บริหารความเสี่ยงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด

บริหารความเสี่ยงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด

เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นอีกปีที่การลงทุนโดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี นักลงทุนเริ่มเตรียมตัวและวางแผนการลงทุนในปีหน้าซึ่งจะเริ่มเห็นมุมมองการลงทุนออกมา

แต่จากสถานการณ์ความกังวลต่อการระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า Omicron นั้นดูเหมือนจะทำให้ช่วงสิ้นปีที่ไม่คาดว่าจะมีเหตุการณ์อะไรมากนักกลับเป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดอีกครั้งว่าสายพันธุ์ใหม่นี้จะสร้างผลกระทบมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ตามเมื่อมีข่าวที่น่ากังวลออกมาเราเห็นแรงขายออกมาในตลาดหุ้น จุดนี้เองเหมือนเป็นเครื่องเตือนสตินักลงทุนว่าความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนนั้นอยู่คู่ตลาดเสมอ และเมื่อมองไปปีหน้าที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วง Mid-Cycle

 

ขณะที่นโยบายการเงินเริ่มกลับมาปกติมากขึ้น ทำให้คาดว่าความผันผวนของตลาดหุ้นจะสูงขึ้นกว่าปีนี้ที่ตลาดหุ้นมีการปรับฐานไม่ลึกและมีความผันผวนโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่าปกติ นักลงทุนควรเริ่มมองหาการลงทุนที่จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในปีหน้า

แต่จากสถานการณ์ความกังวลต่อการระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า Omicron นั้นดูเหมือนจะทำให้ช่วงสิ้นปีที่ไม่คาดว่าจะมีเหตุการณ์อะไรมากนักกลับเป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดอีกครั้งว่าสายพันธุ์ใหม่นี้จะสร้างผลกระทบมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ตามเมื่อมีข่าวที่น่ากังวลออกมาเราเห็นแรงขายออกมาในตลาดหุ้น จุดนี้เองเหมือนเป็นเครื่องเตือนสตินักลงทุนว่าความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนนั้นอยู่คู่ตลาดเสมอ และเมื่อมองไปปีหน้าที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วง Mid-Cycle ขณะที่นโยบายการเงินเริ่มกลับมาปกติมากขึ้น ทำให้คาดว่าความผันผวนของตลาดหุ้นจะสูงขึ้นกว่าปีนี้ที่ตลาดหุ้นมีการปรับฐานไม่ลึกและมีความผันผวนโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่าปกติ นักลงทุนควรเริ่มมองหาการลงทุนที่จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตในปีหน้า

 อย่างไรก็ตามแม้ว่าความผันผวนจะมากขึ้นแต่เรายังคงมีมุมมองการลงทุนในเชิงบวกต่อตลาดและเศรษฐกิจในปีหน้า การลงทุนในพอร์ตลงทุนหลักยังคงเป็นส่วนสำคัญ แต่นักลงทุนสามารถที่จะหากลยุทธ์เพิ่มเพื่อรับมือความผันผวนซึ่งการลดความผันผวนของพอร์ตนั้นทำได้หลากหลายวิธี 

หนึ่งในการลงทุนที่ค่อนข้างจะใหม่สำหรับนักลงทุนในไทยแต่เป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศคือการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด เช่น Private Credit และ Private Equity ซึ่งมักมีความผันผวนต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึง Private Equity ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร ทำไมถึงเป็นที่นิยมของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง

Private Equity คือการลงทุนในหุ้นของบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยปัจจุบันมีบริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ จำนวนมากใช้รูปแบบ Private Equity นี้ในการระดมทุนเพื่อดำเนินธุรกิจ ทำให้ขนาดของตลาดของ Private Market คาดว่าจะโตถึง 13.7 ถึง 15 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2025 (ที่มา Private markets forecast to grow to $4.9tn globally by 2025 and make up 10% of global AuM - PwC, 13 January 2021) แหล่งเงินทุนที่สำคัญมาจากการระดมทุนผ่านกองทุนในรูปแบบ Private Equity

โดยนักลงทุนที่มีส่วนสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ กลุ่มที่เรียกว่า Smart Money Investor เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign wealth fund) และเงินกองทุน Endowment ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่น Harvard, Yale และ M.I.T.

 จากรายงานผลตอบแทนจากการลงทุนรอบปีบัญชี 2021 โดยเงินกองทุนดังกล่าวพบว่าการลงทุนใน Private Equity ให้ผลตอบแทนสูง 2021 เช่น พอร์ตการลงทุนของ Harvard มีการลงทุนใน Private Equity ถึง 1 ใน 3 ของสินทรัพย์ทั้งหมด และได้ผลตอบแทนถึง 77% ในปีที่ผ่านมา (ที่มา Harvard University Financial report Fiscal Year 2021, October 2021)

 ปัจจุบันประเภทของธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจและมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในตลาด Private Equity ได้แก่ กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ของโลก เช่น Exchange and Payment, AI and Deep learning, Communication and Transportation, Space Technology, Health Care Innovation, Clean Energy เป็นต้น 

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ Private Equity สามารถที่จะถือหุ้นในบริษัทนอกตลาดในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญจึงทำให้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของบริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทในระยาวได้ซึ่งจะแตกต่างจากการซื้อหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาด

        สำหรับประเทศไทยมีบริษัทเอกชนเริ่มหันมาระดมทุนผ่าน Private Equity มากขึ้นดังจะเห็นได้จากการเติบโตของบริษัท Start up ที่สามารถสร้างมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือที่เรียกว่ายูนิคอร์น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้การจะเข้าถึงการลงทุนลักษณะนี้สำหรับนักลงทุนไทยอาจยังมีข้อจำกัดเมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศที่การลงทุนในลักษณะนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ทำให้โอกาสในการเข้าถึงและทางเลือกในการลงทุนใน Private Equity ในต่างประเทศมีมากกว่า อีกทั้งสามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการบริหารกองทุนในอดีตได้

อย่างไรก็ตามการลงทุนใน Private Equity สิ่งสำคัญ คือ จะมีสภาพคล่องต่ำและมีระยะเวลาการลงทุนที่นานกว่าผลิตภัณฑ์อื่น โดยส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนเฉลี่ยที่ 7-10 ปี รวมถึงมีรูปแบบการลงทุนและลักษณะผลตอบแทนที่หลากหลาย ดังนั้นผู้ที่สนใจจะลงทุน ควรติดต่อผู้แนะนำการลงทุนของท่านเพื่อสอบถาม ขอคำแนะนำ รับข้อมูลเพิ่มเติม และศึกษาทำความเข้าใจในเงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์เพื่อเฟ้นหาการลงทุนที่เหมาะสมกับท่าน