ถึงเวลาประเทศไทยมี พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ถึงเวลาประเทศไทยมี พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

สัปดาห์ก่อนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นเจ้าภาพร่วมกับโครงการ

พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)จัดสัมมนาเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุง ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้ปลอดจากการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อจัดจ้างจากต่างประเทศ มาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างในประเทศไทย รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักวิชาการหลายท่าน

เป็นที่ทราบกันดีว่าการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันเป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนาและปฏิรูปประเทศ และหากไม่สามารถสกัดยับยั้งการทุจริต ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ก็ถือว่าความพยายามในเรื่องนี้ล้มเหลว เพราะ ธุรกรรม ที่ภาครัฐทำกับเอกชนทั้งการสั่งซื้อสินค้า และการประมูลโครงการขนาดใหญ่ในแต่ละปีงบประมาณ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10 - 20 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ในขณะที่ตัวเลขของ UNDP ระบุว่าสำหรับประเทศกำลังพัฒนาแบบประเทศไทย บางปีงบประมาณในด้านนี้สูงถึง 30% หรือคิดเป็นเม็ดเงินนับแสนล้านบาท

มร.ลุค สตีเว่นส์ ผู้ประสานงานและผู้แทนของ UNDP ประจำประเทศไทย ระบุว่าระดับการคอร์รัปชันในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คือกระจกสะท้อนระดับการคอร์รัปชันในสังคมนั้นๆ พร้อมทั้งระบุว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของประเทศไทยยังมีช่องโหว่ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน การฮั้วประมูล การใช้ทรัพยากรของรัฐไปเพื่อผลประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง

ขณะเดียวกันในรายงานประเมินความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของไทยที่ ก...จัดทำร่วมกับ UNDP ยังระบุถึงช่องโหว่ในกรอบระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของไทย ที่มีลักษณะแยกส่วนและไม่เป็นไปตามกรอบระเบียบกฎหมายตามมาตรฐานสากล ที่สำคัญประเทศไทยยังขาด พ...ในการกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ยอมรับว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย จะต้องมีการยกระดับกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง จากปัจจุบันที่เป็นเพียงระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ พ..2535 ที่บังคับใช้มามากกว่า20 ปีขึ้นมาเป็นกฎหมายในระดับ พ...เพื่อให้มีผลผูกพันหน่วยงานทุกระดับของรัฐ โดยหลักการของกฎหมายคือกำหนดให้ทุกหน่วยงาน เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งราคากลาง ที่มาของราคากลางที่ใช้อ้างอิง วิธีการประมูล ผู้ที่เข้าร่วมและชนะการประมูล หรือเรียกว่าหลักการ เปิดไฟให้สว่าง คือเรื่องอะไรที่เคยปิดเป็นความลับจนนำไปสู่การฮั้วประมูล ก็ควรเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบ เพื่อให้สังคมสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนั้นยังมองว่าบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาทำธุรกรรมกับรัฐต้องมีนโยบายในการต่อต้านทุจริตที่ชัดเจน

ขณะที่ในมุมมองของ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จากทีดีอาร์ไอ เห็นด้วยในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องการประมูลและจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้สังคมตรวจสอบได้ แต่มองว่าการยกระดับกฎหมายอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหานี้ แต่ความโปร่งใสจะเกิดขึ้นได้ยังต้องอาศัยการตรวจสอบของทุกภาคส่วนของสังคม

ปัจจุบันร่าง พ...จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอยู่ระหว่างการจัดทำของกรมบัญชีกลางโดยจะนำเสนอ ครม.ได้ใน 1 -2 เดือนนี้ อย่างไรก็ตามแม้จะมีกฎหมายฉบับใหม่เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแต่หาก นักเลือกตั้ง ยังเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ขณะที่ข้าราชการผู้ปฏิบัติยังยินยอมให้การเมืองแทรกแซงความพยายามทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใส คุ้มค่ากับเงินภาษีที่ประเทศชาติเสียไปก็ยังยากที่จะประสบความสำเร็จ