอฟท์ พาวเวอร์ (Soft Power) ในการสนับสนุนคนในวงการภาพยนตร์ ทั้งในแง่แหล่งทุนและโอกาสในการสร้างงาน ท่ามกลางผลกระทบจากโควิด-19 และปัจจัยค่าครองชีพจากวิกฤติน้ำมันแพง

ดังนั้น การใช้ซอฟท์ พาวเวอร์อาจไม่ใช่เรื่องส่งเสริมแต่บริษัทค่ายภาพยนตร์ไปขายงานร่วมงานตลาดภาพยนตร์อย่างเดียว หากแต่จะทำอะไรให้คนทำงานเป็นความเข้มแข็ง มีโอกาส มีแหล่งทุน ในการผลิตภาพยนตร์ออกสู่ตลาดภาพยนตร์อย่างหลากหลายด้วย.